ท่ามกลางความท้าทายในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน การสร้างแบรนด์ให้มีความแข็งแกร่งและยั่งยืนนั้น การพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคถือเป็นหนึ่งหมุดหมายที่สำคัญ ซึ่งที่ผ่านมา AIS ในฐานะ Digital Life Service Provider ได้เดินหน้าสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ทุกภาคส่วนด้วยโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี พร้อมกับเสริมความแข็งแกร่งให้กับภาคธุรกิจ และยกระดับการใช้ชีวิตของคนไทย ด้วยแนวปฏิบัติดังกล่าว ส่งผลให้ AIS ได้รับรางวัล The Most Powerful Brands of Thailand 2020 หรือ แบรนด์ที่ทรงพลังที่สุด ในหมวด Mobile Operator ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ซึ่งจัดโดย ภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

นางศิวลี บูรณสงคราม หัวหน้าส่วนงานบริหารแบรนด์และสื่อสารการตลาด เอไอเอส กล่าวว่า “เรารู้สึกภูมิใจและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัล The Most Powerful Brands of Thailand 2020 หรือ แบรนด์ที่ทรงพลังที่สุด ในหมวด Mobile Operator ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ในฐานะแบรนด์ที่อยู่ใน Top of Mind ของผู้บริโภค เป็นที่ชื่นชอบ มีภาพลักษณ์ที่ดี และมีโครงข่าย 5G  ครอบคลุมสูงสุด ในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยรางวัลดังกล่าวถือเป็นรางวัลอันทรงเกียรติและเป็นเครื่องยืนยันว่า ตลอดการดำเนินธุรกิจกว่า 3 ทศวรรษของ AIS เราสามารถสื่อสารเจตนารมณ์และความตั้งใจ ส่งต่อไปยังผู้บริโภคจนเกิดการจดจำและยอมรับอย่างครบถ้วนในทุกมิติ”

 

สำหรับรางวัล The Most Powerful Brands of Thailand 2020 ถือเป็นรางวัลที่ได้รับการยกย่องและเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเพื่อชี้นำสังคม ซึ่งภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ได้ทำขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีการประกาศผลสุดยอดแบรนด์ทรงพลัง ทุก 2 ปี โดยครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 5 ซึ่งรางวัลดังกล่าวเก็บตัวอย่างจากแบบสอบถามมากกว่า 24,000 ตัวอย่างทั่วประเทศ  โดยการสำรวจจัดทำขึ้นระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายน 2019 ด้วยวิธีเก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากร ในลักษณะของการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ผู้บริโภคชาวไทยอายุระหว่าง 18 – 60 ปี ครอบคลุมในทุกส่วนของประเทศ ถือได้ว่าเป็นรางวัลที่มาจากเสียงผู้บริโภคผู้ใช้บริการจริง โดยความแข็งแกร่งของแบรนด์มาจากการประเมินซึ่งครอบคลุม 4 มิติ ได้แก่

1. ความตระหนักในแบรนด์ (Awareness) โดยวัดจากแบรนด์แรกที่ตระหนักถึง

2. ความชื่นชอบในแบรนด์ผลิตภัณฑ์ (Preference) วัดจากความรู้สึกชื่นชมแบรนด์นั้นมากกว่าแบรนด์อื่นในหมวดผลิตภัณฑ์เดียวกัน

3. การใช้ผลิตภัณฑ์จริง (Usage) วัดจากอัตราการใช้ผลิตภัณฑ์มากกว่าแบรนด์อื่นๆ

4. ภาพลักษณ์ในมุมมองผู้บริโภคที่มีต่อแบรนด์ (Image)

นางศิวลี กล่าวในตอนท้ายว่า “จะเห็นได้ว่าหลักเกณฑ์การพิจารณารางวัลมีความสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานของ AIS ในการส่งมอบมาตรฐานบริการที่มีคุณภาพ การดูแล เอาใจใส่ ทุกคนตามความต้องการ เพื่อตอบรับรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป รวมถึงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับทุกภาคส่วน โดยเรายังคงเดินหน้าทำงานเพื่อส่งมอบประสบการณ์และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด พร้อมทั้งเตรียมยกระดับจาก Digital Life Service Provider สู่การเป็น Cognitive Telco (ค็อกนิทิฟ เทลโค่) หรือ องค์กรอัจฉริยะ เพื่อตอบสนองกับบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน”

Comments

comments