บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี (ARV) สร้างปรากฏการณ์ครั้งสำคัญให้กับวงการอากาศยานไร้คนขับในประเทศไทย เปิดตัว“Horrus: Fully Automated Drone Solution” เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (Drone) ที่สามารถทำงานได้ด้วยการขับเคลื่อนตัวเองอย่างเป็นอิสระ(Unmanned Aerial Vehicle) อย่างสมบูรณ์แบบเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ปลดล็อกข้อจำกัดเดิมๆ ที่เกิดขึ้นจากปัญหาการใช้งานโดรนในอุตสาหกรรมต่างๆ เผยผลการทดลองนำร่องใช้งานในพื้นที่ศูนย์วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ปตท.สผ. (PTIC) ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และลดต้นทุนได้มากขึ้น ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงานให้บุคลากร เตรียมต่อยอดใช้งานด้านการช่วยเหลือสังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมเตรียม เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์สู่กลุ่มธุรกิจและหน่วยงานภาครัฐ ทั้งขนาดกลางและขนาดใหญ่
ดร. ธนา สราญเวทย์พันธุ์ General Manager, บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี (ARV) ผู้นำด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ในเครือบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า “ด้วยพันธกิจที่สำคัญของ ARV ในการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีชั้นสูงสำหรับสนับสนุนกิจกรรมการสำรวจ พัฒนา และผลิตปิโตรเลียม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับ ปตท.สผ. และต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจให้กับอุตสาหกรรมอื่น ๆ อาทิ ภาคเกษตรกรรม กลุ่มธุรกิจก่อสร้างและกลุ่มธุรกิจพลังงาน ซึ่งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) และหุ่นยนต์ (Robots) ถือเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่สำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และเศรษฐกิจของไทย เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับหรือโดรน เป็นเทคโนโลยีที่มีความโดดเด่น และถูกนำมาประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรมที่หลากหลายและแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากสามารถช่วยเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงของบุคลากรในการปฏิบัติงาน ไปจนถึงการเข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุฉุกเฉินและทำให้การช่วยเหลือสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี แต่ข้อจำกัดสำคัญของการบินโดรน คือจะต้องถูกควบคุมโดยนักบิน UAV ที่มีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในการบิน”
“ARV ในฐานะขององค์กรที่มีประสบการณ์ได้คลุกคลีอยู่กับเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับจากการที่มีบริษัทย่อยในเครืออย่าง บริษัท สไกลเลอร์ โซลูชั่นส์ จำกัด หรือ สไกลเลอร์ ที่นำเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ทำให้มองเห็นข้อจำกัด (Pain Point) ที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรม 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1. บุคลากรที่เชี่ยวชาญมีประสบการณ์ในการบินอากาศยานไร้คนขับหรือนักบินUAV มีจำนวนค่อนข้างน้อยในประเทศไทย 2. บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญมีค่าแรงสูง และไม่สามารถบินต่อเนื่องได้นานหลายชั่วโมง ส่งผลให้ผู้ใช้บริการมีต้นทุนสูงในแต่ละครั้งที่ปฏิบัติภารกิจ และ 3. ข้อจำกัดของพื้นที่ สภาพภูมิประเทศ สภาพอากาศ และสถานการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อนักบินโดรน” ดร. ธนากล่าวเสริม
“ARV จึงมีแนวคิดในการพัฒนา“Horrus: Fully Automated Drone Solution” ขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพให้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับให้สามารถทำงานได้ด้วยการขับเคลื่อนตัวเองอย่างเป็นอิสระ (Unmanned Aerial Vehicle – UAV) อย่างสมบูรณ์แบบเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยสามารถตั้งโปรแกรมการปฏิบัติภารกิจได้แบบอัตโนมัติ และปฏิบัติภารกิจซ้ำได้อย่างเป็นกิจวัตรผ่านแพลตฟอร์มการควบคุมระยะไกล (Remote controlled) โดยไม่ต้องใช้นักบิน (UAV) นับเป็นก้าวสำคัญของการปฏิวัติวงการอากาศยานไร้คนขับ (Drone) ครั้งสำคัญในประเทศไทย”ดร. ธนากล่าวเพิ่มเติม
นายภาคภูมิ เกรียงโกมล Robotic Team Lead, บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี (ARV) เปิดเผยว่า “เทคโนโลยี “Horrus: Fully Automated Drone Solution” มีส่วนประกอบหลักๆ 3 ส่วน ดังนี้ 1. โดรนไร้คนขับแบบ 4 ใบพัด บินต่อเนื่องได้ประมาณ 30 นาที ต่อการชาร์จไฟ 1 ครั้ง 2.แพลตฟอร์ม ควบคุมการทำงานจากระยะไกลเพื่อควบคุม Horrus และ3. Ground control station เป็นฐานในการรับคำสั่งการบิน และชาร์จไฟ ในการปฏิบัติภารกิจ ซึ่งเมื่อ 3 ส่วนนี้ทำงานร่วมกัน ผู้ใช้งาน (User) Horrus จะสามารถตั้งโปรแกรมการปฏิบัติภารกิจล่วงหน้าได้จากผ่านการควบคุมระยะไกล โดย Horrus จะส่งอากาศยานไร้คนขับออกปฏิบัติภารกิจตามจุดที่โปรแกรมไว้อย่างครบถ้วนแม่นยำเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจเรียบร้อยแล้วก็จะบินกลับมาชาร์จตัวเองในระยะรัศมี 6 กิโลเมตรที่จุด Ground Control station ซึ่งจุดนี้ยังมีหน้าที่ในการประมวลผล อัพโหลดภาพถ่าย และวิดีโอผ่านสัญญาณอินเตอร์เน็ต กลับมายังผู้ใช้งาน แม้แต่การถ่ายทอดภาพสัญญาณสดที่สามารถดูได้ทันทีแบบเรียลไทม์”
โดยปัจจุบัน“Horrus: Fully Automated Drone Solution” ถูกนำร่องใช้งานจริงแล้วในศูนย์วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ปตท.สผ. (PTTEP Technology and Innovation Centre – PTIC) รวมถึงใช้ในการสำรวจแท่นขุดเจาะปิโตรเลียมตรวจสอบอย่างเป็นกิจวัตร (Routine inspection) แทนการส่งพนักงานโดยสารเรือออกไปสำรวจ เพื่อบินออกไปเก็บภาพถ่าย วิดีโอ ตลอดจนใช้คลื่นความร้อนเพื่อสำรวจ ตรวจ จับ รอยแตก รอยร้าวภายในและภายนอกของปล่องท่อเชื้อเพลิง ได้อย่างครบถ้วนและรวดเร็ว ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับพนักงาน ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และลดต้นทุนให้กับองค์กรได้มากขึ้น โดยได้เตรียมต่อยอดการใช้งานไปในอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตพลังงานในเครือ ฯลฯ นอกเหนือจากประโยชน์ในมิติของธุรกิจแล้วยังเตรียมนำไปใช้ประโยชน์ในการช่วยเหลือสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ การรักษาความปลอดภัยชายฝั่ง และการบรรเทาสาธารณภัย ช่วยลดปัญหาด้านอัคคีภัยและไฟป่า ผ่านเทคโนโลยีโดรนดับเพลิง ซึ่งเป็นโครงการของ บริษัท สไกลเลอร์ โซลูชั่นส์ จำกัด หรือ สไกลเลอร์ หนึ่งในบริษัทในเครือของ ARV ที่สามารถตรวจจับสัญญาณไฟ และดับไฟป่า ซึ่งจะมีการเปิดตัวเร็วๆ นี้”
“ทั้งนี้ ARV เตรียมผลักดันเทคโนโลยี “Horrus: Fully Automated Drone Solution” เพื่อให้บริการเชิงพาณิชย์ แก่หน่วยงานธุรกิจ และภาครัฐทั้งขนาดกลางและขนาดใหญ่ ที่มีความสนใจนำเทคโนโลยีโดรนไร้คนขับไปต่อยอดเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดต้นทุนให้กับธุรกิจของตนเอง โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตพลังงาน อุตสาหกรรมการก่อสร้าง,นิคมอุตสาหกรรมการผลิต,อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน, อุตสาหกรรมด้านโทรคมนาคม, ธุรกิจภาคการเกษตร,ธุรกิจขนส่ง, การสำรวจสาธารณูปโภคและสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ที่ให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ยกระดับศักยภาพทางธุรกิจ โดยสามารถติดต่อขอรับรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ARV Sales@arv.co.th หรือ โทร 02-078-4000”นายภาคภูมิกล่าวสรุป
อ่าน: 1,652
Comments
comments