ไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันในการจัดการพลังงาน และระบบออโตเมชัน มุ่งมั่นช่วยองค์กรธุรกิจปรับสู่ระบบดิจิทัลและตอบโจทย์ความท้าทายในเรื่องความล่าช้า ความปลอดภัย ค่าใช้จ่าย การมอนิเตอร์และการควบคุมดูแล ด้วยเทคโนโลยีไอทีภายใต้โซลูชันดาต้าเซ็นเตอร์ และเอดจ์คอมพิวติ้ง เพื่อรองรับจำนวนข้อมูลที่เกิดขึ้นมหาศาลจากเซ็นเซอร์และผู้ใช้งานปลายทาง จากการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจสู่ดิจิทัลในอุตสาหกรรมต่างๆ

ศูนย์ข้อมูลเป็นหัวใจสำคัญของการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล หากไม่มีศูนย์ข้อมูล คลาวด์ และโคโลเคชัน การทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล หรือการใช้งาน IoT ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ง่าย ยิ่งในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตและการทำงาน โดยมีการพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น นับเป็นการเร่งสู่ยุคดิจิทัลอย่างรวดเร็ว การใช้ดิจิทัลกลายเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน เช่นการทำงานอยู่กับบ้าน ประชุมทางไกลผ่านแอปพลิเคชันหรือแฟลตฟอร์มต่างๆ  ทุกคนสามารถรีโมทควบคุมกระบวนการทำงานที่ไซต์งานจากที่บ้านผ่านอุปกรณ์ไอทีต่างๆ  การช้อปปิ้งออนไลน์ การสั่งอาหารออนไลน์ ชมซีรี่ย์-ภาพยนตร์ออนไลน์ กิจกรรมเหล่านี้ล้วนมีขุมพลังที่ขับเคลื่อนอยู่ข้างหลังเพื่อให้เราสามารถทำกิจกรรมได้อย่างราบรื่น นั่นหมายถึงดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ

ทุกวันนี้ สิ่งสำคัญที่จะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลข้อมูลมหาศาลจากปลายทาง หรือจุดที่มีการเกิดขึ้นของข้อมูลมากที่สุด เพื่อลดความล่าช้า (latency) ที่เกิดขึ้นหากต้องอาศัยการประมวลผลข้อมูลจากดาต้าเซ็นเตอร์เพียงแห่งเดียว นั่นคือเอดจ์คอมพิวติ้ง ยิ่งการเกิดขึ้นของบริการ 5G ยิ่งช่วยเสริมศักยภาพและโอกาสให้กับหลายอุตสาหกรรมได้ใช้ประโยชน์จากระบบอัตโนมัติมากขึ้น จากระดับเอ็นเตอร์ ไพรส์ สู่ระบบการขนส่ง และภาคอุตสาหกรรมการผลิต อย่างไรก็ตามด้วยความต้องการปริมาณงานที่สูงขึ้น และการเพิ่มขึ้นของข้อมูลที่รวดเร็ว ผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีจึงเริ่มปรับใช้ไอทีแบบกระจายศูนย์ที่มีไซต์งานเอดจ์คอมพิวติ้งหลากหลายไซต์ ซึ่งโดยปกติมักจะไม่ค่อยมีเจ้าหน้าที่ประจำไซต์ จึงมีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อป้องกันการเกิดดาวน์ไทม์ อย่างเช่น การเสริมการป้องกันด้วยระบบสำรองไฟฟ้าที่ช่วยให้มั่นใจได้ว่าระบบงานจะไม่ล้มเหลวเมื่อจำเป็นต้องใช้งาน

IDC ได้คาดการณ์ไว้ว่าจะมีข้อมูลถึง 79 เซตต้าไบต์ ที่มาจากอุปกรณ์ IoT จำนวน 1 พันล้านเครื่องภายในปี 2025 นอกจากนี้ มีรายงานของ Tech Research Asia (TRA) เกี่ยวกับเอดจ์คอมพิวติ้งในเอเชียแปซิฟิก ในเดือนธันวาคม 2563 ซึ่งจัดทำขึ้นโดย ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ครอบคลุมถึงมุมมองเชิงลึกจากซีไอโอ 15 ราย และผู้นำด้านเทคโนโลยีจำนวน 1,100 รายจากอุตสาหกรรมหลากหลายในเอเชียแปซิฟิกในปัจจุบัน เกี่ยวกับสภาพไอที การใช้งานเอดจ์คอมพิวติ้ง การสำรวจประกอบด้วยการวิจัยในแนวกว้างอย่างครอบคลุมและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ตอบสำรวจครอบคลุมอุตสาหกรรมที่หลากหลาย โดยผู้ตอบสำรวจมาจากประเทศต่างๆ ทั่วเอเชียแปซิฟิก ไม่ว่าจะเป็น ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียตนาม เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และประเทศไทย

ตามรายงานพบว่า ผู้ที่นำเอดจ์คอมพิวติ้งมาใช้เป็นรายแรกๆ ในเอเชียแปซิฟิก จะเห็นว่ามีค่าใช้จ่ายลดลงทั้งด้านไอทีและการดำเนินงานซึ่งเป็นผลจากการปรับปรุงการดำเนินงานทั่วธุรกิจได้ดีขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 5-10 เปอร์เซ็นต์ โดย 72 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบสำรวจที่ใช้เอดจ์คอมพิวติ้ง เห็นถึงประโยชน์ของการลดค่าใช้จ่ายด้านไอที ตามด้วยค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินการ (46 เปอร์เซ็นต์) และเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า (34 เปอร์เซ็นต์)  ในแง่ของอุตสาหกรรมที่มีอัตราการนำมาใช้งานสูงสุด คือภาคการศึกษาที่มาเป็นอันดับต้นโดย 68 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรที่ร่วมการสำรวจมีการนำเอดจ์มาใช้ ทั้งนี้ องค์ประกอบอย่างการระบาดที่เกิดขึ้นทั่วโลกและโมเดลการเรียนรู้แบบใหม่ทำให้การประสานความร่วมมือและการแบ่งปันทรัพยากรระหว่างสถาบันกลายเป็นเรื่องปกติมากขึ้น

นายแอบเบย์ แอนิล โกสานการ์ รองประธานกลุ่ม Secure Power ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ดูแลกลุ่มประเทศไทย ลาว และเมียนมา กล่าวว่า “การเติบโตจากการใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์ไอทีและเอดจ์คอมพิวติ้งมีการเติบโตสูงมาก รวมถึงประโยชน์ที่เห็นได้ชัด จะเห็นได้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีด้านเอดจ์คอมพิวติ้งจากชไนเดอร์ อิเล็คทริค มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้องค์กรทรานฟอร์มสู่ยุค 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรามีโซลูชันรองรับการใช้งานทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่ช่วยให้ความยืดหยุ่นในการใช้งานทั้งหมดสอดประสานการทำงานกับฮาร์ดแวร์ของเรา หรือ Connecting Product ได้อย่างเป็นหนึ่งเดียว ทั้งการมอนิเตอร์ และการควบคุมระยะไกล ระบบรักษาความปลอดภัย เราสามารถดูแลประสิทธิภาพของโซลูชันเอดจ์ได้โดยไม่ต้องเข้าไปที่ไซต์งาน แม้ว่าลูกค้าจะใช้ผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตรายอื่นผสมผสานกันก็ตาม และนี่คือศักยภาพที่เราเรียกภายใต้โครงสร้างสถาปัตยกรรมนี้ว่า EcoStruxure”

นายแอบเบย์ เสริมต่อว่า “เพื่อประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าและความปลอดภัยที่มากขึ้น วันนี้ เราได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ของเรา ซึ่งนับเป็นผลิตภัณฑ์ที่เข้ามาช่วยเสริมความแข็งแกร่ง และลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาในอนาคต ด้วยประสิทธิภาพที่รองรับการใช้งานยุค 4.0 ได้อย่างครอบคลุม”

EcoStruxure™ Micro Data Center C Series ตู้แร็คสำหรับการใช้งานแบบเอดจ์ขนาดใหม่ ให้ความจุถึง 43U โดดเด่นด้วยความจุสูงสุดในสายไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค เหมาะสำหรับตลาดคอมเมอร์เชียลและสำนักงาน โดยมาพร้อมเทคโนโลยีทำความเย็นอัจฉริยะเพื่อการปกป้องที่เหนือชั้นและให้ประสิทธิภาพด้านพลังงานที่ดียิ่งขึ้น โดย C-Series รุ่นใหม่ ขนาด 43U เป็นโซลูชันเดียวในตลาดที่สลับโหมดทำความเย็นได้โดยอัตโนมัติใน 3 โหมด ตามความต้องการใช้งานระบบได้แบบเรียลไทม์ โดยช่วยให้ลูกค้าประยุกต์ใช้ไอทีในสภาพแวดล้อมเอดจ์คอมพิวติ้ง หรือคอมเมอร์เชียลได้ง่าย ปลอดภัย และให้ความเสถียร โดยเป็นโซลูชันที่มีขนาดใหญ่สุด เป็นโมเดลที่ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ไม่จำเป็นต้องสร้างห้องไอที ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุนถึง 48 เปอร์เซ็นต์ ใช้เวลาน้อยลง 20 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้ใช้ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านวิศวกรรมได้ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ และช่วยลดค่าซ่อมบำรุงได้ 7 เปอร์เซ็นต์

 

Galaxy VL ขนาด 200-500 kW (400V/480V) ยูพีเอส ระบบไฟ 3 เฟส รุ่นล่าสุดในตระกูล Galaxy ที่มาในรูปโฉมขนาดกะทัดรัด ประสิทธิภาพสูง พร้อมวางจำหน่ายทั่วโลกแล้ว โดยให้ประสิทธิภาพในโหมด ECOnversion™ สูงถึง 99 เปอร์เซ็นต์ ช่วยให้คืนทุนได้ภายใน 2 ปี (ขึ้นอยู่กับรุ่น) มาพร้อม Live Swap นับเป็นการบุกเบิกฟีเจอร์ที่เป็นดีไซน์แบบ touch-safe ออกแบบมาเพื่อให้ความปลอดภัยตลอดกระบวนการในเวลาที่ต้องสัมผัส เพื่อใส่เพิ่มหรือเปลี่ยนโมดูลพลังงานในขณะที่ยูพีเอสกำลังออนไลน์และกำลังทำงานอย่างเต็มรูปแบบ ช่วยยกระดับความสามารถในการดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง และไม่เกิดดาวน์ไทม์ นอกจากนี้ การออกแบบที่ให้การสัมผัสที่ปลอดภัยแบบ Live Swap ยังช่วยเพิ่มการปกป้องให้กับเจ้าหน้าที่โดยไม่ต้องถ่ายโอนยูพีเอสเพื่อนำไปซ่อมบำรุง (Maintenance Bypass) หรือในการทำงานของแบตเตอรี่ ระหว่างการใส่หรือนำโมดูลพลังงานออกไป เหมาะสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมหรืออาคารพาณิชย์

“ชไนเดอร์ อิเล็คทริค มุ่งมั่นในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้องค์กรและธุรกิจสามารถขับเคลื่อนธุรกิจในยุคดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์ ภายใต้แพลตฟอร์มที่เราเรียกว่า EcoStruxure ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มด้าน IoT แบบระบบเปิด สามารถใช้งานร่วมกับผู้ผลิตรายอื่นที่ไม่ใช่ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ เรามีโซลูชันที่มีความแตกต่างตามการใช้งานของแต่ละธุรกิจทั้งสำหรับบ้าน อาคาร ดาต้าเซ็นเตอร์ เครื่องจักร โรงงาน โครงข่ายไฟฟ้า ซึ่งในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นธุรกิจใด คงปฏิเสธไม่ได้ว่ามีระบบไอที หรือเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นหัวใจของความสำเร็จอยู่เบื้องหลังในทุกธุรกิจ ตั้งแต่ธุรกิจรายเล็กระดับหลักหมื่นไปจนถึงธุรกิจระดับแสนล้าน แม้แต่ผู้บริโภคเองยังคงมีระบบไอทีที่แข็งแกร่งคอยสนับสนุนการใช้สมาร์ทโฟน และนี่เป็นเจตนารมณ์ของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ที่เราเรียกว่า Life is On” นายแอบเบย์ กล่าวทิ้งท้าย

 

Tag : EcoStruxure, Life Is On, Schneider Electric

Comments

comments