คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จับมือ กลุ่มทรู ร่วมมือพัฒนางานวิจัยและนวั ตกรรม เปิด TrueLab@Chula Engineering: 5G & Innovative Solution Center พื้นที่สร้างสรรค์นวัตกรรมที่ เพียบพร้อมด้วยโครงสร้างพื้ นฐานโทรคมนาคม ทั้ง 5G, 4G, บรอดแบนด์ และ WiFi รวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่ อการทดลอง ทดสอบ กิจกรรมเสริมสร้างองค์ความรู้ และการสนับสนุนทุนวิจัย/พัฒนา เสริมศักยภาพให้คณาจารย์และนิสิ ตในการค้นคว้า สร้างนวัตกรรมและผลงานวิจัย และเพื่อร่วมพัฒนาและสร้างสรรค์ รูปแบบการใช้งานต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยี 5G ที่สามารถพัฒนาต่อยอดให้ สามารถใช้งานได้จริง ตอกย้ำ True 5G “Driving Force of the Nation” ทรู 5G นวัตกรรมเพื่อสังคมไทย เพื่อสร้างนวัตกรในรั้วมหาวิ ทยาลัยที่จะเติบโตเป็นนั กรบเศรษฐกิจรุ่นใหม่ ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทั ลของประเทศ
ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า
“คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งมั่นผลิตบุคลากรและวิศวกรที่ มีความรู้ มีทักษะและสามารถบุกเบิกองค์ ความรู้ใหม่ด้านวิศวกรรมและบู รณาการองค์ความรู้เพื่อประโยชน์ ของสังคมไทย ล่าสุด ร่วมมือกับกลุ่มทรู เปิด TrueLab@Chula Engineering เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ การวิจัยและคิดค้นนวัตกรรมต่ างๆ เสริมสร้างกระบวนการในการเรี ยนรู้ของนิสิต ให้สามารถนำความรู้ทางทฤษฎีที่ ได้จากห้องเรียนมาทดลอง วิจัย และพัฒนาต่อยอดเป็นผลงานที่ จะสร้างคุณประโยชน์ให้แก่สั งคมได้ โดยเฉพาะ 5G และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่ อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ มั่นใจว่า TrueLab@Chula Engineering จะเป็นพื้นที่สร้างประโยชน์ และเป็นการเตรียมความพร้อมของบุ คลากรและส่งเสริมการสร้างสรรค์ ผลงานวิจัยเทคโนโลยี 5G เพื่อให้เกิดระบบนิเวศของการพั ฒนาเทคโนโลยีและบริการ 5G ของประเทศต่อไป”
ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านนวัตกรรมและความยั่งยืน บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “TrueLab เป็นโครงการความร่วมมือด้ านงานวิจัยและพัฒนานวั ตกรรมระหว่างกลุ่มทรูและสถาบั นการศึกษา โดยมุ่งพัฒนาระบบนิเวศบริ การครบวงจรสำหรับคณาจารย์และนิ สิต นักศึกษา เพื่อสร้างนักวิจัยและนวั ตกรไทยจากรั้วมหาวิทยาลัย ภายใต้แนวคิด “STARTUP” ผ่านการสนับสนุนในด้าน Startup seed fund แหล่งทุนเพื่อสร้างสรรค์และพั ฒนาผลงานนวัตกรรม, Talent Recruitment การเฟ้นหานวัตกรที่มีความรู้ ความสามารถ เพื่อช่วยพัฒนาไอเดียและต่ อยอดในเชิงธุรกิจให้เกิดขึ้นจริ ง, Assessment Center ช่วยประเมินความถนั ดและความสามารถ เพื่อวางแผนการพัฒนาตนเองในด้ านต่างๆ, Research & Development Fund สนับสนุนทุนวิจัย, The future job and digital training ศูนย์บ่มเพาะและอบรมความรู้ด้ านดิจิทัล, University 4.0 สนับสนุนดิจิทัลไลฟ์สไตล์ ในมหาวิทยาลัย และ Privilege as a member สิทธิพิเศษจากโครงการ TrueLab เชื่อมั่นว่า TrueLab@Chula Engineering: 5G & Innovative Solution Center ที่มีระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์นวั ตกรรม จะสร้างคุณค่าและประโยชน์ต่อนิ สิต คณาจารย์ และสร้างผลงานวิจัยและนวั ตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสั งคมและประเทศไทย”
ดร.กิตติณัฐ ทีคะวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “นับเป็นอีกหนึ่งโอกาสอันดีที่ กลุ่มทรูได้เข้ามามีส่วนร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการสนับสนุนความเป็นเลิศทางวิ ชาการ ซึ่งสอดคล้องกับความตั้ งใจของกลุ่มทรูในการส่งเสริมศั กยภาพระบบการศึกษาของไทย สร้างคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ ความสามารถและมีความคิดสร้ างสรรค์ ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการขั บเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ เติบโตและแข่งขันได้กั บนานาประเทศ ในฐานะที่กลุ่มทรูเป็ นภาคเอกชนไทยที่ให้ความสำคั ญและมีการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้ นฐานโทรคมนาคมและดิจิทัลอย่างต่ อเนื่อง เราต้องการสนับสนุนให้มี การนำโครงสร้างพื้ นฐานโทรคมนาคมและเทคโนโลยีดิจิ ทัลไปใช้ให้เกิดคุณค่ าและประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนในเทคโนโลยี 5G ที่จะเปลี่ยนมิติการแข่งขั นและสร้างความได้เปรี ยบทางเศรษฐกิจ ความร่วมมือกับภาคการศึกษาในครั้ งนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคั ญในการร่วมพัฒนานวัตกรรม 5G ด้วยการผสานศักยภาพความพร้ อมของกลุ่มทรู ทั้งเครือข่ายสื่อสารดิจิทัล ความรู้และความชำนาญ กับองค์ความรู้ของคณาจารย์และนิ สิตจุฬาฯ เพื่อสร้างนวัตกรไทยรุ่นใหม่ ที่จะช่วยสร้างสรรค์นวั ตกรรมและผลงานวิจัยที่มีคุณค่ าต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย”
ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมุ่งสร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อสร้างเสริมสังคมไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และสร้างบัณฑิตที่จะเป็นนวัตกรช่วยปรับเปลี่ยนสังคมไทยให้สามารถสร้างมูลค่าและคุณค่าให้แก่ประเทศ ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์หลักของจุฬาฯ คือ การบ่มเพาะและผลักดันนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการจริงทั้งเชิงสังคมและเทคโนโลยี โดยความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชน นับเป็นหนึ่งในแนวทางที่จะช่วยพัฒนาวิชาการของมหาวิทยาลัย ให้สามารถสร้างคน สร้างนวัตกรรมและผลการวิจัยที่เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะในวงกว้างได้ ความร่วมมือกับกลุ่มทรูในการดำเนินโครงการ TrueLab ในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ พัฒนาทักษะ และเพิ่มศักยภาพของคณาจารย์และนิสิตจุฬาฯ ทั้งยังสนับสนุนให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมและต่อยอดการนำผลการวิจัยที่ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ อุตสาหกรรม และประเทศ สอดคล้องกับนโยบายด้านความเป็นเลิศทางวิชาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”
TrueLab@Chula Engineering: 5G & Innovative Solution Center ตั้งอยู่ที่อาคาร 3 ชั้น 1 คณะ
วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีขนาดพื้นที่ประมาณ 570 ตารางเมตร สุดล้ำกับเครือข่าย 5G และระบบเทคโนโลยีสื่อสารพื้นฐาน สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ ตความเร็วสูง และ WiFi ครอบคลุมทั่วพื้นที่ใน TrueLab เพียบพร้อมด้วยอุปกรณ์และเครื่ องมือที่ทันสมัย ประกอบด้วยพื้นที่หลัก 5 ส่วนได้แก่ ออดิทอเรียม (Auditorium) พื้นที่จัดกิจกรรมประชุม สัมมนา ในรูปแบบ Townhall, Working space พื้นที่สำหรับการทำงาน, ห้องประชุม พร้อมฟังก์ชั่นแบ่งเป็นห้องย่ อยได้ 2 ห้อง, ห้องสำนักงาน และ พื้นที่ส่วนกลาง (Lounge) ปรับเปลี่ยนฟังก์ชันใช้งานได้ หลายรูปแบบ
SHOWCASE
• การจำลองการใช้งานเทคโนโลยี 5G ผ่าน Use Case ต่างๆ ได้แก่
1. Drone: โดรนขนาดยักษ์ กว้างถึง 1.2 เมตร สามารถขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนั กมากกว่า และเดินทางได้ในระยะทางที่ ไกลกว่าโดรนทั่วไป พร้อมแพลตฟอร์มในการสั่ งการและควบคุมทางไกล ซึ่งรองรับการเชื่อมต่อโครงข่าย 5G ในอนาคต
2. Rock-Paper-Scissor with Robot Arm: เป่ายิงฉุบแบบไม่ธรรมดากับหุ่ นยนต์มือกลที่สามารถควบคุ มการทำงานด้วย 5G ควบคู่กับ Machine Learning ที่เรียนรู้ท่าทางต่างๆ ของคน
• โครงการความร่วมมือระหว่าง จุฬาฯ และ กลุ่มทรู ในการศึกษาวิจัยเพื่อพั ฒนาเทคโนโลยี 5G
1. ระบบการจัดการเตียงโรงพยาบาลเพื่ อป้องกันผู้ป่วยตกเตียง (Cloud Managed Hospital Bed)
กลุ่มเตียงโรงพยาบาลที่ สามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงอิ ริยาบถของผู้ป่วย และในกรณีที่ผู้ป่วยมีโอกาสพลั ดตก จะแจ้งเตือนไปยังผู้ดูแลหรื อพยาบาล ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดู แลผู้ป่วยจำนวนมาก
รองรับระบบสื่อสารและส่งสั ญญาณผ่านโครงข่าย 5G ที่ช่วยให้สามารถเชื่อมต่อสั ญญาณจากเตียงผู้ป่วยจำนวนมากได้ ในพื้นที่จำกัด ทั้งยังมีความแม่นยำและปลอดภั ยในการส่งข้อมูล พร้อมเชื่อมโยงกับระบบ Cloud ที่ช่วยในการรวบรวมข้อมูลจากเตี ยงผู้ป่วยแต่ละเตียงได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
2. Autonomous vehicle for Delivery: รถขนส่งสินค้า ที่สั่งการ ควบคุมความเร็ว เบรก และพวงมาลัยด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า พร้อมด้วยระบบการควบคุ มการทำงานของรถแบบอัตโนมัติที่ พร้อมรองรับการ
เชื่อมต่อและสั่งงานผ่านโครงข่ าย 5G ทั้งการขับขี่ จอดรถ และการรับและส่งสินค้าแบบอั ตโนมัติ ซึ่ง
สามารถต่อยอดใช้งานได้ทั้ งในโรงงาน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล พื้นที่ธุรกิจและที่อยู่อาศัย
Smart CU-Pop Bus: Smart bus ที่พัฒนาเพื่อรองรับการส่งสั ญญาณผ่านโครงข่าย 5G โดยมีการ
ติดตามตำแหน่งรถและถ่ายทอด VDO จากกล้องติดรถที่มีความละเอี ยดระดับ 4K พร้อมระบบวิเคราะห์
ข้อมูลเพื่อนำไปศึกษาสภาพการใช้ รถ สภาพการจราจร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริ หารจัดการรถและความปลอดภั ยในการเดินทาง พร้อมกับมีบริการ WiFi ภายในรถด้วย
ผลงานนวัตกรรมจากนิสิต จุฬาฯ
1. Help Mee: IoT เพื่อความปลอดภัย ในพื้นที่จุฬาฯและสยามสแควร์ โดยการติดตั้งอุปกรณ์ส่งสั ญญาณขอความช่วยเหลือตามจุดต่ างๆทั่วพื้นที่ เพื่อให้ผู้ต้องการความช่วยเหลื อ เช่น กรณีประสบเหตุร้าย สามารถกดปุ่นส่งสัญญาณขอความช่ วยเหลือ ระบบจะส่งข้อมูลจุดที่ติดตั้ งกล่องเข้าไปยังโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้มีการช่วยเหลือได้อย่ างรวดเร็ว พร้อมมีการบันทึกและรวบรวมข้อมู ลการขอความช่วยเหลือไว้ในระบบด้ วย
2. กังหันลมชาร์จแบตเตอร์รี่สำรอง: กังหันลมขนาดเล็ก ติดตั้งง่าย ใช้ประโยชน์จากพลังงานสะอาด เปลี่ยนพลังงานลมเป็นกระแสไฟฟ้ าชาร์จเข้าแบตเตอร์รี่ สำรองโดยไม่ต้องเฝ้าแบตเตอร์รี่ โดยระบบจะส่งข้อความแจ้งเตื อนไปยังโทรศัพท์มือถือเมื่ อบรรจุไฟเต็ม นวัตกรรมนี้นอกจากจะเป็นแหล่ งกำเนิดไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ที่สามารถติดตั้งได้ตามสถานที่ ต่างๆ แล้ว ยังสามารถนำไปต่อยอดได้เมื่อมี การทำงานผ่านโครงข่าย 5G ที่ช่วยในการส่งข้อมูลอย่ างรวดเร็ว พร้อมทั้งสามารถเก็บรวบรวมข้อมู ลด้านพลังงานของแต่ละพื้นที่เพื่ อนำไปวิเคราะห์ใช้งานได้ในอนาคต
3. PM 2.5 Sensor for All: ต้นแบบนวัตกรรมเครื่องมือวัดคุ ณภาพอากาศ PM2.5 และเชื่อมโยงข้อมูลการตรวจวัดคุ ณภาพอากาศผ่านโครงข่าย NB-IoT ของทรู ซึ่งนวัตกรรมเครื่องมือวัดคุ ณภาพอากาศ PM2.5 จากการพัฒนาในครั้งนี้ จะนำไปติดตั้งและเก็บข้อมู ลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่ ของจุฬาฯ ผ่านเครือข่าย NB-IoT และจะจัดทำช่ องทางการรายงานผลการตรวจวัดคุ ณภาพอากาศ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้ อมูลการตรวจวัดคุณภาพอากาศ และจัดเก็บค่าการตรวจวัดคุ ณภาพอากาศเพื่อเป็นฐานข้อมู ลสำหรับงานวิจัยต่อไป
4. Cloudero: ผลงานที่ชนะประกวดโครงการ TrueLab StartUp Eco-Build ซึ่ง Cloudero เป็นแพลตฟอร์มการเชื่อมโยงระหว่ าง Influencer กับ ลูกค้า ที่สามารถช่วยให้เจ้าของสินค้ าสามารถเลือก Influencer ที่เหมาะสมกับสินค้าของตนเองได้ โดยการเก็บข้อมูล Influencer แล้ว Matching กับสินค้าของลูกค้า ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกและเปรี ยบเทียบความน่าสนใจของ Influencer แต่ละรายได้