ในช่วงปีที่ผ่านมา สภาพแวดล้อมของเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานเปลี่ยนไปจากเดิมเป็นอย่างมาก ธุรกิจต่าง ๆไม่สามารถรับประกันการดำเนินงานที่ราบรื่นของห่วงโซ่อุปทานได้อีกต่อไป และอาจต้องเผชิญกับปัจจัยมากมายที่ส่งผลกระทบต่อความราบรื่นในการทำงานของธุรกิจ เช่น ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การขาดแคลนทรัพยากรในการขนส่ง และการเปลี่ยนแปลงค่านิยมของผู้บริโภค เป็นต้น
นอกจากนี้ วิวัฒนาการของโลกยุคดิจิทัลที่มาพร้อมกับผู้แข่งขันรายใหม่ในตลาดที่เพิ่มขึ้นก็ก่อให้เกิดความท้าทายในการดำเนินธุรกิจ ถึงแม้การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นการเปิดช่องโอกาสใหม่ๆ แต่ก็ยังเป็นสาเหตุที่สร้างปัญหาให้แก่หลายบริษัทเช่นกัน เนื่องจากทำให้บริษัทต่าง ๆ หนักใจที่ต้องปรับวิธีการทำงานด้วยการเปลี่ยนเส้นทางการขนส่งหรือหาผู้ผลิตรายใหม่ ดังนั้น เอบีม คอนซัลติ้ง จึงขอแนะนำให้ริเริ่ม “การปฏิรูปเครือข่ายห่วงโซ่อุปทาน” หรือ ‘Reformation of the supply chain network’ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ อย่างเช่น ต้นทุนการผลิต หรือต้นทุนจากการจัดส่งสินค้าที่เพิ่มขึ้น
เป็นต้น
เครือข่ายห่วงโซ่อุปทาน ในที่นี้หมายถึงเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทและผู้ผลิตของบริษัท ที่ทำงานประสานกันเพื่อผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์หรือบริการ เครือข่ายเหล่านี้มักมีความซับซ้อนอย่างมาก นั่นเป็นเพราะว่าการปฏิรูปห่วงโซ่อุปทานนั้นต้องคำนึงถึงข้อดีข้อเสียในทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำ (การผลิต) ไปจนถึงปลายน้ำ (การขายและกระจายสินค้า) ยกตัวอย่างเช่น หากใช้การผลิตแบบกระจาย (Distributed Production) อาจทำให้สูญเสียประสิทธิภาพการผลิตไป หรือเมื่อมีการจัดลำดับความสำคัญด้านประสิทธิภาพของศูนย์กระจายสินค้า อาจก่อให้เกิดการลดระดับในการให้บริการได้เช่นกัน การเปลี่ยนแปลงในส่วนใดส่วนส่วนหนึ่งของเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานจีงส่งผลกระทบไปยังหลายจุดในครั้งเดียว หากแต่การวัดผลกระทบดังกล่าวนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ดังนั้นเราจึงสามารถทำได้เพียงปรับเปลี่ยนระบบการผลิตบางส่วนให้เหมาะสมเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้นการหาโซลูชันที่เหมาะสมเพื่อนำมาแก้ปัญหาดังกล่าวนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากบริษัทจำเป็นต้องพิจารณาระดับต้นทุน การบริการ ให้อยู่ในระดับความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้ (Risk Tolerance)
คุณสุปรีดา จิรวงศ์ศรี ผู้บริหารระดับสูงและหัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษาด้าน Digital Competency Group บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ได้ให้คำแนะนำว่า “บริษัทต้องทำความเข้าใจเรื่องห่วงโซ่อุปทานอย่างครอบคลุมก่อนเป็นอันดับแรกโดยผ่านกระบวนการที่เราเรียกว่า ‘การออกแบบห่วงโซ่อุปทาน’ หรือ ‘Designing supply chain’ ที่จะช่วยเชื่อมโยงกลยุทธ์และการดำเนินงานของห่วงโซ่อุปทานเอาไว้ด้วยกัน”
โดยสิ่งที่บริษัทมักจะต้องเผชิญคืออุปสรรคและข้อจำกัดสองประการที่ขัดขวางไม่ให้สามารถออกแบบห่วงโซ่อุปทานได้นั่นก็คือ ข้อจำกัดในเรื่องของการวิเคราะห์ข้อมูลห่วงโซ่อุปทาน และองค์กรที่มีกระบวนการแบบแยกส่วน (Silo)
“การที่จะนำเอาข้อมูลมาอธิบายถึงผลกระทบโดยใช้ตัวเลขมาชี้วัดนั้นสามารถทำได้ยาก ในขณะเดียวกัน องค์กรที่ยังคงปฏิบัติตามแนวทางการทำงานแบบแยกส่วน (Silo) และไม่เต็มใจที่จะแบ่งปันข้อมูลหรือความรู้ร่วมกันระหว่างหน่วยงานนั้น ยิ่งจะเป็นการลดประสิทธิภาพของการปฏิรูปเครือข่ายห่วงโซ่อุปทาน” คุณสุปรีดา กล่าวเพิ่มเติม
โซลูชันที่จะช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถฝ่าฟันข้อจำกัดและอุปสรรคดังกล่าวได้คือเทคโนโลยี ‘Digital Twin’ ที่มีการนำไปใช้ในยุโรป และประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเทคโนโลยีนี้จะช่วยให้บริษัทสามารถสร้างแบบจำลองห่วงโซ่อุปทานขึ้นใหม่ในสภาพแวดล้อมเสมือนจริง หรือ “Virtual Environment” ด้วยการป้อนข้อมูลด้านอุปสงค์ กำลังการผลิต และต้นทุนเข้าไป แบบจำลองนี้จะทำหน้าที่เสมือนกับคู่หูดิจิทัลที่แสดงให้เห็นกระบวนการหรือสถานะที่เกิดขึ้นแบบเรียลไทม์ พร้อมให้ทดสอบสมมติฐานจำลองก่อนได้ไม่จำกัดโดยไร้ความเสี่ยง ด้วยวิธีการประเมินสภาพแวดล้อมของห่วงโซ่อุปทานนี้ ทำให้บริษัทต่างๆ สามารถคำนวณความเสียเปรียบรวมถึงจุดคุ้มทุนได้ด้วยการประเมินผลลัพธ์เชิงปริมาณได้หลากหลายสถานการณ์
ข้อได้เปรียบที่สำคัญของเทคโนโลยีนี้ที่เป็นประโยชน์ต่อวิธีการออกแบบห่วงโซ่อุปทานนั่นคือสภาพแวดล้อมเสมือนจริง หรือ “Virtual Environment” ที่สามารถทำให้องค์กรมองเห็นกระบวนการทุกกระบวนการได้อย่างทั่วถึงและครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นการทำงานด้วยตัวเองหรือการทำงานแบบควบคู่กับกระบวนการอื่น ซึ่งถือเป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่สำคัญ เนื่องจากการวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานที่สามารถนำไปปฎิบัติได้จริงนั้นจะมีความเกี่ยวเนื่องกันในทุกขั้นตอน โดยมองที่กระบวนการและการวิเคราะห์แบบภาพรวมทั้งหมด มากกว่าการมองหรือวิเคราะห์แบบแยกกระบวนการออกจากกันแบบเดี่ยว
ดังนั้นเทคโนโลยี ‘Digital twin’ จึงถือเป็นก้าวสำคัญของธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จะเป็นตัวช่วยให้สามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดและปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของห่วงโซ่อุปทานที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมการขนส่ง และอุตสาหกรรมยานยนต์
“เอบีม คอนซัลติ้ง สามารถช่วยพัฒนาและปรับปรุงธุรกิจได้ด้วยการใช้โครงสร้างพื้นฐานทางธุรกิจแบบ Volante-model หรือวิธีการจัดการธุรกิจแบบหอควบคุม และเทคโนโลยี ‘Digital twin’ โดยข้อมูลทั้งหมดจากแต่ละแผนกจะถูกนำมารวมกันและจัดการบนแพลตฟอร์มเครือข่ายห่วงโซ่อุปทาน โดยที่บริษัทจะสามารถทดสอบ และวัดผลลัพธ์ของสมมติฐานที่ตั้งไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ในห่วงโซ่อุปทานเดียวกันสามารถมารวมตัว และดูผลลัพธ์เชิงปริมาณร่วมกันได้ในขณะที่เราก้าวไปข้างหน้าด้วยการออกแบบห่วงโซ่อุปทาน” คุณสุปรีดา จิรวงศ์ศรี กล่าวทิ้งท้าย