รายงานองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า เชื้อไวรัสโคโรนาหรือโควิด-19 สามารถเกาะติดอยู่บนพื้นผิวหน้าจอมือถือได้นานถึง 96 ชม. หรือประมาณ 4 วันเต็ม มิหนำซ้ำยังมีแบคทีเรียปนเปื้อนมากถึง 25,157 ต่อตารางนิ้ว สกปรกกว่าประตูลูกบิดที่มีแบคทีเรียปนเปื้อน 8,643 ต่อตารางนิ้ว เคาน์เตอร์ทำครัว 1,736 ต่อตารางนิ้ว ชามอาหารสุนัข 2,110 ต่อตารางนิ้ว สกปรกกว่าชักโครกถึง 10 เท่า*

 

และยังเป็นแหล่งที่มาของเชื้อโรคร้าย เอสเชอริเชียโคไล (Escherichia coli) ก่อให้เกิดอาหารเป็นพิษ และยังมีแบคทีเรียชนิดอื่น ๆ ทำให้เกิดโรคติดเชื้อทางผิวหนัง ท้องร่วง คลื่นไส้อาเจียน รวมถึงติดเชื้อในกระแสเลือดได้อีกด้วย**

 

ดีแทค ทิ้งให้ดี จึงขอเชิญชวนทุกคนทิ้งไอเท็มสกปรกสุดยี้ไว้ในปีเก่า คลีนบ้าน จัดตู้ รวบรวมซากมือถือ แท็บเล็ต พาวเวอร์แบงค์ หูฟัง และอุปกรณ์สวมใส่เก่า มาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี ส่งท้ายไอเท็มเก่าด้วย 3 ดี ต้อนรับปีใหม่ 2565 ที่ศูนย์บริการดีแทค 51 สาขาทั่วประเทศ

1. ดีต่อกาย: ทิ้งมือถือเก่าอย่างไร ให้ห่างไกลโรค

ซากมือถือ แบตเตอรี่ พาวเวอร์แบงค์เก่า ที่ถูกเก็บไว้ในลิ้นชักหรือตู้เก็บของเก่าเป็นระยะเวลานาน เป็นแหล่งเจริญพันธุ์ของเชื้อโรคชั้นดี แม้เชื้อโรคเหล่านี้จะไม่ได้ส่งผลให้เราเกิดอาการป่วยทันที แต่ก็เป็นบ่อเกิดของโรคหัวใจ ระบบประสาท ส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร และสุขภาพในระยะยาวได้โดยที่เราไม่รู้ตัว

 

การลดอันตรายจากการสัมผัสหรือสูดดมสารพิษที่อาจรั่วซึมออกมาจากมือถือเก่า ทำได้โดยการนำมือถือมาห่อกระดาษก่อนนำไปทิ้ง หากพบว่าแบตเตอรี่ภายในตัวเครื่องมีการปูดหรือบวม ให้ถอดแบตเตอรี่ออกมาแช่น้ำเกลือ ทิ้งไว้ประมาณ 5 ชม. เพื่อลดปะจุพลังงาน จากนั้นเช็ดให้แห้ง แล้วห่อกระดาษก่อนนำทิ้งเช่นกัน

2. ดีต่อใจ: มูฟออนไว เริ่มต้นใหม่ในปีเสือ

หลังจากที่ ‘ดีแทค ทิ้งให้ดี’ รับซากมือถือเก่าที่ศูนย์บริการดีแทคเรียบร้อยแล้ว จะทำการส่งซากมือถือต่อให้บริษัทรีไซเคิลที่ได้มาตรฐานสากล ทำลายหน่วยความจำในตัวเครื่อง ด้วยการใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ในการลบข้อมูลถึง 3 รอบ และเขียนข้อมูลทับอีก 1 รอบ ด้วยมาตรฐาน NIST 800-88R1 ซึ่งเป็นมาตรฐานการกำจัดข้อมูลที่ใช้มากที่สุดทั่วโลก เพื่อให้มั่นใจได้ว่า จะไม่มีข้อมูลใด ๆ รั่วไหล ลบความทรงจำในตัวเครื่อง มูฟออนไวรับปีใหม่แน่นอน

3. ดีต่อโลก: ส่งท้ายไอเท็มเก่า ส่งต่อคุณค่าใหม่

 

ดีแทคนำซากมือถือและอุปกรณ์เก่า เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธีไปแล้วกว่า 1,810,330 ชิ้น ลดคาร์บอนได้มากกว่า 32,248,751 กิโลคาร์บอน ตั้งแต่ปีพ.ศ.2555 รีไซเคิลกลับไปเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมใหม่ ส่งคืนคุณค่าหมุนเวียนกลับสู่ระบบเศรษฐกิจไทย ไม่เหลือเป็นเศษซากไปฝังกลบ ตามเป้าหมายการจัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสภาวะอากาศ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบที่ดีแทค เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ “ครึ่งหนึ่ง” ในปี 2573

ที่มา

*TIME

**Samitivej Hospital, วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อุบลราชธานี

 

Comments

comments