18 มิถุนายน 2562 : เอไอเอส เดินหน้าผลักดันการสร้างสังคม Digital อย่างยั่งยืน ผ่านแนวคิด
“ถ้าเราทุกคน คือเครือข่าย” ประกาศภารกิจยิ่งใหญ่ “อุ่นใจไซเบอร์” สำหรับเยาวชน
โครงการ “อุ่นใจไซเบอร์” มีเป้าหมายในการสร้างภูมิคุ้มกัน รณรงค์ ปลูกจิตสำนึก และสร้างเครื่องมือคัดกรอง Content ที่ไม่เหมาะสมจากโลก Digital โดยเน้นใน 2 ด้าน คือ มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างทักษะทาง Digital (Educator) เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะเพื่อให้ใช้ดิจิทัลอย่างรู้เท่าทัน และ ป้องกัน (Protector) ความเสี่ยงจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่าน Digital Solutions
เอไอเอส โดยบทบาทการเป็นผู้ส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะทางดิจิทัล (Digital Educator)เป็นรายแรกและรายเดียวในไทยที่ได้นำเข้า DQ ชุดการเรียนรู้ 360 องศา เพื่อพัฒนาทักษะและความฉลาดทางดิจิทัล DQ (Digital Quotient) ครบทั้ง 8 ทักษะ ให้กับเด็กๆ สร้างภูมิคุ้มกันในการก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์อย่างมีไหวพริบ รู้จักวางตัวอย่างเหมาะสมกับคนแปลกหน้า และใช้มือถือ
แท็บเล็ต อย่างฉลาด ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งชุดการเรียนรู้นี้ได้รับการยอมรับและมีการนำไปฝึกทักษะให้กับเด็กๆ มากกว่า 110 ประเทศทั่วโลก แปลถึง 21 ภาษา จาก 100 พาร์ทเนอร์ ขณะนี้
ได้เริ่มขยายผลการสร้างทักษะความฉลาดทางดิจิทัล DQ (Digital Quotation) ไปสู่ภาคการศึกษาทั่วประเทศ รวมถึงเปิด Portalศูนย์กลางการเรียนรู้สำหรับคนไทยทุกคน ที่โรงเรียน หรือ สถาบันที่ทำงานเพื่อพัฒนาเยาวชนต่างๆ สามารถเข้ามาใช้งานได้แล้ววันนี้ที่ www.ais.co.th/dq
เอไอเอส โดยบทบาทการเป็นผู้ให้บริการและพัฒนาเครือข่ายที่ป้องกันความเสี่ยง (network protector) จาก Content ที่ไม่เหมาะสม
ดูแลการใช้งานโทรศัพท์ รวมถึงดูแลความปลอดภัยจากพิกัดปัจจุบันของบุตรหลานได้ง่ายๆ โดยเอไอเอส มอบอินเทอร์เน็ต on–top สำหรับการใช้งานให้ลูกค้าเอไอเอสสามารถดูแลบุตรหลานของท่านได้อย่างสบายใจ
นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส กล่าวว่า “ในฐานะ Digital Life Service Provider ที่มุ่งมั่นพัฒนา Digital Infrastructure เพื่อประเทศ นอกเหนือจากการทำหน้าที่พัฒนาบริการเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าอย่างดีที่สุดแล้ว เรายังให้ความสำคัญกับการร่วมสร้างการเติบโตและพัฒนาสังคม สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อทำให้ทุกภาคส่วน (Stakeholder) เติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง
การมาถึงของเทคโนโลยี Digital ก่อให้เกิดผลกระทบและการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่วิถีการดำเนินชีวิต รูปแบบการทำธุรกิจ ตลอดจนระบบเศรษฐกิจในระดับมหภาค ซึ่งแน่นอนว่าย่อมนำมาทั้งประโยชน์มหาศาล ในขณะเดียวกันหากนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสมก็สามารถส่งผลในทางลบกับสังคมได้เช่นกัน ทั้งนี้รวมไปถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่มาจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ (e–waste) ที่หากไม่ได้รับการปลูกฝัง หรือให้ข้อมูลการบริหารจัดการอย่างถูกวิธี ย่อมส่งผลร้ายแรงมาสู่ชีวิตทุกคนในโลก
โดยปรากฎการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นเด่นชัดผ่านงานวิจัยหลากหลายสำนักที่ระบุว่า ในปี 2561เยาวชนไทยอายุระหว่าง 8 – 12 ปี มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงถึง 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ย
ทั่วโลกถึง 3 ชั่วโมง อีกทั้งยังค้นพบว่าเด็กไทยขาดทักษะในการใช้งานดิจิทัลอย่างชาญฉลาดทำให้เสี่ยงได้รับภัยอันตรายที่แฝงมากับอินเทอร์เน็ตใน 4 รูปแบบ คือ การถูกกลั่นแกล้งออนไลน์ (Cyberbullying) การเข้าถึงสื่อลามก การติดเกม และการถูกหลอกให้พบกับคนแปลกหน้า
นายสมชัยกล่าวเสริมว่า “อีกปัญหาที่ประเทศไทยกำลังได้รับผลกระทบจากการมาของเทคโนโลยีคือ ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2561 มีรายงานว่า คนไทยทิ้งขยะอันตรายทั้งสิ้น638,000 ตัน ซึ่งขยะส่วนใหญ่เป็นซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สูงถึง 65% อีกทั้งของเสียอันตรายจากชุมชนเหล่านี้ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธีเพียง 83,000 ตันเท่านั้น”
“ในฐานะผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรม Digital โดยตรง เราจึงมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเป็นแกนกลางเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาความรู้แก่เยาวชน อันจะนำมาซึ่งการเติบโตของสังคม Digital อย่างยั่งยืน รวมถึงยังมีเจตนารมณ์อย่างแรงกล้า ที่จะอุทิศตนเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคมให้มีความสุข
จากสภาพแวดล้อมที่ดี อันจะนำมาซึ่งความแข็งแกร่ง และเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศชาติ ผ่าน Digital Platform ที่จะเป็น Digital Platform ของคนไทยทุกคน ผ่านแนวคิด “ถ้าเราทุกคน คือ เครือข่าย” นั่นเอง”