บทบาทของผู้หญิงต่อการทำงานภายใต้องค์กรธุรกิจในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้เราเห็นถึงศักยภาพความเป็นผู้นำในฐานะ หัวหน้างาน หรือ ผู้บริหารระดับสูง ที่สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดทิศทางและขับเคลื่อนองค์กรให้ไปถึงเป้าหมายได้  แม้ที่ผ่านมาในอดีตสายงานเทคโนโลยีอาจจะมีบทบาทของผู้หญิงไม่มาก แต่ปัจจุบันผู้หญิงเก่งในองค์กรด้านเทคโนโลยีมีจำนวนที่มากขึ้นเป็นลำดับ พร้อมแสดงความสามารถได้อย่างโดดเด่นทัดเทียมกับผู้ชาย ตอกย้ำว่าข้อจำกัดจากเพศสภาพที่เคยเป็นกรอบจำกัดบทบาทการทำงานของผู้หญิงในอุตสาหกรรมนี้ได้เปลี่ยนไปแล้ว และ ทุกคน ทุกเพศสามารถแสดงความสามารถได้อย่างเท่าเทียม   

สำหรับ AIS นับว่าเป็นองค์กรด้านเทคโนโลยีชั้นนำของประเทศ ที่มีพนักงานกว่า 14,000 คน และเป็นบริษัทที่รวมคนในสายงาน Tech  อย่าง Engineering, IT, Programmer, Data Scientist, ฯลฯ  ตลอดจน non tech   ไว้มากมาย โดยภาพรวมวันนี้มีพนักงานและผู้บริหารหญิงสัดส่วนเกินครึ่ง และสำหรับสายงาน tech ที่  AIS ก็มีปริมาณพนักงานหญิงสาย Tech เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้องค์กรเน้นที่ความสามารถเป็นหลัก โดยไม่มีเรื่องเพศเข้ามาเป็นปัจจัย

ที่ AIS เรามีทีมผู้บริหารหญิง ที่แข็งแกร่ง และเป็นหนึ่งในผู้กุมบังเหียนของสายงานหลักขององค์กรได้อย่างมั่นคง อาทิ  พี่เจี๊ยบ “กานติมา เลอเลิศยุติธรรม” ดูแลสายงานด้านทรัพยากรบุคคลและการ Transform Skill set พนักงาน เพื่อให้สามารถรับมือ Digital Disruption ได้อย่างดี, พี่อ๊อบ “นัฐิยา พัวพงศกร” ดูแลงานด้านกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน รวมถึงการสื่อสารกับนักลงทุนในด้านทิศทางธุรกิจและภาพรวมการดำเนินงานขององค์กร, พี่เอื้อง “สายชล ทรัพย์มากอุดม” ดูแลงานประชาสัมพันธ์ พร้อมสร้างโอกาส ความเข้าใจ และทักษะด้านดิจิทัลให้กับคนไทย และ พี่เจี้ยม “รุ่งทิพย์ จารุศิริพิพัฒน์” ผู้อยู่เบื้องหลังในการสร้าง Digital Service รวมถึงการสร้างนวัตกรรมใหม่ที่ส่งเสริมการเติบโตของ Digital Ecosystem เพื่อให้พร้อมตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนในยุคปัจจุบัน

โดยมุมมองจาก Women Empowerment ทั้ง 4 ท่าน ในฐานะผู้นำที่ต้องแบกรับความคาดหวังของทีมและเป้าหมายของบริษัท คือ ภารกิจในการผลักดัน Digital Literacy พร้อมด้วยการวางรากฐานทางด้านดิจิทัล ให้คนไทยได้เข้าถึงประสบการณ์การใช้งาน ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสและยกระดับสังคมไทยให้ก้าวทันโลกดิจิทัล

กานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล AIS และกลุ่มอินทัช เล่าให้ฟังว่า “ที่ AISเรายึดในความเท่าเทียมของการทำงาน และวัดคนที่ความสามารถเป็นหลัก โดยเฉพาะ Tech Company อย่าง AIS วันนี้ไม่ว่าคุณจะเป็นเพศใด ไม่ได้เป็นตัวจำกัดความสามารถและโอกาสที่คุณจะได้รับ เรามีจำนวนผู้บริหารหญิงซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่อันเป็นหัวใจสำคัญและก้าวขึ้นมามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายหรือแม้แต่การดำเนินภารกิจตามเป้าหมายหลักขององค์กร ที่ต้องการสร้างความแข็งแรงด้านดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ สร้างสังคมแห่งการแข่งขันที่เป็นธรรม ผ่านนวัตกรรมและดิจิทัลแพลตฟอร์มใหม่ๆ จนได้รับการยอมรับจากทั้งภายในและภายนอกองค์กร แต่หัวใจสำคัญที่สุดไม่ว่าคุณจะเป็นเพศใด เมื่อได้รับโอกาส คุณมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ความสามารถของตัวเอง และแสดงศักยภาพอย่างไม่มีขีดจำกัด นั่นจึงเรียกว่าความเท่าเทียมภายในองค์กร”

นัฐิยา พัวพงศกร หัวหน้าฝ่ายงานนักลงทุนสัมพันธ์และกำกับดูแลการปฏิบัติงาน AIS มองว่า “ในฐานะที่ทำงานด้านนโยบายภาพรวมด้านความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับ Stakeholder ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อผลักดันทิศทางของบริษัทให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน การทำงานร่วมกับหลายหน่วยงานและหลากกลุ่มบุคคลต้องบริหารความเข้าใจของทุกฝ่าย เพื่อสร้างสมดุลระหว่างคนทำงานและทิศทางของบริษัท เป้าหมายด้านความยั่งยืนในแต่ละด้านไม่ว่าจะเป็นการพัฒนานวัตกรรมและเศรษฐกิจดิจิทัล การสนับสนุนให้สังคมเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างเท่าเทียม และการยืนหยัดเพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อม ล้วนต้องอาศัยความเข้าใจในบริบทและมุมมองของแต่ละ Stakeholder ที่ย่อมมีความแตกต่าง ความเห็นต่างซึ่งเป็นธรรมชาติ แต่ทำอย่างไรให้สอดประสานร่วมสู่เป้าหมายเดียวกันได้ สิ่งสำคัญคือเน้นการพูดคุยด้วยทัศนคติที่เปิดกว้าง ทำความเข้าใจในความต่างและสร้างความชัดเจนของเป้าหมายร่วม ทำให้ทุกฝ่ายพร้อมใจสนับสนุนเพื่อผลักดันภารกิจด้านความยั่งยืนให้ได้ตามเป้าหมาย” 

ในขณะที่ สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS ที่ดูแลงานด้านสังคม ชุมชนสัมพันธ์ และการสร้างโอกาส การเข้าถึงดิจิทัลเทคโนโลยีให้กับคนไทย อธิบายเสริมว่า “บทบาทของผู้หญิงวันนี้ไม่ได้แตกต่างจากผู้ชายเพราะทุกคนสามารถสร้างสรรค์ผลงานในแบบฉบับของตัวเองได้ แต่ความท้าทายของการทำงานวันนี้คือเมื่อเรื่องเพศไม่มีผล เราจะทำอย่างไรให้ทุกคนสามารถเข้าถึงดิจิทัลและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และให้คนไทยมีทักษะด้านดิจิทัลที่ต้องรู้เท่าทันภัยไซเบอร์รูปแบบต่างๆ  ซึ่งถือเป็นการทำงานเชิงรุก เพื่อเชื่อมต่อภาคสังคม ชุมชน และประชาชน กับนโยบายของภาครัฐ โดยได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากพนักงานทุกเพศ ทุกวัย พร้อมผู้บริหาร ทุกท่าน ซึ่งแน่นอนว่า จะทำให้การสร้างทักษะด้าน Digital ให้แก่คนไทย สามารถขยายผลในวงกว้าง และสร้างทักษะ พร้อมภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพแน่นอน”

ทางด้าน รุ่งทิพย์ จารุศิริพิพัฒน์ รักษาการ กรรมการผู้จัดการ พันธมิตรธุรกิจด้านบันเทิงและคอนเทนต์ AIS ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของงานด้าน Digital content และ Digital service  ให้มุมมองต่อไปอีกว่า “AIS เป็นองค์กรที่ให้โอกาสพนักงานทุกเพศ ทุกวัย ในการเรียนรู้ ทดลองทำเรื่องใหม่ๆ อย่างเท่าเทียม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การออกแบบDigital Service เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา รวมถึงการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ เพื่อส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนของ Ecosystem ในทุกอุตสาหกรรม อาทิ วงการกีฬา, เกม, และอีสปอร์ต ที่เป็นเทรนด์ซึ่งกำลังเติบโตและเป็นที่นิยมในกลุ่มคนรุ่นใหม่  ซึ่งการผลักดันงานด้านนี้ ไม่เคยมีเรื่องเพศเข้ามาเป็นเงื่อนไข ตรงกันข้าม กลับได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่ง จนทำให้เชื่อมั่นว่าการส่งต่อ Digital Service ที่จะสร้างประโยชน์ ต่อยอดการเติบโตของทุกอุตสาหกรรม จะเป็นผลสำเร็จและเสริมความแข็งแกร่งของ Digital Economy ประเทศได้อย่างแน่นอน”

เนื่องในวันสตรีสากล International Women’s Day 8 มีนาคม 2565  ชาว AIS ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งต่อพลังความคิดและแรงบันดาลใจ ผ่านมุมมองของผู้บริหารหญิงทั้ง 4 ท่าน ในฐานะ Women In Tech ซึ่งมีบทบาทต่อการขับเคลื่อน Digital Literacy ภายใต้เป้าหมายหลักขององค์กรที่ต้องการนำ Digital มายกระดับประเทศ โดยขอร่วมส่งต่อพลังแก่ “ผู้หญิง” ให้เชื่อมั่นในศักยภาพ พร้อมก้าวข้ามทุกขีดจำกัด และ อคติต่างๆ อีกทั้งกล้าที่จะแสดงขีดความสามารถ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกแก่ตนเองและส่วนรวมต่อไป 

Comments

comments