วันนี้ ประเทศไทยซึ่งมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และซิสโก้ ผู้นำเทคโนโลยีระดับโลก ประกาศความร่วมมือภายใต้ “โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาดิจิทัล” หรือ Cisco’s Country Digital Acceleration (CDA) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเร่งการขับเคลื่อนสู่ดิจิทัลในทุกภาคส่วนของประเทศ และผลักดันการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19
การประกาศความร่วมมือนี้ได้จัดในรูปแบบงานไฮบริดโดยมีผู้ให้เกียรติร่วมงาน ได้แก่ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, นาย ไมเคิล ฮีธ อุปฑูตรักษาการแทนเอกอัครราชฑูต สหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย, นางสาว ฟรานซีน คัตสุดาส รองประธานกรรมการบริหาร และผู้อำนวยการด้านบุคลากร นโยบาย และการวางแผนของซิสโก้, นาย กาย ดีดริช รองประธานอาวุโสฝ่ายกิจการภาครัฐ และนวัตกรรมระดับโลกของซิสโก้ นางสาว บี เค็ง เทย์ ประธาน ซิสโก้ อาเซียน และนายทวีวัฒน์ จันทรเสโน กรรมการผู้จัดการ ซิสโก้ ประเทศไทย
ทีมงาน CDA ของซิสโก้ทำงานร่วมกับรัฐบาลของประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อให้เร่งการขับเคลื่อนสู่ดิจิทัลระดับประเทศ และนำเสนอบริการที่มีประโยชน์ให้แก่ประชาชนในประเทศนั้นๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาดิจิทัลนี้สอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลไทย ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจระลอกใหม่ในประเทศ ด้วยการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการแข่งขันของไทยจากการปรับใช้เทคโนโลยีที่สำคัญๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต คุณภาพสินค้า และการสร้างสรรค์นวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรมหลักของประเทศ
นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า “เศรษฐกิจของไทยมีบทบาทในการกำหนดทิศทางของภูมิภาคฯ นี้มาอย่างต่อเนื่อง เรามุ่งเน้นที่จะสร้างความมั่นใจในบทบาทผู้นำอย่างต่อเนื่องแม้หลังการแพร่ระบาดสิ้นสุดลง ด้วยการนำดิจิทัล เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้อย่างเต็มที่ โดยทุกภาคส่วนจะร่วมมีบทบาทในการขับเคลื่อนนี้ เรารู้สึกยินดีที่ได้ทำงานร่วมกับซิสโก้ในโครงการขับเคลื่อนการพัฒนาดิจิทัลประเทศไทย ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญในการสร้างสรรค์อนาคตแห่งดิจิทัลให้เป็นจริง”
โครงการนี้ฯ จะให้ความสำคัญใน 3 ด้านได้แก่ เร่งการขับเคลื่อนสู่ดิจิทัลขององค์กรต่างๆ ในประเทศ, การสร้างสรรค์นวัตกรรมทางด้านธุรกิจและเทคโนโลยี, และการขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานประเทศสู่ดิจิทัล โดยทั้งหมดนี้จะต้องอาศัยการสนับสนุนทางด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของโครงการ ทั้งนี้ ซิสโก้มีแผนที่จะลงทุนทางด้านเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐาน เครื่องมือ ความรู้ และความเชี่ยวชาญ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการตามแผนดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นที่วางไว้
นางสาว ฟรานซีน คัตสุดาส รองประธานกรรมการบริหาร และผู้อำนวยการด้านบุคลากร นโยบาย และการวางแผนของซิสโก้ กล่าวว่า “ที่ซิสโก้ เรามุ่งมั่นในการสร้างสรรค์อนาคตที่ดีกว่าสำหรับทุกคน และเราเชื่อว่าเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการดำเนินการดังกล่าว โครงการ CDA ของซิสโก้เป็นความพยายามอย่างยิ่งของเราในการสนับสนุนภาครัฐและเอกชน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางด้านเศรษฐกิจและดิจิทัล เพราะเราต้องกลับมาแข็งแกร่งด้วยกันอีกครั้ง เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสในการริเริ่มโครงการนี้ในประเทศไทย”
โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาดิจิทัลในประเทศไทย (CDA) จะเริ่มขับเคลื่อนโครงการต่างๆ โดยมุ่งเน้นด้านต่อไปนี้:
Connected Healthcare: ซิสโก้จะทำงานร่วมกับข่ายงานสุขภาพทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการให้บริการด้านสาธารณสุขทั่วประเทศ โดยการนำเทคโนโลยีด้านต่างๆ มาช่วยทำให้บริการของโรงพยาบาลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งนับว่าจำเป็นอย่างมากเพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดตอกย้ำถึงความสำคัญของเทคโนโลยีเพื่อสร้างความมั่นใจต่อบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพแก่ประชาชนทุกคนอย่างทั่วถึง
5G สำหรับองค์กร: ซิสโก้จะช่วยพัฒนาและทดสอบโซลูชั่นเครือข่าย 5G เพื่อมอบประโยชน์ที่มากขึ้นให้แก่องค์กร และเพิ่มประสบการณ์การใช้งานเครือข่ายสำหรับลูกค้าซึ่งนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเครือข่าย 5G สามารถรับส่งข้อมูลจำนวนมากได้รวดเร็วกว่า จึงช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างลูกค้ากลุ่มต่างๆ รวมไปถึงแอพ และเทคโนโลยีทางด้านธุรกิจที่หลากหลาย ซึ่งเป็นการส่งเสริมการให้บริการ predictive แบบเรียลไทม์ และระบบงานอัตโนมัติที่ชาญฉลาดมากขึ้น รวมถึงโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ในภาคธุรกิจที่สำคัญเช่น ภาคการผลิต อีกด้วย
สมาร์ทซิตี้ และระบบขนส่ง: ซิสโก้จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย โดยอาศัยเทคโนโลยีชั้นนำที่รองรับโครงสร้างพื้นฐานสำหรับเมืองอัจฉริยะ หรือสมาร์ทซิตี้ โดยจะมุ่งเน้นในการลงทุนเพื่อพัฒนาระบบขนส่งภายในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor – EEC) ให้ทันสมัย รวมถึงโครงการเมกะโปรเจกต์สำหรับระบบขนส่งทางอากาศ รถไฟ ทางบก และทางทะเล โดยครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
ไซเบอร์ซีเคียวริตี้: ซิสโก้จะจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในไทย เพื่อยกระดับทักษะของบุคลากรในประเทศ สถาบันฯ แห่งนี้ มีการควบคุมสภาพแวดล้อมแบบอินเทอร์แอคทีฟ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรไซเบอร์ซีเคียวริตี้สามารถร่วมมือกันที่จะตรวจค้น สืบหา และลดการโจมตีทางไซเบอร์ ด้วยประสบการณ์เหล่านี้ องค์กรธุรกิจสามารถผสานทักษะและกระบวนการต่างๆ ที่จะขยายขีดความสามารถการตอบสนองต่อเหตุการณ์ในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ ซิสโก้จะช่วยสร้างกรอบความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ยืดหยุ่นและยั่งยืนสำหรับโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ (Critical National Infrastructure (CNI)) ในประเทศไทย
นายทวีวัฒน์ จันทรเสโน กรรมการผู้จัดการ ซิสโก้ ประเทศไทย กล่าวว่า “ในช่วงสองปีที่ผ่านมา การติดต่อสื่อสารผ่านช่องทางดิจิทัล และการใช้ระบบคลาวด์ได้กลายเป็นมาตรฐานในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยที่ขับเคลื่อนโดยสถานการณ์การแพร่ระบาด องค์กรธุรกิจมีประสบการณ์ตรงกับโอกาสทางธุรกิจที่เกิดขึ้นจากการใช้ดิจิทัล ขณะเดียวกับที่รัฐบาลเร่งการพัฒนาตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จึงนับเป็นโอกาสที่ดีในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อพลิกโฉมประเทศโดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวขับเคลื่อน ที่ซิสโก้ เรามุ่งมั่นในการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนที่เพื่อผลักดันการเติบโต รับมือกับความเสี่ยงทางด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี และสร้างอนาคตที่ดีกว่าสำหรับทุกคน”
โครงการ CDA ของซิสโก้มีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นการขับเคลื่อนสู่ดิจิทัลในประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยปัจจุบันซิสโก้ทำงานร่วมกับรัฐบาลและหน่วยงานท้องถิ่นใน 44 ประเทศทั่วโลก เพื่อเร่งการขับเคลื่อนสู่ดิจิทัลในระดับประเทศ รวมทั้งพัฒนาโซลูชั่นที่ก้าวล้ำภายใต้ความร่วมมือ และเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการที่มีประโยชน์แก่ประชาชน โครงการ CDA ของซิสโก้ช่วยสร้างตำแหน่งงานใหม่ๆ ขับเคลื่อนการเติบโตของจีดีพี และเสริมสร้างอีโคซิสเต็มส๋ที่เกื้อหนุนต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม