การมอนิเตอร์ระบบไอที และระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ เป็นเรื่องที่มีความจำเป็น หลักการสำคัญของการมอนิเตอร์ระบบนั้นเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นระบบเล็กหรือระบบขนาดใหญ่ แต่เครือข่ายที่ใหญ่ขึ้นก็มักตามมาด้วยความท้าทายเพิ่มเติมที่เกิดขึ้นตามความซับซ้อนของระบบที่มีมากขึ้น

การมอนิตเตอร์ระบบโครงสร้างพื้นฐานไอที โดยเฉพาะระบบขนาดใหญ่ มีความท้าทาย 5 ประการ ดังนี้

เรื่องที่ 1 การใช้ทูลตรวจสอบหลายตัว

ระบบขนาดใหญ่มักมีอุปกรณ์จากหลายผู้ผลิต ซึ่งมีระบบที่ใช้หลากหลาย แต่ละอุปกรณ์หรือระบบเหล่านี้ก็มีทูลตรวจสอบข้อมูลเป็นของตัวเอง ดังนั้น จึงเห็นได้บ่อยในองค์กรขนาดใหญ่ที่จะมีทูลตรวจติดตามประมาณ 10 – 15 ทูลสำหรับทำงานแต่ละหน้าที่ เช่น การตรวจสอบสตอเรจ, ประสิทธิภาพเครือข่าย, แอพพลิเคชั่น, ฐานข้อมูล, และอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น

เรื่องที่ 2 เครือข่ายกระจายอยู่หลายพื้นที่

สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ อุปกรณ์และระบบโครงสร้างพื้นฐาน มักกระจายไปตามตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ ซึ่งขึ้นกับรูปแบบการจัดการเน็ตเวิร์กเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายแยกกัน หรือมีการเชื่อมต่อสื่อสารระหว่างกันบ้าง หรืออาจจะเชื่อมเข้าเป็นเครือข่ายใหญ่หนึ่งเดียว ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมแบบไหน ความท้าทายที่เกิดขึ้นก็คือ ฝ่ายไอทีต้องคอยตรวจสอบแต่ละเครือข่าย “ย่อย” แยกกัน แล้วจะทำอย่างไร จึงจะได้เห็นภาพรวมสถานะของระบบทั้งหมดได้?

เรื่องที่ 3 การตรวจสอบที่มากกว่าเรื่องไอที

ระบบไอทีที่ใช้งานเฉพาะทางก็จะมีความต้องการที่จำเพาะของงานแต่ละประเภทด้วย ไม่ว่าจะเป็นสถานพยาบาล บริษัทผลิตรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม หรือธุรกิจแต่ละประเภทก็มักมีการใช้โปรโตคอล, ชนิดอุปกรณ์, ระบบ, และความท้าทายที่แตกต่างกัน และถึงแม้ก่อนหน้านี้แต่ละองค์ประกอบของเครือข่ายที่จำเพาะจะอยู่แยกตัดขาดออกมาจากระบบไอทีปกติ อย่างระบบที่ใช้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรม อุปกรณ์ทางการแพทย์ในกลุ่มเฮลท์แคร์ แต่ปัจจุบันการปฏิวัติทางดิจิตอลได้เข้ามาเชื่อมต่อระบบดังกล่าวเข้าด้วยกัน แปลว่าอุปกรณ์ที่เคยอยู่นอกขอบเขตของ “ระบบไอทีแบบเดิม” ก็ต้องได้รับการเฝ้าตรวจติดตามด้วย

เรื่องที่ 4 ทีมงานและผู้เชี่ยวชาญ

นอกจากนี้ เรื่องการจัดการจากศูนย์กลางแล้ว การจัดการแต่ละส่วนย่อย จำเป็นต้องอาศัยเจ้าหน้าที่มาคอยดูแล ตัวอย่างเช่น ทีมฐานข้อมูล และทีมทราฟิกบนเครือข่าย  ซึ่งแต่ละส่วนย่อย จะต้องมีการจัดการบทบาทและสิทธิ์การใช้งาน, การใช้แดชบอร์ดและแผนผัง รวมทั้งระบบการแจ้งเตือนแยกต่างหาก เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบุคคลที่เหมาะสมจะได้รับการแจ้งเตือนทันเวลา และสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นเพื่อใช้แก้ปัญหาได้

เรื่องที่ 5 การมองข้อมูลภาพรวมจากศูนย์กลาง

ด้วยความหลากหลายทั้งอุปกรณ์ โปรโตคอล ทูลตรวจติดตาม และระบบโครงสร้างพื้นฐานที่กระจายครอบคลุมไปหลายตำแหน่งที่ตั้งนั้น ทำให้ยากที่จะมองเห็นภาพรวมของระบบไอทีทั้งหมด เวลาที่เพิ่มระบบไอทีเฉพาะทางเข้ามาอย่างเช่น ระบบของบริการทางการแพทย์ หรือระบบสำหรับอุตสาหกรรม ดังนั้น อาจจะต้องมีหลายแดชบอร์ด หลายรีพอร์ตกระจายอยู่ในที่ต่างๆ อีกทั้งการเฝ้าติดตามหลายอุปกรณ์ หลายแอพพลิเคชั่น หลายระบบ ทำให้มีการสร้างข้อมูลขึ้นมาปริมาณมหาศาลจนทำให้เราหลงทางได้ ดังนั้น การที่สามารถรวมศูนย์ข้อมูลเหล่านี้มาอยู่ในภาพรวมเดียวกันนั้น เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวด

นี่จึงเป็นที่มาว่าทำไม PRTG  ช่วยให้การมอนิเตอร์เครือข่ายง่ายขึ้น โดยเลือกใช้ทูล PRTG Network Monitor หรือ Paessler PRTG Enterprise Monitor โดยทั้งสองผลิตภัณฑ์มีความแตกต่างกันดังนี้

PRTG XL
PRTG Enterprise Monitor
PRTG XL มีรูปแบบการใช้งาน โดยจ่ายค่าไลเซนส์เป็นแบบซื้อครั้งเดียวจบ มีโควตาจำนวนเซิร์ฟเวอร์ PRTG แต่รองรับเซ็นเซอร์ ได้ไม่จำกัดจำนวน
  • ไลเซนส์อิงตามจำนวนเซิร์ฟเวอร์ PRTG
  • ไม่มีข้อจำกัดจำนวนเซ็นเซอร์ต่อไลเซนส์ แต่อาจมีข้อจำกัดทางกายภาพแทน
PRTG Enterprise Monitor เป็นรูปแบบบริการแบบสมัครสมาชิก ไม่จำกัดจำนวนเซิร์ฟเวอร์ PRTG เพียงแค่จ่ายตามจำนวนเซ็นเซอร์ที่ต้องการ
  • มีบริการ ITOps Board ให้เป็นพิเศษ
  • ติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ PRTG ได้ไม่จำกัด
  • ไลเซนส์อิงตามจำนวนเซ็นเซอร์

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความช่วยเหลือจากผลิตภัณฑ์ สามารถติดต่อได้ตลอดเวลา การติดตั้งระบบมอนิเตอร์ขนาดใหญ่นั้นต้องการทั้งการวางแผน ประสบการณ์ และเทคนิคความรู้เฉพาะด้าน การตรวจติดตามในระดับสูง ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้ามาพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้าน PRTG จากทั่วโลก

หรือสนใจคู่มือสู่การมอนิเตอร์ระบบไอทีขององค์กรให้ประสบความสำเร็จ  เป็นคู่มือที่จะสามารถค้นหาข้อมูลมากมายเกี่ยวกับการตรวจสอบระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีขนาดใหญ่ให้ได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ โดยสามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://go.paessler.com/en/offer/monitor-large-it-environments

ที่มา: https://blog.paessler.com/5-challenges-in-monitoring-complex-it-infrastructures

บทความโดย นายเซบาสเตียน ครูเกอร์ รองประธาน Paessler ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค 

Comments

comments