8 กุมภาพันธ์ 2562 : นายวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจสัมพันธ์และองค์กร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS กล่าวในโอกาสร่วมลงพื้นเตรียมความพร้อมของสนามทดสอบ 5G Testbed ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลฯและพันธมิตรในแวดวงโทรคมนาคม ว่าAIS รู้สึกเป็นเกียรติและภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ที่ได้มีส่วนสนับสนุนภาครัฐ และภาคการศึกษา เปิดพื้นที่เพื่อจัดแสดงตัวอย่างเทคโนโลยีที่กำลังะมาในอนาคต อาทิ IoT หรือ 5G ห้แก่ นิสิต นักศึกษา นักพัฒนา พาร์ทเนอร์ รวมถึง ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในแวดวงของเทคโนโลยี Digital ของไทย ได้มีโอกาสลงมือทดลอง ทดสอบ เพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆในการสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ Digital ของประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC

โดยในการลงพื้นที่เตรียมการห้องปฏิบัติการทดสอบครั้งนี้ เราได้ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์อย่าง Nokia นำ 5G Use case และ IoT Device จาก AIS IoT Alliance Program เพื่อให้ภาคการศึกษา ภาคธุรกิจและทุกอุตสาหกรรมที่จะมาใช้บริการในศูนย์นี้เห็นภาพประโยชน์จาก 5G สร้างแรงบันดาลใจในการผลิตนวัตกรรมใหม่ๆ ให้สอดรับกับเทคโนโลยีอนาคตที่จะมาถึงอันใกล้ ทั้งนี้ use case ต่างๆ ประกอบด้วย

1.เทคโนโลยีแสดงความหน่วงที่ต่ำกว่าและให้การตอบสนองที่เร็วกว่าของเครือข่าย 5Gผ่านเกมและ application ต่าง

5G Ultra Low Latency Cooperative Cloud Robots : สาธิตความหน่วงเครือข่าย 5G ด้วยการแสดงเวลาที่หุ่นยนต์สองตัวใช้ในการหาจุดสมดุลที่ทำให้ลูกบอลอยู่กึ่งกลาง โดยหุ่นยนต์จะใช้เวลาน้อยกว่ามากบนเครือข่าย 5G เมื่อเปรียบเทียบกับเครือข่าย 4G
5G Collaborative Car Factory : สาธิต ผู้ทดสอบจะได้ลองประกอบเครื่องยนต์ของรถยนต์ ผ่าน VR ซึ่งจะแสดงให้เห็นความเร็วในการตอบสนองที่แตกต่างของความหน่วงระดับต่างๆ
5G AR Digital Rubik’s Cube และ 5G VR Football Game : สาธิตการตอบสนองที่เร็วกว่าของเครือข่าย 5G ผ่านเกมฟุตบอลและการเล่น Rubiks cube แบบ realtime

2.เทคโนโลยี Security Orchestration and Automation ที่จะแสดงให้เห็นถึงการรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายข้อมูลขององค์กร ที่มีการประสานงานอย่างสอดคล้องและตอบสนองโดยอัตโนมัติ  โดยการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) และการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) ในการตรวจสอบและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์รูปแบบใหม่ที่จะเกิดขึ้นในโลกของเครือข่าย 5G

3.เทคโนโลยีของ Nokia AVA สำหรับการออกแบบระบบดิจิทัล 5G (5G Digital Design) โดยการใช้ปัญญาประดิษฐ์ และการเรียนรู้ของเครื่อง เข้ามาช่วยในการระบุตำแหน่งของผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือในรูปแบบสามมิติ (3D Geolocation) ซึ่งนำไปสู่การออกแบบระบบดิจิทัล 5G ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 5G ได้อย่างครบถ้วน รวดเร็ว และได้ประสิทธิภาพของการบริการบนระบบโครงข่าย 5G อย่างสูงสุด

4.เทคโนโลยี IoT โดยโครงการ AIAPAIS IoT Alliance Program นำชุดอุปกรณ์ IoT Devices สำหรับนักพัฒนามาจัดแสดง อาทิ NB IoT Shield และ NBXBEE เพื่อให้นิสิต นักศึกษา หรือผู้ประกอบการได้ศึกษา นำไปพัฒนาเป็น IoT Solution พร้อมแสดงตัวอย่างการนำ IoT Solution ไปประยุกตร์ใช้งานจริง ได้แก่ Smart Water Level Monitoring ที่ตอบโจทย์การบริหารจัดการระดับน้ำในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ

 

“เพราะ 5G คือเทคโนโลยีที่จะช่วยยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จะร่วมขับเคลื่อนประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากคุณสมบัติ 3 ส่วน คือ ความเร็วที่เพิ่มขึ้น, ขีดความสามารถการเชื่อมต่อ IoT และ เครือข่ายที่ตอบสนองได้รวดเร็วและเสถียร อีกทั้งยังมีความสำคัญอย่างมากสำหรับการพัฒนานวัตกรรมเพื่อให้แน่ใจว่า ecosystem มีความพร้อมในเวลาที่เหมาะสม  เพื่อผลักดันธุรกิจและ use case ใหม่ๆ ในระหว่างนี้ AIS และพาร์ทเนอร์ ก็จะขอร่วมสนับสนุนภาครัฐในการเตรียมความพร้อมรับเทคโนโลยีใหม่ๆของประเทศอย่างดีที่สุดแน่นอน” นายวีรวัฒน์ ย้ำ

Comments

comments