การทำงานอย่างต่อเนื่องภายใต้ความท้าทายในสถานการณ์ปัจจุบันของ AIS ต่อการนำศักยภาพของเทคโนโลยี 5G เข้าเสริมประสิทธิภาพการทำงานของภาคอุตสาหกรรมยังคงเป็นไปตามแผนงานหลัก เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงภาคการผลิตของประเทศให้มีความสามารถทัดเทียมกับนานาชาติด้วยเทคโนโลยีโซลูชั่นสมัยใหม่ โดยล่าสุดได้ ลงนาม (MoU) ระหว่าง บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด พร้อมแล้วที่จะมาร่วมกันเปลี่ยนโฉมหน้าของภาคอุตสาหกรรมไทยด้วยเทคโนโลยีแบบ Total Industrial Solution ที่ใช้งานได้จริงในภาคการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภทบนศักยภาพของ AIS 5G

 

นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS กล่าวว่าหัวใจสำคัญของการขยายศักยภาพ 5G สู่ภาคอุตสาหกรรมนอกเหนือจากความแข็งแกร่งของการมีเครือข่ายที่พร้อมใช้งานแล้วการมีพันธมิตรทางธุรกิจที่พร้อมเดินหน้าพลิกโฉมการเปลี่ยนแปลงของโรงงานให้มีศักยภาพสอดรับกับโลกยุคใหม่ก็เป็นแนวทางสำคัญที่ AIS ยึดถือมาโดยตลอด โดยเฉพาะความร่วมมือกับ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น ซึ่งเป็นพันธมิตรในการนำโซลูชั่น Smart Manufacturing ไปใช้งานบนเครือข่าย 5G พัฒนาการทำงานในโรงงาน บริษัท เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกันในช่วงต้นปีที่ผ่านมา

ครั้งนี้ก็เป็นอีกก้าวสำคัญที่เราจะยกเอาต้นแบบที่ได้พัฒนามาตลอดในช่วงที่ผ่านมา สู่การใช้งานจริง ผ่านความร่วมมือกับ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น  ที่มีความแข็งแรงในด้านสายการผลิตของโรงงานในประเทศไทย และ ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น ผู้จำหน่ายสินค้าและดำเนินการใช้งานระบบควบคุมการผลิตอัตโนมัติในโรงงานชั้นนำ ที่จะมาร่วมกันนำเสนอโซลูชั่น e-F@ctory ที่พร้อมให้บริการและยกระดับภาคการผลิตด้วย Smart Manufacturing ที่ใช้งานจริงบนเครือข่าย AIS 5G ที่จะมาเสริมประสิทธิภาพการทำงานภายในภาคการผลิตได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งการเพิ่มคุณภาพ ลดต้นทุนการผลิต และตอบรับความต้องการการใช้งานในรูปแบบเครือข่ายเฉพาะ (Private Network) อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูล ความเร็ว ลดความหน่วง เพื่อการรองรับการทำงาน IoT ได้อย่างเต็มรูปแบบ

สำหรับความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นการยกระดับขีดความสามารถให้กับภาคอุตสาหกรรมบนโครงข่าย 5G ที่มีศักยภาพดีที่สุดในประเทศไทย ผสมผสานกับความเป็นผู้นำด้าน Factory Automation ของMitsubishi Electric และความเชี่ยวชาญในการจำหน่ายและดำเนินการใช้งานสินค้าในระบบควบคุมการผลิตอัตโนมัติในโรงงาน ของ TKK โดยนอกเหนือจากโซลูชั่น Factory Automation ที่เป็นพื้นฐานแล้ว โซลูชั่นที่ตอบสนองการทำงานที่แตกต่าง และเหมาะกับสถานการณ์ COVID-19 ที่การทำงานแบบระยะไกลมีความสำคัญมากขึ้น ก็ต้องการ Network 5G ที่เป็น Network ไร้สายที่มีศักยภาพและมีความเสถียร อาทิ

Remote Monitoringจะช่วยให้ ผู้บริหาร, หัวหน้างาน หรือ ผู้ดูแลเครื่องจักร สามารถตรวจสอบสถานะการผลิต สถานะเครื่องหรือ ประสิทธิภาพการผลิต ได้จากทุกที่ ทำให้สามารถบริหารจัดการการผลิตในภาพรวมได้ชัดเจน และยังมองเห็นปัญหาในภาพรวมเพื่อแก้ไขต่อไป

Remote Maintenanceสามารถลดระยะเวลาการเข้าหน้างานไปซ่อมบำรุงรักษา หรือตรวจสอบการทำงานเครื่องจักร และสามารถทำงานจากที่บ้านได้ ทำให้ลดต้นทุนค่าเสียโอกาส ที่สายการผลิตจะต้องหยุดลง

Remote Developmentจะเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาพรวมในการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ภายในโรงงาน ทำให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง และจากที่ไหนก็ได้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประสานงานระหว่างแผนก

Close-up robot arm. Engineer is working on laptop to programming smart factory automation and automated car on production line. Industry 4.0 concept; artificial intelligence in smart factory.

 

Remote Serviceบริการให้คำปรึกษาแบบทางไกลได้ทันทีผ่าน Mobile Network จากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคของ Mitsubishi และ Partners เมื่อเครื่องจักรมีปัญหาสามารถ เข้าแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้จากระยะไกลได้อย่างรวดเร็ว

 

นายวิเชียร งามสุขเกษมศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น(ประเทศไทย) จำกัด อธิบายต่อไปอีกว่าประเทศไทยนับว่าเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลกมาอย่างยาวนาน ทำให้วันนี้ถึงเวลาที่ต้องนำเทคโนโลยีโซลูชั่นใหม่ๆ เข้ามาเสริมศักยภาพเพื่อรักษาตำแหน่งนี้ไว้สำหรับ Mitsubishi Electric เราให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาโดยตลอด โดยวันนี้เราร่วมพัฒนาโซลูชั่นและนำไปใช้งานจริงแล้วมากกว่า 10,000 โซลูชั่นทั่วโลก ซึ่งเราเรียกว่า e-F@ctory และความร่วมมือครั้งนี้ก็ทำให้การใช้งานจริงเกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อตอบสนองความต้องการภาคอุตสาหกรรม เชื่อมต่อข้อมูลทุกระดับด้วยอุปกรณ์ IoT ทั้งหมด ทำให้เกิดประโยชน์กับการทำงานในทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นการลดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพโรงงานและสนับสนุนระบบการผลิตในอนาคตทั้งกระบวนการผลิต

ทางด้าน นางกัลยาณี คงสมจิตร ประธานบริหาร บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวเสริมว่าจากความเชี่ยวชาญในเรื่องของการเป็นผู้นำด้านผู้จัดจำหน่ายสินค้าในระบบควบคุมการผลิตอัตโนมัติในโรงงานและประสบการณ์ในวงการอุตสาหกรรมอย่างยาวนาน ผนวกกับความร่วมมือของ AIS และ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค ในครั้งนี้ เราเชื่อมั่นว่าจะสามารถส่งมอบมอบโซลูชั่นให้กับโรงงานในภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความพร้อมของเราและพันธมิตรโดยมีเป้าหมายร่วมกันคือยกระดับภาคอุตสาหกรรมของไทยให้ก้าวไปอีกขั้น ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ายกระดับการทำงาน เข้าใจปัญหาและตอบโจทย์ความต้องการอย่างแท้จริง

นายธนพงษ์ กล่าวในตอนท้ายว่าความมุ่งมั่น ตั้งใจของเราและพันธมิตรในครั้งนี้ ต้องการสร้างความร่วมมือแบบ End-to-End เพื่อพัฒนาโซลูชั่นสำหรับอุตสาหกรรม และตอกย้ำเป้าหมายร่วมกันที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลกต่อไป ด้วยความโดดเด่นของการนำเทคโนโลยี ระบบการทำงาน และโครงข่ายอัจฉริยะเข้ามาเสริมศักยภาพการทำงาน  ที่ไม่ใช่เพียงแค่ต้นแบบของการพัฒนาแต่วันนี้เราพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงและปฏิวัติภาคอุตสาหกรรมให้มีความสามารถทัดเทียมกับโรงงานภาคการผลิตชั้นนำด้วยโซลูชั่น สินค้า และบริการที่ใช้งานได้จริง

สำหรับภาคการผลิต หรือโรงงานอุตสาหกรรมที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียกการให้บริการได้ที่ https://business.ais.co.th/

Comments

comments