

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย รศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล (กลาง) คณบดี ร่วมกับ กลุ่มทรู นำโดย นายภัคพงศ์ พัฒนมาศ (ขวา) รองผู้อำนวยการ ธุรกิจโมบายล์ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น เดินหน้าโครงการ “PM2.5 Sensor for All” โดย ทรูแล็บ (TrueLab) มอบทุนสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม 200,000 บาท พร้อมด้วยอุปกรณ์ NB-IoT ชิพเซ็ต เพื่อใช้ในการสร้างต้นแบบนวัตกรรมเครื่องมือวัดคุณภาพอากาศ PM2.5 และเชื่อมโยงข้อมูลการตรวจวัดคุณภาพอากาศผ่านโครงข่าย NB-IoT ของทรู ซึ่งนวัตกรรมเครื่องมือวัดคุณภาพอากาศ PM2.5 จากการพัฒนาในครั้งนี้ จะนำไปติดตั้งและเก็บข้อมูลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่ของจุฬาฯ ผ่านเครือข่าย NB-IoT และจะจัดทำช่องทางการรายงานผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลการตรวจวัดคุณภาพอากาศ และจัดเก็บค่าการตรวจวัดคุณภาพอากาศเพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับงานวิจัยต่อไป


อ่าน: 3,667
Comments
comments