ผลการดำเนินงานโดยรวมประจำปี 2561

ภาพรวม

ผลการดำเนินงานของกลุ่มทรูในปี 2561 ปรับตัวดีขึ้นอย่างสูงโดยมีกำไรสุทธิเท่ากับ 7.0 พันล้านบาท หนุนโดยการเติบโตของรายได้และ EBITDA การบริหารค่าใช้จ่ายและเพิ่มผลิตภาพ รวมถึงกำไรจากการขายสินทรัพย์ให้แก่กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ดิจิทัล (“DIF”) ทั้งนี้ ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ได้อนุมัติการจ่ายเงินปันผลสำหรับผลประกอบการประจำปี 2561 จำนวนทั้งสิ้นประมาณ 3 พันล้านบาท หรือ 0.09 บาทต่อหุ้น โดยจะนำเสนอที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นในเดือนเมษายนนี้

รายได้จากการให้บริการโดยรวมของกลุ่มทรู ในปี 2561 มีจำนวนสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 1.018 แสนล้านบาท เติบโตร้อยละ 4.9 จากปีก่อนหน้า หรือร้อยละ 7.7 จากปีก่อนหน้าหากไม่รวมรายได้จากสัมปทานโทรศัพท์พื้นฐานที่สิ้นสุดลงในช่วงปลายปี 2560 อันเป็นผลจากการเติบโตของทั้งธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่และบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต ประกอบกับการมุ่งเน้นบริหารค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพและการขายสินทรัพย์ให้แก่ DIF ทำให้ EBITDA เติบโตร้อยละ 40.3 จากปีก่อนหน้า เป็น 5.60 หมื่นล้านบาทในปี 2561 ทั้งนี้ หากไม่รวมธุรกรรมการขายสินทรัพย์ให้แก่ DIF และการสิ้นสุดสัมปทานโทรศัพท์พื้นฐาน EBITDA เติบโตประมาณร้อยละ 10 จากปีก่อนหน้า เป็น 3.61 หมื่นล้านบาท

ผลประกอบการประจำไตรมาส 4 ปี 2561

รายได้รวม 33,949 ล้านบาท ลดลง 1.7 % เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลง 16.7 % เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปี 2560 กลับมาขาดทุน 3,000 ล้านบาท

  • รายได้จากการขาย เพิ่มขึ้นเป็น 4.36 หมื่นล้านบาท จากการขายสินทรัพย์เข้ากองทุน DIF หากไม่รวมธุรกรรมกับ DIF ดังกล่าว รายได้จากการขายอ่อนตัวร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า จากผลกระทบด้านการแข่งขันและจำนวนเครื่องที่ขายได้ลดลงจากปีก่อน
  •  EBITDA เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.3 เมื่อเทียบปีก่อนหน้าเป็น 56.0 พันล้านบาท จากการเติบโตของรายได้ มาตรการบริหารค่าใช้จ่ายและการขายสินทรัพย์ให้แก่กองทุน DIF ทั้งนี้ หากไม่รวมผลกระทบจากการทำธุรกรรมกับ DIF และผลจากการสิ้นสุดสัมปทาน โทรศัพท์พื้นฐาน EBITDA เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 จากปีก่อนหน้าเป็น 3.61 หมื่นล้านบาท

TRUE-H

ทรูมูฟ เอช ยังคงนำตลาดในด้านการเติบโตของทั้งรายได้และฐานลูกค้า โดยในปี 2561 ทรูมูฟ เอช มีผู้ใช้บริการรายใหม่สุทธิ 2 ล้านราย เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วเพิ่มขึ้นประมาณ 4 แสนราย ทำให้ฐานลูกค้ารวมเพิ่มเป็น 29.2 ล้านราย

แบ่งเป็นระบบรายเดือน 7.6 ล้านรายและระบบเติมเงิน 21.6 ล้านราย ฐานลูกค้าที่เพิ่มสูงนี้ร่วมกับการใช้งานโมบาย อินเทอร์เน็ตที่มากขึ้น ส่งผลให้รายได้จากบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของทรูมูฟ เอช เติบโตร้อยละ 7.3 จากปีก่อนหน้า เป็น 7.28 หมื่นล้านบาทในปี 2561

ผลักดันรายได้จากการให้บริการของอุตสาหกรรมโดยรวมให้เติบโตร้อยละ 2 จากปีก่อนหน้า (หดตัวลงร้อยละ 0.1 หากไม่รวมทรูมูฟ เอช)

TRUEONLINE

รายได้จากการให้บริการ เท่ากับ 3.66 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 เติบโต ร้อยละ 6 จากปีก่อนหน้า

  • รายได้จากการให้บริการบรอดแบนด์ บริการอินเทอร์เน็ต และสื่อสารข้อมูลธุรกิจ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.2 จากปีก่อนหน้าเป็น 2.57 หมื่นล้านบาท ตามฐานผู้ใช้บริการที่เติบโต อันเป็นผลจากผลตอบรับที่ดีต่อแพ็กเกจไฟเบอร์บรอดแบนด์และคอนเวอร์เจนซ์ทรูออนไลน์มีจำนวนผู้ใช้บริการบรอดแบนด์ รายใหม่สุทธิ 3.32 แสนรายในระหว่างปี 2561 หรือเติบโตร้อยละ 10.5 จากปีก่อนหน้า ขยายฐานลูกค้าบรอดแบนด์เพิ่มขึ้นเป็น 3.5 ล้านราย

TRUEVISION

รายได้จากการให้บริการของทรูวิชั่นส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 จากปีก่อนหน้าเป็น 13.3 พันล้านบาท ส่วนใหญ่จากรายได้ธุรกิจบันเทิงจากการจัดงานสำคัญและการถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 ซึ่งผลักดันให้รายได้จาก ธุรกิจบันเทิงและอื่นๆ เพิ่มขึ้นเป็น 5.2 พันล้านบาทในปี 2561

  • รายได้จากค่าสมาชิกและค่าติดตั้งอ่อนตัวลงร้อยละ 1.7 จากปีก่อนหน้าเป็น 8.0 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 60.5 ของรายได้จากการให้บริการของทรูวิชั่นส์ผลตอบรับที่ดีต่อแพ็กเกจคอนเวอเจนซ์ของกลุ่มทรูทำให้อัตราการลดลงจากปีก่อนหน้าของรายได้จากค่าสมาชิกและค่าติดตั้งดีขึ้นในไตรมาส 4
    กลุ่มทรูจะสร้างการเติบโตให้แก่ธุรกิจโทรทัศน์ในปี 2562 ผ่าน OTT และดิจิทัลแพลตฟอร์มโดยมุ่งสร้างรายได้จากคอนเทนต์ รวมถึงโอกาสในการนำเสนอผลิตภัณฑ์อื่นหรือเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้นภายในกลุ่มทรู จำนวนลูกค้าที่สมัครสมาชิกทรูวิชั่นส์เพิ่มขึ้นสุทธิ 1.43 แสนรายในปี 2561 เป็น 2.3 ล้านราย

สำหรับปี 2562

กลุ่มทรูจะเสริมความแข็งแกร่งของธุรกิจหลัก โดยให้ความสำคัญกับเครือข่ายและบริการคุณภาพสูง ขยายช่องทางการขายพร้อมผสานความร่วมมือกับพันธมิตร เพิ่มมูลค่าด้วยข้อเสนอที่ผสานบริการหลากหลายตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะกลุ่มในเชิงลึกมากขึ้น ในขณะเดียวกันจะเน้นการวิเคราะห์ใช้ big data หรือ Analytics เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งในพื้นที่ที่กลุ่มทรูเป็นผู้นำอยู่แล้วและขยายไปในภาคส่วนที่มีการเติบโตแต่กลุ่มทรูยังมีส่วนแบ่งตลาดที่ไม่สูงนัก

นอกจากนี้ กลุ่มทรูมุ่งเสริมความแข็งแกร่งให้กับความเป็นผู้นำด้านดิจิทัลแพลตฟอร์มและข้อเสนอ IoT เพื่อเพิ่มการเติบโตที่สูงให้กับกลุ่มทรูด้วยการเติมเต็มความต้องการของทั้งลูกค้าบุคคลและลูกค้าธุรกิจในยุคดิจิทัล ทั้งนี้ มาตรการบริหารต้นทุนและเพิ่มผลิตภาพในหลายโครงการ จะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะเพิ่มความสามารถในการทำกำไรให้กับกลุ่มทรูในปี 2562

กลุ่มทรูตั้งเป้าหมายการเติบโตของรายได้จากการให้บริการโดยรวมในอัตราเลขหนึ่งหลักช่วงกลางถึงช่วงปลาย (mid to high single-digit growth) ซึ่งการเพิ่มขึ้นของรายได้ร่วมกับกลยุทธและมาตรการดังกล่าวข้างต้นน่าจะส่งผลให้กลุ่มทรูสามารถรายงานผลกำไรได้ในปี 2562 ทั้งนี้ กลุ่มทรูคาดว่าจะใช้งบลงทุน (ที่เป็นเงินสด) ไม่รวมการชำระค่าใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ ในช่วงระดับ 4 หมื่นล้านบาทแม้ว่าภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมรวมถึงความเปลี่ยนแปลงในด้านเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคอาจส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของกลุ่มทรูในอนาคต แต่ความคืบหน้าและกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นตอบสนองความต้องการของลูกค้าตามที่ได้กล่าวข้างต้นทำให้กลุ่มทรูมีความพร้อมสำหรับการเติบโตและเสริมสร้างฐานะทางการเงินให้แข็งแกร่ง

Comments

comments