วันนี้ TelecomLover จะชวนมาดูกรณีศึกษา การควบรวมกิจการของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในต่างประเทศ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่พิจารณาอนุญาต หรือไม่อนุญาตในการควบรวม ต้องมีขั้นตอนและกระบวนการต่าง ตามกฎหมายของประเทศนั้น เริ่มตั้งแต่การพูดคุย เจรจา และทำ MOU หรือบันทึกความเข้าใจระหว่าง 2 บริษัทที่จะควบกัน จากนั้นทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรยื่นต่อหน่วยงานที่มีอำนาจโดยตรงพิจารณา เมื่อรับเรื่องแล้ว จึงตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบความถูกต้อง รวมถึงศึกษาผลกระทบต่าง ที่จะเกิดขึ้นหากอนุญาตให้มีการควบรวม บางประเทศอาจจัดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นเป็นเวทีประชาพิจารณ์ ให้มีนักวิชาการ นักเศรษฐศาสตร์เข้ามาร่วมให้ความคิดเห็น จนได้ข้อสรุปหลังรวบรวมและฟังทุกฝ่ายครบถ้วนหมดแล้ว

ดังนั้น ระยะเวลาในการพิจารณามีความสำคัญ ต้องไม่รวบรัด เร่งรีบ เพราะต้องใช้ความละเอียดรอบครอบเพราะกระทบกับหลายฝ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนผู้ใช้บริการ นอกจากการสรุปและฟังความจากทุกฝ่ายแล้ว ยังต้องกำหนดเงื่อนไขต่าง เป็นต้นว่า ถ้าอนุญาตให้ควบรวมจะกำหนดให้ผู้ควบรวมต้องทำอะไรบ้าง เช่น อาจให้มีการคืนคลื่นเพื่อนำกลับมาประมูลใหม่ให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ให้บริการรายอื่นเพื่อประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรคลื่นที่มีจำกัดและเพื่อการแข่งขันในอนาคตให้ไม่มีใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบ ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยและต้องใช้ระยะเวลาในการพิจารณาวางข้อกำหนดเหล่านั้นเพิ่มเติมด้วย

ถ้าเราจะดูตัวอย่างการควบรวมของผู้ให้บริการในประเทศต่าง แต่ละรายใช้ระยะเวลาไม่ได้รวดเร็ว ส่วนใหญ่ใช้เวลานานเป็นปีถึงจะได้ผลออกมาว่าให้ควบได้ หรือไม่ให้ควบ จะมีกรณีที่พิจารณาอย่างรวดเร็ว 3 เดือนจบแต่ผลการพิจารณานั้นคือเด็ดขาดว่าไม่อนุญาตให้ควบรวมเพราะกระทบกับผู้บริโภค

1 US: T-Mobile to merge Sprint (4 operators to 3 operators) (approved with conditions)

>>> ใช้ระยะเวลาในการพิจารณาตัดสิน ประมาณ 2 ปี

2 India: Vodafone India to merge with Idea Cellular (main 5 operators to 4 operators) (approved with conditions)

>>> ใช้ระยะเวลาในการพิจารณาตัดสินประมาณ 1 ปี 5 เดือน

3 UK: 3 Three (Hutchison) to merge O2 UK (4 operators to 3 operators)

>>> ใช้ระยะเวลาในการพิจารณาตัดสินประมาณ 8 เดือนและไม่อนุญาตให้ควบรวม

4 US: AT&T to merge with T-Mobile (4 operators to 3 operators)

>>>ใช้ระยะเวลาในการพิจารณาตัดสินประมาณ 1 ปีและไม่อนุญาตให้ควบรวม

5 Canada: Rogers Communications to merge with Shaw Communications (4 operators to 3 operators)

>>> ใช้ระยะเวลาในการพิจารณาตัดสิน ประมาณ 3 เดือน ไม่อนุญาตให้ควบรวม (ใช้เวลาพิจารณาเร็วเพราะมีผลกระทบกับผู้บริโภค)

6 Australia: TPG Telecom to merge Vodafone (4 operators to 3 operators)

>>> ใช้ระยะเวลาในการพิจารณาตัดสิน ประมาณ 9 เดือน ACCC – regulator ไม่อนุญาตให้ควบรวม ต่อมาเกิด Federal Court Challenge อีก 9 เดือน ศาลตัดสินให้ควบรวมได้ แต่สุดท้ายพิสูจน์ได้ว่า 3 ราย ราคาค่าบริการเพิ่มขึ้นมาก

จะเห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องล้วนใช้ระยะเวลาพอสมควรในการศึกษาและพิจารณาเพื่อสรุปมติผลออกมาเกือบทั้งหมด ส่วนในไทย ทาง กสทช. จะใช้ระยะเวลามากน้อยแค่ไหน ในฐานะผู้บริโภคก็ได้แต่ฝากความหวังให้ทำออกมาให้เรียบร้อย เพราะหากเกิดความผิดพลาดเกิดขึ้นจะยากต่อการเยียวยาและแก้ไขได้

และจากการที่เราไปค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการควบรวมผู้ให้บริการในต่างประเทศแล้ว เราพบว่าถ้าปล่อยให้ควบรวม ไทยจะกลายเป็นประเทศแรกในโลก ที่มีการควบรวมจาก 3 รายใหญ่เหลือ 2 รายใหญ่ ที่ทางคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) ไม่เข้ามายุ่งเกี่ยว ส่วนกรณี case study ของ Philippines ที่สำนักงาน กสทช. นำเสนอบอร์ดแล้ว แจ้งว่ามีเพียงประเทศเดียวในโลกที่มีการควบรวมจาก 3 รายเหลือ 2 ราย (market share ของ 2 รายใหญ่ รวมกันได้ประมาณ 93%) เมื่อดูข้อเท็จจริง จะเห็นว่า Philippines ปัจจุบัน มีเพียง 2 รายใหญ่ ใช้เทียบกับสภาพตลาดในประเทศไทยไม่ได้ด้วยบริบทสำคัญที่แตกต่างกันมาก อันได้แก่ที่มาและโครงสร้าง (ผู้ถือหุ้น) ของผู้ให้บริการ กล่าวคือ

Smart มี shareholder history และ structure ที่แตกต่าง คือผู้ถือหุ้นใหญ่คือ PLDT ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นต้นกำเนิดของ Smart โดย PLDT คือ อดีตรัฐวิสาหกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ เทียบได้กับบริการของ CAT ผนวก TOT

Globe เสมือนเป็น ผู้เคยผูกขาดแบบ TOT อยู่เดิม แต่บังเอิญการผูกขาดนี้เป็นการผูกขาดที่เอกชนได้สัมปทาน เพียงแต่เป็นระบบสัมปทานในอดีต และการบริหารงานถือเป็นเอกชนมากกว่า

การที่ตลาดถูกทําให้เหลือ 2 รายแบบ Philippines อาจกระทำได้ กล่าวคือ 1 ใน 2 รายใหญ่นั้นควรมีสถานะเสมือนเป็นรัฐวิสาหกิจที่ถือหุ้น มีผลในการบริหารงาน หรือ เป็นส่วนหนึ่งในการแข่งขันให้บริการในตลาด กล่าวคือการมีเพียง 2 ราย นั้นอาจไม่ส่งผลเสีย หากรัฐในฐานะประชาชนมีส่วนในการดำเนินงานเพื่อให้บริการ แต่โครงสร้างของไทยแตกต่างอย่างมาก

เมื่อโครงสร้างของไทยมีความแตกต่าง การที่ให้ เอกชน 2 รายกลายเป็นผู้กุมอำนาจในตลาด ในหลักการกำกับดูแล ไม่ต่างกับเกิดการผูกขาดโดยเอกชน 2 ราย คือ Private Duopoly โดยในหลักทฤษฎีแล้ว การผูกขาดที่อาจส่งผลเลวร้ายที่สุดคือการผูกขาดโดยเอกชนไม่ใช่ natural duopoly/monopoly ที่เป็นหน่วยงานของรัฐ ที่ประชาชนผู้ใช้บริการเสมือนร่วมเป็นเจ้าของ

 

ทั้งหมดนี้ที่เราไปหาข้อมูลมายืดยาวก็เพื่อเพื่อน และสมาชิกจะได้เห็นทิศทางแล้วย้อนกลับมาดูสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในเรื่องแบบเดียวกันนี้ว่าของเราจะออกมาในรูปแบบไหน กระบวนการพิจารณาระยะเวลา ผลกระทบกับประชาชน คือตัวแปรที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้กฎหมายที่ให้อำนาจต้องกลั่นกรองโดยละเอียด ไม่รีบร้อน เร่งรีบจนเกินไป หรือถ้าจะใช้เวลาอันสั้นพิจารณาก็เป็นไปได้ไม้เดียวที่เห็นตัวอย่างในต่างประเทศจนต้องรีบออกมาประกาศคือการไม่อนุญาตควบรวมเพราะเห็นว่ามีผลกระทบกับประชาชนเป็นอย่างมาก ซึ่งถ้าของเรา ผลจะออกมาเร็วปานจรวดแบบนั้นก็เดาล่วงหน้าได้เลยว่าดีลนั้นจะมีผลออกมาอย่างไร

Comments

comments