สรุปผลการดําเนินงาน

ณ สิ้นไตรมาส 1/62 จํานวนผู้ใช้บริการรวมเท่ากับ 20.7 ล้านเลขหมาย ลดลง 0.5 ล้านเลขหมายจากสิ้นไตรมาส 4/61 จากการลดลงของลูกค้าในระบบเติมเงิน ซึ่งถูก ชดเชยบางส่วนจากการเพิ่มขึ้นของลูกค้าในระบบรายเดือน ฐานลูกค้าระบบเติมเงินเท่ากับ 14.5 ล้านเลขหมาย ลดลง ประมาณ 599,000 เลขหมายจากไตรมาสก่อน เนื่องจาก การย้ายไปสู่ระบบรายเดือน และการแข่งขันที่รุนแรงใน ตลาด ในช่วงเดียวกัน ฐานลูกค้าระบบรายเดือนเพิ่มขึ้น ประมาณ 123,000 เลขหมาย เป็น 6.2 ล้านเลขหมาย จาก การย้ายมาใช้ระบบรายเดือนของลูกค้าระบบเติมเงิน คุณภาพของเครือข่ายและประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้น อย่างต่อเนื่อง และแคมเปญส่วนลดค่าเครื่องโทรศัพท์ที่ น่าสนใจ รายได้เฉลี่ยต่อเลขหมาย ไม่รวมค่าเชื่อมต่อโครงข่าย (“ARPU”) สําหรับไตรมาส 1/62 เท่ากับ 242 บาทต่อเดือน ค่อนข้างคงที่ทั้งจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ลูกค้าในระบบรายเดือนคิดเป็นสัดส่วน ประมาณร้อยละ 30 ของจํานวนลูกค้ารวม ณ สิ้นไตรมาส 1/62 รายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายของลูกค้าระบบรายเดือนใน ไตรมาสนี้เท่ากับ 534 บาทต่อเดือน ลดลงร้อยละ 0.6 จาก ไตรมาสก่อน และร้อยละ 1.3 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายของลูกค้าระบบเติม เงินลดลงร้อยละ 4.7 จากไตรมาสก่อน และร้อยละ 9.8 จากงวดเดียวกันของปีก่อน มาอยู่ที่ 130 บาทต่อเดือน ปริมาณการใช้งานบนเครือข่าย 4G-2300MHz ภายใต้ ความร่วมมือกับ TOT ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก จํานวนผู้ใช้บริการบนเครือข่ายที่ใช้เครื่องโทรศัทพ์ที่ รองรับมากขึ้น

ในไตรมาส 1/62 ดีแทคติดตั้งสถานีฐานบนเครือข่าย 2300MHz เพิ่มเติมอีกจํานวนประมาณ 2,700 สถานีฐาน ส่งผลให้ ณ สิ้นไตรมาส 1/62 ดีแทคมีสถานีฐานบน เครือข่าย 2300MHz เป็นจํานวนประมาณ 15,400 สถานี ฐาน นอกจากนี้ ดีแทคยังติดตั้งสถานีฐานบนเครือข่าย ส่งผลให้ดีแทคมีจํานวนสถานีฐานบนเครือข่าย 4G2100MHz และ 3G-2100MHz ประมาณ 24,500 และ 24,400 สถานี 2100MHz เพิ่มเติมอีกจํานวนประมาณ 663 สถานีฐานานีฐาน ตามลําดับ

จํานวนผู้ใช้บริการ บนระบบ 4G เพิ่มขึ้นเป็น 10.2 ล้านเลขหมาย คิดเป็น สัดส่วนประมาณร้อยละ 49 ของฐานลูกค้ารวม ในขณะที่ จํานวนเครื่องโทรศัพท์ที่รองรับการใช้งานในระบบ 4G และ สัดส่วนสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 69 และ 81 ของ ฐานลูกค้ารวม ตามลําดับ

 

สรุปผลประกอบการด้านการเงิน

รายได้

รายได้รวม ในไตรมาส 1/62 เท่ากับ 19,640 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 จากไตรมาสก่อน และร้อยละ 2.0 จาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากรายได้จากการดําเนินงาน อื่น ซึ่งเป็นรายได้จาก CAT ตามสัญญาเช่าสินทรัพย์ ภายใต้สัมปทาน และค่าเช่าเครือข่าย 2300MHz จาก TOT อย่างไรก็ตาม รายได้จากการให้บริการที่ไม่รวมค่า เชื่อมต่อโครงข่าย ลดลงร้อยละ 1.0 จากไตรมาสก่อน และ ร้อยละ 5.7 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มี 15,123 ล้านบาท จากการลดลงของรายได้จากลูกค้า ระบบเติมเงิน และรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์ ระหว่างประเทศที่ได้รับผลกระทบจากบริการทดแทนและ การแข่งขัน นอกจากนี้ มาตรการที่เข้มงวดขึ้นในการ เชื่อมต่อกับผู้ให้บริการคอนเทนต์ (“CPA services) ภายนอกก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อรายได้จาก การให้บริการ

รายได้จากการให้บริการหลัก (รายได้จากการให้บริการ เสียงและข้อมูล) ในไตรมาสนี้เท่ากับ 14,198 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.8 จากไตรมาสก่อน และร้อยละ 4.5 จาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากการลดลงของฐานลูกค้า และรายได้จาก CPA services รายได้จากบริการข้ามแดนอัตโนมัติ ในไตรมาสนี้ เท่ากับ 278 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 จากไตรมาส ก่อนจากปัจจัยทางฤดูกาล แต่ลดลงร้อยละ 10.2 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนจากการแข่งขันและความนิยมใน บริการทดแทนที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

รายได้จากการให้บริการอื่น ในไตรมาสนี้เท่ากับ 648 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.6 จากไตรมาสก่อน และร้อยละ 25.0 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุหลัก จากแนวโน้มที่ลดลงของรายได้จากบริการโทรทางไกล ระหว่างประเทศ

รายได้จากการจําหน่ายเครื่องโทรศัพท์และชุดเลขหมาย ในไตรมาสนี้เท่ากับ 1,895 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 12.5 จากไตรมาสก่อน และร้อยละ 17.7 จากไตรมาส เดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักการการเพิ่มขึ้นของ สัดส่วนในการขายของเครื่องโทรศัพท์ราคาที่ต่ํากว่าและ ยอดขาย iPhone ที่ลดลง ผลขาดทุนจากการจําหน่าย เครื่องโทรศัพท์และชุดเลขหมายในไตรมาสนี้ลดลงจาก ไตรมาสก่อนมาอยู่ที่ 734 ล้านบาท การให้ส่วนลดค่า เครื่องโทรศัพท์ยังคงมีความจําเป็นในการดึงดูดและรักษา ฐานลูกค้าระบบรายเดือน

กําไรสุทธิ ในไตรมาสนี้เท่ากับ 1,408 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 129 จากไตรมาสก่อน เนื่องจาก EBITDA ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งถูกชดเชยบางส่วนจากค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจําหน่าย และต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น และร้อยละ 7.1 จากไตร มาสเดียวกันของปีก่อน จากการลดลงอย่างมากของค่า เสื่อมราคาและค่าตัดจําหน่าย ซึ่งถูกชดเชยบางส่วนจาก การลดลงของ EBITDA

แนวโน้มปี 2562

ในปี 2562 ดีแทคจะให้ความสําคัญในการพัฒนาโครงข่าย และ ประสบการณ์การใช้งานของลูกค้าให้ดีขึ้น รวมทั้งจะ สร้างสรรค์ข้อเสนอและให้บริการที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง มากขึ้น นอกจากนี้ ดีแทคจะพัฒนาแบรนด์ดีแทคให้ แข็งแกร่งขึ้นและนําเสนอคุณค่าของแบรนด์ให้ลูกค้ารับรู้ ทั้งนี้บริษัทคาดว่าจะใช้เงินลงทุนในปี 2562 ในช่วง 13,000 ถึง 15,000 ล้านบาท โดยมีความปรารถนา ที่จะ กลับมาเติบโตพร้อมทั้งให้ความสําคัญในการเพิ่ม ประสิทธิภาพในการดําเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดย รายละเอียดเพิ่มเติมสําหรับแนวโน้มผลการดําเนินงานของ ปี 2562 จะแจ้งในโอกาสต่อไป

ดีแทคคงนโยบายการจ่ายเงินปันผลโดยมนโยบายการ จ่ายเงินปันผลไม่ต่ํากว่าร้อยละ 50 ของกําไรสุทธิของ บริษัทท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะทางการเงินและแผนการ ประกอบธุรกิจของบริษัทในอนาคต โดยบริษัทมีเป้าหมาย พิจารณาจ่ายเงินปันผลทุกครึ่งปี

Comments

comments