1. โนเกีย กำหนดให้ความปลอดภัยเครือข่ายเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานการรับรอง 5G ขององค์กร

โนเกีย ได้ประกาศเกี่ยวกับคอร์สอบรมและการรับรองมาตรฐานระดับวิชาชีพ 5G ใหม่ที่มุ่งเน้นในด้านความปลอดภัยเครือข่าย โดยคอร์สอบรม Nokia Bell Labs 5G Secured Networks นี้เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการฝึกอบรมและการรับรองด้านวิชาชีพในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี 5G ที่ครอบคลุมตั้งแต่การเข้าถึงเครือข่ายจนถึงการบริหารจัดการแอปพลิเคชัน

คอร์สอบรม Nokia Bell Labs 5G Secured Networks ที่ออกใหม่นี้ช่วยจัดการกับความเปราะบางในเรื่องความปลอดภัยที่องค์กรต่าง ๆ ทั้งภาคอุตสาหกรรม รัฐบาล และผู้ใช้ส่วนบุคคลต้องเผชิญเพื่อป้องกันระบบ 5G เพื่อรับกับการที่ 5G กำลังจะกลายมาเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญของโซลูชั่นในภาวะวิกฤตของอุตสาหกรรม 4.0 ที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งเครือข่าย 5G ที่ทำให้มีความปลอดภัยได้ยกฐานะขึ้นเป็นเรื่องสำคัญลำดับต้น ๆ ของอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับโซลูชันให้บริการแบบครบวงจรเบ็ดเสร็จ

 

 

2. เวลาสามสิบปี พัฒนานวัตกรรมเปลี่ยนโฉมหน้าให้การสื่อสาร

เป็กก้า ลุนด์มาร์ก ประธานและซีอีโอของโนเกีย แบ่งปันประสบการณ์ที่ได้ร่วมงานกับโนเกียมาเป็นเวลากว่า 30 ปี ที่บริษัทได้มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมการสื่อสารท่ามกลางวิวัฒนาการรุ่นแล้วรุ่นเล่าของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ นับจากยุคสัญญาณคลื่นเสียงและข้อมูลดิจิทัล 2G สู่ยุคของ 5G ที่เป็นการพลิกโฉมภาคอุตสาหกรรมผ่านองค์กรธุรกิจดิจิทัลแบบเชื่อมต่อ

 

 

3. สร้างสรรค์สิ่งที่ดีกว่า: ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลของอุตสาหกรรม 4.0

คริส จอร์นสัน หัวหน้าส่วนงานธุรกิจทั่วโลกของโนเกีย อธิบายให้เห็นถึงการรับมือของโนเกียและการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ที่ได้กระตุ้นวิวัฒนาการใหม่ให้กับองค์ประกอบที่สำคัญที่อยู่เบื้องหลังการสร้างภารกิจ เป็นเครือข่ายที่มีความสำคัญในด้านธุรกิจและสังคมเพื่อนำพาโลกไปสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 อันประกอบไปด้วย การทำให้เป็นดิจิทัล ความยั่งยืน และการสร้างหรือนำเสนอสิ่งใหม่ ๆ

 

 

4. โนเกีย พิชิตหลักชัย 5G ในออสเตรเลียร่วมกับ TPG Telecom

เมื่อเดือนกรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา โนเกีย และ TPG Telecom ประกาศความสำเร็จในการเปิดให้บริการเครือข่าย 5G แบบ Standalone (SA) บนย่านความถี่ขนาด 700 เมกะเฮิรตซ์ เป็นครั้งแรกของโลกที่ประเทศออสเตรเลีย โดยคลื่นสัญญาณ 5G ความถี่ต่ำขนาด 700 เมกะเฮิรตซ์นับเป็นคลื่นความถี่ 5G ที่ต่ำที่สุดที่มีการใช้งานในประเทศออสเตรเลียที่ครอบคลุมช่วงสัญญาณกว้างที่สุดนี้ ช่วยให้ TPG Telecom สามารถให้บริการ 5G ทั้งนอกอาคารและในอาคารแก่ลูกค้าได้อย่างครอบคลุม ทั้งในตัวเมืองและพื้นที่ชนบท

หลังจากนั้นไม่นานโนเกีย และ TPG Telecom ได้ประกาศการใช้งาน 5G Interleaved Passive Active Antenna (IPAA)เจเนอเรชั่นล่าสุดของโนเกียเป็นครั้งแรกในโลก ณ ที่ทำการของ TPG Telecom ในเมืองบริสเบน ในเดือนสิงหาคม 2564 ต่อเนื่องจากความสำเร็จในการแนะนำโซลูชัน IPAA ให้กับเครือข่ายของโนเกียทั่วโลก โดยโซลูชัน IPAA รุ่น Twin Beam ของโนเกียช่วยเพิ่มขีดความสามารถของ 5G และความจุที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากให้กับบริการ 3G, 4G และ 5G ที่มีการใช้งานอยู่ในคลื่นความถี่ระดับกลางผ่านเทคโนโลยีเสาอากาศที่ล้ำสมัย

 

 

5. โนเกีย และ Indosat Ooredoo เปิดให้บริการเครือข่าย 5G ในอินโดนีเซีย

โนเกีย และ Indosat Ooredoo ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารของอินโดนีเซีย ประกาศเปิดให้บริการ 5G เพื่อการพาณิชย์ในเมืองซูราบายา ของอินโดนีเซีย พร้อมกันนี้ โนเกีย โดยความร่วมมือกับ Indosat Ooredoo สถาบัน Sepuluh Nopember Institute of Technology (ITS) และ University of Oulu ประเทศฟินแลนด์ ได้เปิดศูนย์สร้างเสริมประสบการณ์แห่งใหม่ (Nokia 5G Experience Center) ขึ้นที่สถาบัน ITS ซึ่งศูนย์ฯ แห่งนี้จะให้บริการทางการศึกษา การพัฒนา และการทดสอบสมรรถภาพการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับ 5G อันจะเพิ่มศักยภาพด้านดิจิทัลในท้องถิ่น ที่ช่วยเร่งการพัฒนาคอนเทนต์ และ use case ของ 5G นอกจากนี้ ยังช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาทางเศรษฐกิจด้วยการผลักดันความก้าวหน้าของเทคโนโลยี 5G ด้วย

 

 

6. โนเกีย เปิดตัว Routing Silicon เจเนอเรชั่นที่ 5

โนเกีย ได้เปิดตัว FP5 ซึ่งเป็น IP routing silicon ประสิทธิภาพสูงรุ่นที่ 5 ของบริษัท ที่จะช่วยในการกำหนดมาตรฐานใหม่ด้านความปลอดภัยของเครือข่าย IP และประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน ซึ่ง FP5 จะช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถกำหนดความสามารถของเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการ IP แบบใหม่ที่มีความเร็วมากกว่าเดิม รวมทั้งช่วยป้องกันสิ่งคุกคามความปลอดภัยของเครือข่ายที่เพิ่มขึ้นได้อีกด้วย

FP5 นำเสนอระบบการบูรณาการความสามารถในการเข้ารหัสข้อมูลแบบ ANYsec ที่สามารถสั่งการได้อย่างเต็มที่ และกินพลังงานต่อบิตลดลงได้ถึง 75 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการเปิดตัวครั้งนี้ โนเกีย ยังนำโซลูชัน IP routing รุ่นใหม่สู่ตลาดเพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถปรับเปลี่ยนเครือข่าย IP สำหรับภาวะวิกฤติให้มีความเหมาะสมกับความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง โดยแพลตฟอร์มเราเตอร์ที่เปิดให้บริการของโนเกียนับเป็นเจ้าแรกที่รองรับการกระจายสัญญาณแบบ High-density ที่ 800 GE และอินเตอร์เฟซกระจายสัญญาณแบบ clear channel ที่ 1.6 เทระไบต์ต่อวินาที (Tb/s) สำหรับการใช้งานประกอบไปด้วยการส่งข้อมูลแบบไร้สาย, IP Core, การเชื่อมต่อระหว่างผู้ให้บริการ (peering), เครือข่ายบรอดแบรนด์เกตเวย์ (BNG) และ PE เราเตอร์ (Provider edge)

Comments

comments