กรุงเทพฯ, ประเทศไทย – วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 – หนึ่งปีให้หลังจากการเกิดการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของโควิด-19 การชำระเงินในรูปแบบดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของหลายล้านคนทั่วโลก และดูเหมือนว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจะไม่มีทางย้อนกลับไปสู่วิถีเก่า โดยในการศึกษาวิจัยระดับโลกฉบับที่สามเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของวีซ่า ภาคธุรกิจโดยรวมในปี 2564 (Visa Back to Business Study – 2021 Outlook) พบว่าผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมและรายย่อย หรือ SMB (Small and Medium Businesses) ยังคงเดินหน้าปรับตัวเข้าสู่การค้าในรูปแบบดิจิทัลในปีศักราชใหม่นี้ โดยได้เพิ่มความสนใจไปที่ของความปลอดภัยและวิธีป้องกันการทุจริตมากขึ้น และจะได้เห็นเครื่องมือในการชำระเงินใหม่ๆ เพิ่มขึ้นในปีใหม่นี้ เช่น “buy now, pay later” (ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง) และการรับการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ
จากการศึกษาของวีซ่าพบว่า ช่วงสิ้นปี 2563 ที่ผ่านมา 82 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ประกอบการ SMB ยอมรับเทคโนโลยีดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป และในปี 2564 บรรดาผู้ประกอบการเหล่านี้ก็ได้ประเมินต่อไปว่าเทคโนโลยีด้านการชำระอะไรที่สำคัญและตรงกับความคาดหวังของผู้บริโภคในปัจจุบัน จากการสำรวจพบว่า ซอฟท์แวร์ด้านความปลอดภัยและป้องกันการโจรกรรมได้รับความสนใจมากที่สุด (47 เปอร์เซ็นต์) รองลงมาคือการรับชำระเงินจากบัตรคอนแทคเลสหรือการจ่ายผ่านโทรศัพท์มือถือ (44 เปอร์เซ็นต์) การรับการชำระเงินด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ (41 เปอร์เซ็นต์) การแบ่งชำระเป็นงวดๆ หรือ “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” (36 เปอร์เซ็นต์) และระบบปฏิบัติการหลังบ้านของการชำระเงินแบบดิจิทัล (31 เปอร์เซ็นต์)
สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่าประจำประเทศไทย กล่าวว่า “จากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา ทำให้เห็นชัดว่า การชำระเงินในรูปแบบดิจิทัลที่ได้รับการตอบรับอย่างก้าวกระโดดคือเทคโนโลยีคอนแทคเลส และ อีคอมเมิร์ซ โดยทั้งสองเกิดจากความจำเป็น และผู้บริโภคต่างเปิดรับเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เข้ากับพฤติกรรมอย่างรวดเร็ว ปี 2563 เป็นปีของคอนแทคเลส และ อีคอมเมิร์ซอย่างแท้จริง นอกจากนั้นผลการศึกษาโดยวีซ่ายังบอกให้เรารู้ได้อีกว่าในปี 2564 เทคโนโลยีที่ผู้ประกอบการ SMB จะให้ความสนใจมากขึ้นก็คือ ความปลอดภัยและการป้องกันการโจรกรรม รวมถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อช่วยต่อยอดการทำธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น”
จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่าสองสิ่งที่สอดคล้องกันในทุกตลาดทั่วโลกคือ การที่ธุรกิจต่างยอมเปิดรับเทคโนโลยีการชำระเงินรูปแบบใหม่ ๆ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การศึกษาในประเทศบราซิล แคนาดา เยอรมนี ฮ่องกง ไอร์แลนด์ รัสเซีย สิงคโปร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) และสหรัฐอเมริกา ได้หยิบยกประเด็นที่สำคัญอันเป็นผลกระทบในปี 2563 และสิ่งที่คาดการณ์ในปี 2564 มานำเสนอไว้ดังนี้
แนวทางในการฟื้นฟูกิจการสำหรับผู้ประกอบการ SMB ในปี 2564
- การชำระเงินแบบคอนแทคเลสคือพระเอกตัวจริงและคาดว่าจะอยู่ยาว: การเพิ่มขึ้นของการชำระเงินแบบคอนแทคเลสทั่วโลกในปี 2563 ที่ถูกผลักดันจากการที่ผู้บริโภคต้องการวิธีการชำระเงินที่ปลอดภัยกว่าท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดลงแต่อย่างใดในศักราชใหม่นี้ ที่จริงแล้วในเดือนมิถุนายน 2563 มีเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ ของกลุ่มตัวอย่างจากผู้ประกอบการ SMB ที่ได้นำเสนอช่องทางการชำระเงินในรูปแบบคอนแทคเลสเป็นครั้งแรก แต่ในปัจจุบันกว่า 39 เปอร์เซ็นต์บอกว่าพวกเขาได้เริ่มรับการชำระเงินในรูปแบบคอนแทคเลส โดยเกือบสามในสี่ (74 เปอร์เซ็นต์) ของกลุ่มตัวอย่างคาดว่าผู้บริโภคจะยังคงเลือกวิธีการชำระเงินในรูปแบบคอนแทคเลสต่อไปแม้ว่าประชากรจะได้รับวัคซีนแล้วก็ตาม
- ลูกค้าอยู่ที่ไหน เจ้าของกิจการต้องตามไปที่นั่น: ผู้ประกอบการ SMB ต่างพยายามมากขึ้นที่จะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าซึ่งก็คือบนโลกออนไลน์ โดย 82 เปอร์เซ็นต์ ของเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กทั่วโลกได้ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจเพื่อตอบโจทย์ความต้องการในการชำระเงินรูปแบบดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 67 เปอร์เซ็นต์ในช่วงหน้าร้อนของปี 2563 ที่ผ่านมา
- การรับมือกับการโจรกรรม: เจ้าของกิจการที่คุ้นชินกับเทคโนโลยี (52 เปอร์เซ็นต์) จะลงทุนในด้านการรักษาความปลอดภัยและการป้องกันการโจรกรรมมากกว่าเจ้าของกิจการที่ไม่ค่อยสนใจด้านเทคโนโลยี (39 เปอร์เซ็นต์) การเพิ่มแนวทางเพื่อรับมือกับการโจรกรรมนั้นอาจเป็นจุดขายที่สร้างความแตกต่างในธุรกิจในปี 2564 นี้หลังการค้าบนโลกออนไลน์ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง กระนั้นก็ตามการโจรกรรมบนโลกออนไลน์ทั่วโลกยังอยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ที่ประมาณ 0.007 เหรียญสหรัฐต่อทุก ๆ 1.00 เหรียญสหรัฐ
ศักราชใหม่มาพร้อมวิถีชีวิตแบบใหม่ของผู้บริโภค
- ผู้บริโภคต้องการ “แตะเพื่อจ่าย”: เพียงชั่วข้ามคืน ผู้บริโภคต่างก็ยกให้เรื่องการป้องกันโควิด-19 มาเป็นประเด็นสำคัญลำดับต้น ๆ ในการจับจ่ายใช้สอย จนนำไปสู่การค้าในรูปแบบ “แตะเพื่อจ่าย” โดยสองในสาม (65 เปอร์เซ็นต์) ของกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคเลือกที่จะชำระเงินในรูปแบบคอนแทคเลสมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มีเพียง 16 เปอร์เซ็นต์ที่บอกว่าพวกเขาน่าจะกลับไปใช้วิธีการชำระเงินแบบเดิมภายหลังสถานการณ์โรคระบาดครั้งนี้สงบลง
- ความปลอดภัยมาก่อนการช้อปปิ้ง: ทั่วโลกกำลังรณรงค์เรื่องการสวมใส่หน้ากากในที่สาธารณะ ในขณะเดียวกันผู้บริโภคเองยังต้องการช่องทางการชำระเงินในรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่การใช้เงินสด เซ็นต์สลิป และกดแป้นตัวเลขบนเครื่องรับชำระเงิน โดย 47 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคกล่าวว่าพวกเขาจะไม่ซื้อของในร้านค้าที่ไม่รับการชำระเงินในรูปแบบคอนแทคเลส
- บัตรชำระเงินต้องสะอาด: การทำความสะอาดบัตรยังคงเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคโควิด-19 มีมากกว่าสามในห้า (62 เปอร์เซ็นต์) ที่ดูแลรักษาความสะอาดให้บัตรเครดิตของพวกเขา และมากถึง 31 เปอร์เซ็นต์ที่เลือกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับฆ่าเชื้อโรคในการทำความสะอาดบัตรของพวกเขาด้วยเช่นกัน
ข้อมูลเชิงลึกระดับภูมิภาค: การรุกเข้าหาผู้บริโภค
- ปรับสู่ยุคใหม่เมื่อดิจิทัลต้องมาก่อน: เกือบทั้งหมดของผู้ประกอบการ SMB ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (97 เปอร์เซ็นต์) และฮ่องกง (96 เปอร์เซ็นต์) ปรับวิธีการดำเนินธุรกิจของพวกเขาในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 82 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในเดือนมิถุนายน มีเพียงสองในห้าของผู้ประกอบการ SMB ในฮ่องกง (40 เปอร์เซ็นต์) ที่ขายสินค้าและบริการบนช่องทางออนไลน์ ในขณะที่ปัจจุบันเกือบสามในห้า (57 เปอร์เซ็นต์) หันมาขายสินค้าบนช่องทางออนไลน์มากขึ้น เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 43 เปอร์เซ็นต์
- ผู้บริโภคเลือกช้อปแบบดิจิทัล และให้ความสำคัญกับเรื่องของความปลอดภัย: 82 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคทั่วโลกเพิ่มความรอบคอบมากขึ้นเพื่อป้องกันการโจรกรรม โดยเฉพาะในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่มีมากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ผู้บริโภคเกือบทั้งหมดในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (96 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 62 เปอร์เซ็นต์จากทั่วโลก) ยังให้ความใส่ใจในเรื่องความสะอาดบนบัตรของพวกเขา
“วีซ่า ในฐานะที่เป็นหนึ่งในฟันเฟืองการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลก เรามุ่งมั่นนำเสนอเทคโนโลยีและข้อมูลความรู้ใหม่ๆ ที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้านดิจิทัลให้กับผู้ประกอบการ SMB นับล้านทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย เราเชื่อว่าผลการศึกษาฉบับนี้จะช่วยให้ภาคธุรกิจของคนไทยไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่ สามารถจุดประกายความคิด มีการนำไปปรับใช้ และสร้างความเติบโตให้กับกิจการในยุคนิวนอร์มัล รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยผลักดันให้ประเทศไทยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม” คุณสุริพงษ์ กล่าวสรุป
ระเบียบวิธีวิจัย: การศึกษาวิจัยระดับโลกฉบับที่สามเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของวีซ่า ภาคธุรกิจโดยรวมในปี 2564
การศึกษาการฟื้นฟูกิจการของวีซ่าจัดทำขึ้นโดย Wakefield Research ระหว่างวันที่ 13 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเจ้าของกิจการขนาดเล็กจำนวน 250 แห่งที่มีพนักงาน 100 คน หรือน้อยกว่าในประเทศบราซิล แคนาดา เยอรมนี ฮ่องกง ไอร์แลนด์ รัสเซีย สิงคโปร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้สัดส่วนกลุ่มผู้บริโภคจากการทำการวิจัยฉบับนี้ดำเนินการโดย Wakefield Research ระหว่างวันที่ 13 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 ในกลุ่มผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้วจำนวน 1,000 คน ในสหรัฐอเมริกา และ 500 คน ในบราซิล แคนาดา เยอรมนี ฮ่องกง ไอร์แลนด์ รัสเซีย สิงคโปร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยข้อมูลได้ถูกประเมินเพื่อตรวจสอบความแม่นยำแล้วว่าสามารถเป็นตัวแทนประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปในแต่ละประเทศได้
เกี่ยวกับวีซ่า
Visa Inc. (NYSE:V) เป็นผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิตอลระดับโลก ภารกิจของเราคือการเชื่อมโยงโลกผ่านเครือข่ายนวัตกรรมการชำระเงินที่เชื่อถือได้และมีความปลอดภัยสูงสุด เพื่อช่วยให้ผู้บริโภค ธุรกิจ และเศรษฐกิจทั่วโลกเติบโตต่อไป นอกจากนี้เครือข่ายประมวลผลที่ทันสมัยและเชื่อถือได้ทั่วโลกของเราอย่าง VisaNet (วีซ่าเน็ต) มีหน้าที่ในการช่วยให้บริการการชำระเงินนั้นปลอดภัยที่สุด และยังมีศักยภาพในการจัดการธุรกรรมมากกว่า 65,000 รายการต่อวินาที เรามุ่งมั่นในการนำเสนอนวัตกรรมที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการค้าขาย การเชื่อมต่อผ่านเทคโนโลยี และยังทุ่มเทเพื่อให้เกิดการพัฒนาสู่สังคมไร้เงินสดสำหรับทุกคนในทุกสถานที่ โดยในขณะที่โลกเรากำลังพัฒนาสู่ระบบดิจิตัลอย่างเต็มรูปแบบ วีซ่าได้ใช้แบรนด์ ผลิตภัณฑ์ กำลังคน และเครือข่ายทั่วโลกของเรา เพื่อเป็นแรงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนโฉมของโลกการค้าในอนาคต รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ About Visa visacorporate.tumblr.com และ @VisaNews