ดัชนีการปฏิรูปสู่ดิจิทัลที่จัดทำขึ้นทุก ๆ สองปี ครั้งที่ 3 ของเดลล์ เทคโนโลยีส์ แสดงรายละเอียดอย่างชัดเจนว่าองค์กรกำลังเร่งโครงการปฏิรูปสู่ดิจิทัลกันอย่างไร ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน ผู้นำธุรกิจ 4,300 รายใน 18 ประเทศต่างร่วมแสดงความเห็นในเรื่องดังกล่าว

• การปฏิรูปสู่ดิจิทัล (Digital transformation) ถูกมองว่าเป็นปัจจัยขับเคลื่อนทางธุรกิจที่สำคัญยิ่งต่อการฟื้นฟู

• 80 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรทั่วโลก (APJ: 84 เปอร์เซ็นต์) ต่างเร่งก้าวเข้าสู่การปฏิรูปไปสู่ดิจิทัลกันในปีนี้

• ความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและความปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมถึงทรัพยากรที่จำกัดและความยากลำบากในการสกัดมุมมองเชิงลึกจากข้อมูล คืออุปสรรคต่อการปฏิรูปสู่ดิจิทัล

• อ่านผลการศึกษาฉบับเต็มได้ที่ https://DellTechnologies.com/DTIndex

เดลล์ เทคโนโลยีส์ เผยผลการศึกษาระดับโลกที่แสดงให้เห็นว่าองค์กรธุรกิจต่างๆ กำลังปรับแผนงานด้านการปฏิรูปสู่ดิจิทัลให้เดินไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วและกำลังอยู่บนเส้นทางไปสู่ความสำเร็จในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ จากที่ปกติแล้วต้องใช้ระยะเวลานานหลายปี ทั้งนี้ ผลการศึกษาที่อัพเดตในทุก ๆ สองปีในดัชนีการปฏิรูปสู่ดิจิทัล หรือ Digital Transformation Index (DT Index) ของเดลล์ เทคโนโลยีส์ ชี้ให้เห็นว่าองค์กรธุรกิจต่าง ๆ กำลังก้าวสู่แผนงานการปฏิรูปทางเทคโนโลยีกันอย่างเร่งรีบในระหว่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลก

หนึ่งในการศึกษาระดับโลกครั้งแรกเพื่อวัดพฤติกรรมของธุรกิจอันเป็นผลมาจากการแพร่ระบาด โดยดัชนีปี 2020 ของเดลล์ พบว่า 8 ใน 10 ขององค์กรธุรกิจกำลังเร่งก้าวสู่โปรแกรมการปฏิรูปสู่ดิจิทัลบางอย่างภายในปีนี้ (APJ: 84 เปอร์เซ็นต์) และ 79 เปอร์เซ็นต์ (APJ: 86 เปอร์เซ็นต์)กำลังสร้าง (re-invent) โมเดลทางธุรกิจขึ้นมาใหม่

ดัชนีการปฏิรูปสู่ดิจิทัล หรือ DT Index คือเกณฑ์การเปรียบเทียบมาตรฐาน (benchmark) ระดับโลกในการบ่งชี้สถานภาพของการทำดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชันอรวมถึงการบรรลุผลสำเร็จขององค์กรในทั่วโลก โดยการสำรวจครอบคลุมผู้นำทางธุรกิจ 4,300 ราย (ผู้บริหารระดับสูงในระดับ C-suite ไปจนถึงผู้อำนวยการ) จากองค์กรเอนเทอร์ไพรซ์ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ใน 18 ประเทศ

เส้นเคิร์ฟใหม่ของการปฏิรูปสู่ดิจิทัล

นับตั้งแต่มีดัชนีการปฏิรูปสู่ดิจิทัล หรือ DT Index ครั้งแรกในปี 2016 และครั้งต่อมาคือปี 2018  ผลการศึกษาในปีนี้สามารถติดตามให้เห็นถึงการขยับเพิ่มสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในด้านจำนวนผู้นำด้านดิจิทัล (Digital Leader หรือองค์กรที่มีการเติบโตทางดิจิทัลมากที่สุด) ที่ 6 เปอร์เซ็นต์ (APJ: 6 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งผู้ตอบรับดิจิทัล (Digital Adopter หรือกลุ่มที่มีการเติบโตทางดิจิทัลมากเป็นอันดับสอง) เติบโตขึ้นจาก 23 เปอร์เซ็นต์ (APJ: 23 เปอร์เซ็นต์) ในปี 2018 เป็น 39 เปอร์เซ็นต์ในปี 2020  ซึ่งเป็นอัตราการเพิ่มถึง 16 เปอร์เซ็นต์ (APJ: 39 เปอร์เซ็นต์)

DT Index ยังได้บันทึกการลดลงเล็กน้อยตั้งแต่ปี 2018 ของจำนวนผู้ที่อยู่ในกลุ่ม Digital Laggards (กลุ่มที่มีการเติบโตด้านดิจิทัลน้อยที่สุด) โดยลดลง 6 เปอร์เซ็นต์ (APJ: 6 เปอร์เซ็นต์) และการลดลงอย่างมากในกลุ่มที่สองจนถึงกลุ่มสุดท้าย คือ Digital Followers ซึ่งลดลงถึง 17 เปอร์เซ็นต์ (APJ: 13 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งองค์กรเหล่านี้กำลังขยับขึ้นไปอยู่กลุ่ม Digital Adopter และกลุ่ม Digital Evaluator ซึ่งขยายควบคู่กันมา

“เรามองผ่านไปยังอนาคต และบรรดาองค์กรที่กำลังเร่งปฏิรูปสู่ดิจิทัลในตอนนี้จะอยู่ในดุลภาพที่จะประสบความสำเร็จในยุคข้อมูลที่กำลังจะเปิดเผยสู่สายตาของเรา” ไมเคิล เดลล์ ประธาน และซีอีโอ เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าว

DT Index แสดงแผนภูมิความก้าวหน้าของการปฏิรูปสู่ดิจิทัล โดยแสดงภาพเป็นกราฟ จากจุดหนึ่งของ DT Index ไปยังจุดต่อไป

อุปสรรคในการปฏิรูป

การแพร่ระบาดอาจจะเป็นตัวเร่งการปฏิรูปสู่ดิจิทัลในทั่วโลก แต่การปฏิรูปให้ได้ต่อเนื่องก็นับเป็นความท้าทาย ทั้งนี้ 94 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรต่างๆ (APJ: 94 เปอร์เซ็นต์) กำลังเผชิญกับอุปสรรค์ที่กีดขวางการปฏิรูป สอดคล้องตามข้อมูลจาก DT Index อุปสรรคหลัก 3 ปัจจัยที่กีดขวางความสำเร็จในการปฏิรูปสู่ดิจิทัลมีดังต่อไปนี้

1. ความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลและการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ (เลื่อนขึ้นมา 5 อันดับจากปี 2016)

2. การขาดแคลนด้านงบประมาณและทรัพยากร (อันดับหนึ่งในปี 2016 และอันดับสองในปี 2018)

3. การที่ไม่สามารถดึงมุมมองเชิงลึกออกมาจากข้อมูล และ/หรือ การมีข้อมูลมากเกินไป (กระโดดจากอันดับ 8 ในปี 2016)

การตอบสนองต่อโลกที่ไม่มีความแน่นอน

ก่อนที่จะเกิดการระบาดของโรค การลงทุนด้านธุรกิจยังมุ่งเน้นอย่างจริงจังที่เทคโนโลยีซึ่งเป็นรากฐาน มากกว่าเทคโนโลยีเกิดใหม่ องค์กรส่วนใหญ่ 89 เปอร์เซ็นต์ (APJ: 92 เปอร์เซ็นต์) ต่างตระหนักดีว่าผลลัพธ์จากการหยุดชะงักในปีนี้ ทำให้ต้องมีระบบโครงสร้างไอทีที่ยืดหยุ่นและปรับขยายได้เพื่อรองรับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดคิด ซึ่ง DT Index แสดงให้เห็นถึงการลงทุนด้านเทคโนโลยีหลักภายในหนึ่งถึงสามปีข้างหน้า

1. ไซเบอร์ซิเคียวริตี้

2. เครื่องมือบริหารจัดการข้อมูล

3. ระบบโครงสร้างพื้นฐาน 5G

4. ซอฟต์แวร์ด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว (Privacy software)

5. สภาพแวดล้อมการทำงานแบบมัลติ-คลาวด์

และในประเด็นของการตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีส์เกิดใหม่นั้น 82 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสำรวจมองเห็นว่าน่าจะมีการใช้งาน AR เพิ่มขึ้นเพื่อเรียนรู้วิธีทำหรือซ่อมสิ่งต่างๆ ได้ในทันที โดย 85 เปอร์เซ็นต์คาดการณ์ว่าหลายองค์กรจะมีการนำ AI และโมเดลข้อมูลต่างๆ มาใช้คาดการณ์การหยุดชะงักที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้น และ 78 เปอร์เซ็นต์ คาดการณ์ว่าเทคโนโลยี distributed ledgers หรือการตรวจสอบข้อมูลทางธุรกรรมแบบกระจายศูนย์ เช่น Blockchain จะทำให้ระบบเศรษฐกิจใหม่ (Gig Economy) มีความเป็นธรรมมากขึ้น (ด้วยการตัดตัวกลางออกไป) แม้ว่าจากผลสำรวจครั้งนี้ จะมีเพียง 16 เปอร์เซ็นต์ที่กำลังวางแผนว่าจะลงทุน VR/AR และมีเพียง 32 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ตั้งใจว่าจะลงทุนเรื่อง AI และอีกเกือบ 15 เปอร์เซ็นต์ วางแผนว่าจะลงทุนในเทคโนโลยี distributed ledgers ภายในหนึ่งถึงสามปีข้างหน้า

ระเบียบวิธีวิจัย

ในช่วงเดือนกรกฏาคม และสิงหาคม ปี 2020 เดลล์ เทคโนโลยีส์ ได้ร่วมมือกับ Vanson Bourne บริษัทวิจัยอิสระ ซึ่งเป็นผู้จัดทำสำรวจผู้นำธุรกิจ 4,300 รายจากองค์กรธุรกิจขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ครอบคลุม 18 ประเทศ เพื่อสร้างเกณฑ์มาตรฐานระดับโลกในการระบุสถานภาพในการปฏิรูปของธุรกิจ  โดย Vanson Bourne ได้แบ่งระดับความมุ่งมั่นด้านธุรกิจดิจิทัลขององค์กรธุรกิจด้วยการตรวจสอบกลยุทธ์ไอที ความริเริ่มในการปฏิรูปคนทำงานและประสิทธิภาพที่รับรู้ได้จากคุณสมบัติของการเป็นธุรกิจดิจิทัลในแกนหลักๆ ครั้งนี้นับเป็นการจัดทำดัชนีการปฏิรูปสู่ดิจิทัล หรือ DT Index เป็นครั้งที่ 3 (การศึกษาครั้งแรกเริ่มในปี 2016 ตามมาด้วยการจัดทำ DT Index ครั้งที่สองในปี 2018)

 

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

•  อ่านผลสำรวจฉบับเต็มได้ที่นี่ https://DellTechnologies.com/DTIndex

• รวมถึงลิงก์ ที่ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่าง วิดีโอ รูปภาพ whitepapers และข้อมูลอื่นๆ

• เชื่อมต่อกับเดลล์ได้ทาง Twitter, Facebook, YouTube and LinkedIn

Comments

comments