22 ตุลาคม 2562 : เอไอเอส สานต่อภารกิจ “ถ้าเราทุกคน คือเครือข่าย” จับมือพันธมิตร ทั้งภาครัฐ
และภาคเอกชน จัดกิจกรรมใหญ่ “กรีน พหลโยธิน” ร่วมรณรงค์รับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ E–Waste จากหน่วยงานและประชาชนตลอดเส้นถนนพหลโยธิน สร้างโมเดลต้นแบบเมืองสีเขียว ที่สามารถคัดแยก และกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ E–Waste ได้อย่างถูกวิธี พร้อมอำนวยความสะดวกให้ประชาชนทั่วไปสามารถนำโทรศัพท์มือถือ แบตเตอรี่มือถือ พาวเวอร์แบงก์ สายชาร์จ หูฟังที่ไม่ใช้แล้ว มาทิ้งได้ที่ถังขยะ E–Waste ที่เอไอเอสช็อปและศูนย์การค้าในเครือเซ็นทรัลทั่วประเทศ
“กรีน พหลโยธิน” เป็นโครงการที่จัดขึ้นโดยการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายกับองค์กรพันธมิตร ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน บนถนนเส้นพหลโยธิน อาทิ สำนักงานเขตพญาไท, ททบ. 5, สถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ, โรงพยาบาลพญาไท 2, บุญเติม, อาคารพหลโยธินเพลส, ธ.กรุงเทพ, ธ.กรุงไทย, ธ.กรุงศรี,
ธ.กสิกรไทย, ธ.เกียรตินาคิน, ธ.ทหารไทย, ธ.ไทยพาณิชย์, ธ.ธนชาต, ธ.ยูโอบี, ธ.ออมสิน,IBM, Exim Bank เพื่อจะร่วมกันรณรงค์ ผลักดันให้เกิดการคัดแยก และการทิ้งขยะ E–Waste อย่างถูกวิธี เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน โดยมี ผู้บริหารระดับสูง และพนักงาน นำโดย CEO–AIS นายสมชัย
เลิศสุทธิวงค์ พร้อมด้วย 2 พรีเซนเตอร์สุดฮอต มิว นิษฐา และ ทอม อิศรา ร่วมเดินรณรงค์ให้ความรู้ และรับขยะ E–Waste จากประชาชน โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเขตพญาไทเป็นกำลังสำคัญในเครือข่ายความร่วมมือครั้งนี้
นางสาวนัฐิยา พัวพงศกร หัวหน้าส่วนงานพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน เอไอเอส กล่าวถึงกิจกรรมรณรงค์ในครั้งนี้ว่า “ในฐานะ Digital Life Service Provider ที่นอกจากจะมุ่งมั่นนำเทคโนโลยีมาสร้างประโยชน์ให้แก่คนไทยทุกเจเนอเรชันแล้ว เรายังให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ (Stakeholder) รวมถึงการร่วมดูแลรับผิดชอบสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนให้พัฒนาและเติบโตไปพร้อมๆ กัน ในปีนี้เอไอเอสจึงได้ประกาศภารกิจ Mission Green 2020 ที่มีเป้าหมายในการดูแลและเอาใจใส่สิ่งแวดล้อม ด้วยการจัดเก็บขยะอิเล็กทรอนิกส์ E–Waste จากทั่วประเทศจำนวนกว่า 1 แสนชิ้น เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)รวมทั้งสิ้น 1 ล้านกิโลกรัมคาร์บอนสมมูลย์
ขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E–Waste ถือได้ว่าเป็นปัญหาที่คนทั่วทั้งโลกให้การตระหนักถึง
และพยายามหาทางแก้ไข เนื่องจากขยะประเภทนี้ หากไม่ได้กำจัดหรือทำลายอย่างถูกวิธี ก็จะก่อให้เกิดมลภาวะและส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม สังคม ดังนั้น เอไอเอส ในฐานะดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมดิจิทัลโดยตรง เราจึงมุ่งมั่นในการสร้างองค์ความรู้เรื่องขยะ E–Waste แก่คนไทย พร้อมอาสาเป็นตัวกลางในการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ E–Waste ไปกำจัดอย่างถูกวิธี ด้วยกระบวนการ Zero landfill (กระบวนการจัดการขยะ ทำให้นำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ให้เกิดมูลค่าได้อีกครั้ง) ซึ่งเอไอเอสได้ตั้งจุดรับขยะ E–Waste ให้บริการประชาชนในพื้นที่ต่างๆ อาทิ AIS Shop ทั่วประเทศ และศูนย์การค้า CPN สามารถดูพื้นที่จุดรับขยะ E–Waste และข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์www.ewastethailand.com
ด้าน นายสินธุ์ชัย บุญปักษ์ ผู้อำนวยการเขตพญาไท กล่าวว่า “ในฐานะหน่วยงานที่มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาเมืองให้สดใส ประชาชนปลอดภัย เราเล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดจากขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นอันดับต้นๆ ซึ่งปัจจุบันนับได้ว่าเป็นภัยใกล้ตัว และทุกคนก็ต่างผลิตขยะอันตรายเหล่านี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยรายงานในปี 2561 ของกรมควบคุมมลพิษระบุว่า คนไทยทิ้งขยะอันตรายมากกว่า 638,000 ตัน ซึ่งขยะส่วนใหญ่เป็นซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สูงถึง 65% ในขณะที่ขยะทั้งหมดได้รับการจัดการอย่างถูกวิธีเพียงไม่กี่ตันเท่านั้น ดังนั้นทางสำนักงานเขตจึงรู้สึกยินดีเป็นอย่างมากที่จะร่วมมือกับเอไอเอสและทุกภาคส่วนในการลุกขึ้นจัดการกับปัญหานี้ เพื่อจะพัฒนาเขตพญาไทให้เป็นต้นแบบเมืองสีเขียวที่สามารถจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างถูกวิธี ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม”
“ซึ่งกิจกรรมนี้ได้รับความสนใจจากองค์กร ประชาชน ในการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ E–Waste
เป็นจำนวนมาก ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของการสร้างพลังจากเครือข่ายในการบริหารจัดการปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตส่วนรวมของสังคม โดยในกรณีนี้เอไอเอสยินดีที่จะเป็นตัวกลางสร้างเครือข่าย ความร่วมมือที่ดีๆ แบบนี้ขึ้นทั่วประเทศ เพื่อจะร่วมสร้างไทยให้เป็นประเทศที่สามารถกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างถูกวิธีและยั่งยืนต่อไป” นางสาวนัฐิยา กล่าวปิดท้าย