บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เผยแพร่บทความ RPA ตัวเร่งธุรกิจ E-Logistics เปลี่ยนต้นทุนเป็นกำไร
ขณะที่รัฐบาลไทยกำลังเดินหน้าผลักดันนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนหลายบริษัทในหลากอุตสาหกรรมเองก็กำลังเร่งปรับตัวขนานใหญ่เพื่อรับมือกับความท้าทายทางด้านเทคโนโลยีที่ถาโถมมาอย่างไม่หยุดยั้ง บางแห่งเริ่มนำระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติและเทคโนโลยีต่าง ๆ มาช่วย transform ธุรกิจให้อยู่รอด ลดต้นทุนในกระบวนการต่าง ๆ ภายในองค์กร ตลอดจนนำมาเสริมการให้บริการ อาทิ Big data, Internet of Things (IoT), Cloud, Artificial intelligence (AI), Blockchain ฯลฯ
โดยเฉพาะธุรกิจการขนส่งและโลจิสติกส์นั้นมีภาพรวมการเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอันเป็นผลมาจากการขยายตัวของตลาด e-Commerce ที่มีผู้เล่นรายใหม่ ตบเท้าเข้ามายังตลาด ETDA เคยคาดการณ์มูลค่า e-Commerce ของกลุ่มอุตสาหกรรมการขนส่งอยู่ที่ 1.2 แสนล้านบาท โดยอยู่ในลำดับที่ 5 จาก 8 กลุ่มอุตสาหกรรมทั้งหมดสำหรับปี 2561 แสดงให้เห็นถึงโอกาสการเติบโต และศักยภาพในการขยายตัวของตลาดที่ยังเปิดกว้างแก่ผู้ประกอบการทางด้านนี้หากมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้เปลี่ยนผ่านไปสู่ E-Logistic
ข้อมูลจาก PWC เผยว่า Software เป็นหนึ่งเทรนด์ที่สำคัญของการทำธุรกิจด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ (Transport & Logistics) เพราะช่วยเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานภายใน ช่วยลดต้นทุน และสร้างผลลัพธ์ที่ดีให้กับธุรกิจในระยะยาว โดยใช้พื้นฐานมาจากเทคโนโลยีกลุ่ม AI, IoT, Big Data และ Blockchain ซึ่งประกอบด้วย 5 โซลูชั่นสำคัญที่ช่วยก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
● โซลูชั่นระบบขนส่งอัจฉริยะ (Intelligent Transport System)
● โซลูชั่นการคาดการณ์เพื่องานซ่อมบำรุงและตรวจสอบสภาพแวดล้อมด้วยโดรน (Predictive Maintenance and Drone Supervision)
● โซลูชั่นระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ (Robotic Process Automation หรือ RPA)
● โซลูชั่นบล็อกเชนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง (Blockchain DLT Solutions)
● โซลูชั่นปัญญาประดิษฐ์ (AI Solutions)
ซึ่งเทคโนโลยีขั้นแรกที่หลายองค์กรนำมาใช้เป็นกลยุทธ์แรก ๆ เพื่อเปลี่ยนผ่านการทำงานภายในสู่การเป็นผู้ให้บริการ E-Logistic สมัยใหม่ ก็คือ RPA (Robotic Processing Automation) เพราะเป็นการเปลี่ยน ต้นทุน ผสานรวมระบบการทำงาน และพัฒนา workforce ไปสู่การสร้างสิ่งใหม่ ๆ ให้กับองค์กรในระยะยาวได้ บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะผู้ให้บริการโซลูชั่น RPA มีแนวทางการปรับใช้ RPA ให้แก่องค์กรด้านโลจิสติกส์มานำเสนอ ดังนี้
แนวทางการปรับใช้ RPA เพื่อดำเนินธุรกิจการขนส่งที่น่าสนใจ
● กระบวนการเรียกเก็บเงิน หนึ่งในความท้าทายสำคัญของการดำเนินธุรกิจคือการได้รับเงินโดยเร็วที่สุดหลังจากงานสำเร็จลุล่วงแล้ว โดยปกติขั้นตอนในการเรียกเก็บเงินมีความซับซ้อนและใช้หลายระบบในการทำงาน ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้า ซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ RPA จะช่วยเชื่อมต่อระบบการทำงานทั้งหมดเข้าด้วยกันโดยอัตโนมัติ และส่งเอกสารใบแจ้งหนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียกเก็บเงินให้รวดเร็วยิ่งขึ้น
● ใช้ปรับกระบวนการสั่งซื้อสินค้า และการชำระเงินให้เป็นแบบอัตโนมัติ หลายบริษัทอาจยังใช้กระบวนการเดิม ๆ ในขั้นตอนการสั่งซื้อสินค้า เช่น ป้อนข้อมูลของลูกค้าแบบ manual ด้วยประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ RPA จะช่วยเชื่อมโยงฐานข้อมูลของลูกค้า ประมวลผลการเบิกจ่ายเงิน ส่งอีเมลยืนยัน และยื่นคำสั่งซื้อแบบอัตโนมัติ
● เชื่อมต่อซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ RPA เข้ากับพอร์ทัลลูกค้า เพิ่มความเร็วการออกใบแจ้งหนี้ ไม่จำเป็นต้องกรอกข้อมูลซ้ำ ๆ บนระบบ หรือแนบข้อมูลเข้าไปกับใบแจ้งหนี้ด้วยตนเองอีกต่อไป สามารถใช้ซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ RPA ช่วยดึงข้อมูลพร้อมทั้งแนบไฟล์ POD ที่สแกนเรียบร้อยแล้วไปพร้อมกับใบแจ้งหนี้ได้โดยอัตโนมัติ และสามารถอัพเดตข้อมูลดังกล่าวบนพอร์ทัลลูกค้าภายในไม่กี่วินาทีแทนที่แบบเดิมที่จะต้องเสียเวลาเป็นวัน ๆ
● เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารของลูกค้าด้วยคำสั่งซื้อแบบอัตโนมัติ และ ช่วยติดตามสินค้าในคลัง ใช้ซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ RPA เพื่อช่วยตรวจสอบข้อมูลการจัดส่งสินค้า/เว็ปไซต์ เพื่อตรวจสอบว่าข้อมูลนั้นถูกต้อง และตรงกัน โดยเชื่อมโยงกับข้อมูลคำสั่งซื้อในระบบการจัดการคลังสินค้า ช่วยให้สามารถติดตามและตอบสนองกับลูกค้าได้รวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง ภาพระบบ RPA ที่เหมาะแก่ธุรกิจการขนส่งและโลจิสติกส์
ข้อมูลจาก Gartner ชี้ว่า Robot Process Automation (RPA) เป็นซอฟต์แวร์ที่เติบโตมากที่สุดถึง 63% เมื่อปี 2561 และคาดการณ์ปีนี้จะมีมูลค่าราว 1.3 พันล้านดอลลาร์ (ราว 4 หมื่นล้านบาท) เมื่อเทียบกับซอฟต์แวร์ระดับองค์กร RPA คือ หุ่นยนต์ที่อยู่ในรูปแบบของซอฟต์แวร์เหมาะสำหรับงานที่ต้องทำซ้ำ ๆ มีปริมาณมาก ๆ ต้องการความแม่นยำและรวดเร็ว เช่น งานทางด้านป้อนข้อมูลเข้าระบบ งานบัญชี เป็นต้น เพราะ RPA มีความสามารถในการจัดการข้อมูลจำนวนมากจึงเป็นทางเลือกแรกที่ตอบโจทย์ธุรกิจประเภทนี้เนื่องจากจะเข้าไปช่วยจัดทำและเปลี่ยนแปลงข้อมูลขั้นพื้นฐาน อาทิ เอกสารพวกใบวางบิล ใบกำกับสินค้า รวมไปถึงกระบวนการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า และการตรวจสอบการบันทึก พวกใบสั่งซื้อสินค้า หรือเอกสารทางด้านกฎหมาย เป็นต้น ปัจจุบันมีธุรกิจคนไทยที่นำ RPA มาใช้อย่างเต็มรูปแบบในเชิงปฏิบัติการแล้ว คือ บริษัท ซีทีไอ โลจิสติกส์ ที่นำระบบนี้มาใช้เปลี่ยนโฉมการทำงานของคน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานควบคู่ไปกับการลดต้นทุนด้านการดำเนินงานทางด้านเอกสารภายใน ช่วยให้กระบวนการดำเนินงานภายในองค์กรราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ RPA ยังช่วยให้พนักงานมีเวลาเพิ่มขึ้น สามารถไปทำงานในเชิงคิดวิเคราะห์หรืองานที่เพิ่มคุณค่าให้กับองค์กรได้ ซึ่งองค์กรจะได้รับประโยชน์ทั้งในด้านคุณภาพของงานจากบุคลากรที่มีทักษะ และปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นจาก RPA ช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีศักยภาพได้อีกด้วย
นอกจากการลงทุนนำโซลูชั่น RPA มาใช้เพื่อ transform ธุรกิจแล้ว ผู้บริหารควรมีการวิเคราะห์ ออกแบบและวางแผนล่วงหน้า หรือปรึกษาบริษัทผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยให้การนำซอฟต์แวร์ดังกล่าวมาปรับใช้กับเนื้องานของธุรกิจได้อย่างเหมาะสม เพิ่มประสิทธิภาพงานที่มีอยู่ในขณะเดียวกันก็แบ่งเบาภาระงานที่เคยต้องใช้แรงงานมนุษย์ในการปฏิบัติการเป็นหลัก สอดคล้องกับข้อสรุปของเหล่า CEOs ในแวดวงโลจิสติกส์ที่ตอกย้ำถึงทิศทางของการดำเนินธุรกิจวันนี้ว่า ควรให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ (Operational Efficiencies) เป็นลำดับแรกสูงถึง 71% ดังนั้นบริษัทที่ควรนำระบบอัตโนมัติ RPA เข้ามาประยุกต์ใช้กลุ่มแรก ๆ คือ บริษัทที่กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาของระบบงานหลังบ้าน มีต้นทุนจากการจ้างแรงงานจากภายนอก และต้องการเปลี่ยนต้นทุนให้ย้อนกลับมาเป็นกำไรนั่นเอง
เกี่ยวกับฟูจิ ซีร็อกซ์
บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2505 เป็นผู้นำด้านการนำเสนอแนวทางการทำงานที่ชาญฉลาดด้วยโซลูชั่นและบริการที่เกี่ยวกับเอกสาร รวมไปถึงอุปกรณ์มัลติฟังก์ชั่น เครื่องพิมพ์ และเครื่องพิมพ์สำหรับธุรกิจสิ่งพิมพ์ระดับโลก ซึ่งเราได้พัฒนาและผลิตเพื่อจัดจำหน่ายในประเทศต่างๆ ทั่วโลก
ฟูจิ ซีร็อกซ์ เป็นบริษัทในเครือของบริษัท ฟูจิฟิล์ม โฮลดิ้ง คอเปอร์เรชั่น และมีทีมขายตรงครอบคลุมการดำเนินงานในญี่ปุ่น และภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก รวมถึงจีน บริษัทฯ มีรายได้ 1 หมื่นล้านดอลลาร์ มีพนักงานราว 40,000 คนทั่วโลก และมีบริษัทในเครือ รวมทั้งบริษัทตัวแทนจำหน่ายกว่า 80 แห่ง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ฟูจิ ซีร็อกซ์ เอเชีย แปซิฟิก เป็นบริษัทในเครือของฟูจิ ซีร็อกซ์ ทำหน้าที่ดูแลการดำเนินงานด้านการขายในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก http://www.fujixerox.com