HID Global ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชันการระบุและยืนยันตัวตน ได้เผยแพร่รายงานเรื่องระบบการควบคุมการเข้า-ออกอาคารล่าสุดประจำปี 2022 ที่ให้มุมมองเชิงลึกเกี่ยวกับ สถานการณ์ในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต
รายงานฉบับนี้จัดทำโดย IFSEC Global ร่วมกับ HID Global ซึ่งได้สำรวจผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 1,000 คนในทวีปอเมริกาเหนือ (56%) ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (29%) และเอเชียแปซิฟิก (15%) เรื่องการจัดซื้อ การติดตั้ง ข้อกำหนด และการทำงานของโซลูชั่นการควบคุมการเข้า-ออกอาคาร และนำเสนอผลที่ได้ทั้งสถานการณ์ และเทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบัน รวมทั้งแนวโน้มที่ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยและไอทีคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ได้แก่:
ความสะดวกสบาย: การใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน เป็นปัจจัยที่ผู้ตอบแบบสอบถาม 60% ให้ความสำคัญมากที่สุดในการอัพเกรดระบบควบคุมการเข้า-ออก ซึ่งนอกจากความปลอดภัยแล้ว ผู้ใช้งาน(พนักงาน ผู้อยู่อาศัย หรือผู้มาติดต่อ) และผู้ดูแลระบบ (ฝ่ายรักษาความปลอดภัย ฝ่ายดูแลสิ่งอำนวยความสะดวก และฝ่ายไอที) จะต้องใช้งานได้ง่าย และสะดวกราบรื่น
การควบคุมผ่านมือถือ และ การใช้งานแบบไร้สัมผัส: การเข้า-ออกอาคารโดยใช้โทรศัพท์มือถือกำลังเป็นที่ต้องการเพิ่มสูงขึ้น โดย 42% ของผู้ตอบแบบสอบถามวางแผนที่จะอัพเกรดระบบให้พร้อมใช้งานกับมือถือได้ และนอกจากผู้ดูแลระบบรักษาความปลอดภัยจะได้ประโยชน์จากประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้นแล้ว พนักงานและผู้มาติดต่อก็จะมีความสะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้น เพราะผู้ใช้งานมักจะพกพามือถือมากกว่าบัตรเข้า-ออกอาคาร นอกจากนี้ การระบาดใหญ่ยังทำให้ความต้องการใช้ระบบควบคุมการเข้า-ออกแบบไร้สัมผัสเพิ่มสูงขึ้น โดยประมาณ 32% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีความประสงค์ที่จะอัพเกรดระบบไปใช้โซลูชันแบบไร้สัมผัส เพื่อรับมือกับโรคระบาด รวมทั้งยังพิจารณาการใช้ระบบยืนยันตัวตนไบโอเมตริกซ์แบบไร้สัมผัสด้วย
การทำงานผสานกันของระบบ: ความพร้อมในการรองรับการใช้งานอนาคตได้ เป็นข้อกังวลของผู้ตอบแบบสอบถาม เพราะผู้ใช้งานต้องการความสะดวกสบายในระยะยาวในขณะเดียวกันก็ต้องช่วยลดต้นทุนได้ ดังจะเห็นได้จากการที่ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบครึ่งหนึ่ง (49%) เลือกความสามารถในการรองรับเทคโนโลยีใหม่ในอนาคต ให้เป็นหนึ่งในสามคุณสมบัติเด่นของโซลูชันการควบคุมการเข้า-ออกอาคารแบบใหม่ๆ และ 33% เห็นว่าการผสานและเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มรักษาความปลอดภัยเดิมที่มีอยู่แล้วได้เป็นสิ่งสำคัญ ด้วยเหตุนี้ ที่ปรึกษาและผู้ติดตั้งระบบ จึงเลี่ยงการใช้โมเดลที่เป็นกรรมสิทธิ์เฉพาะของยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง และหันไปใช้เทคโนโลยีที่มีมาตรฐานแบบเปิด เพื่อให้สามารถอัพเกรดซอฟต์แวร์ได้อย่างปลอดภัยผ่านระบบคลาวด์ได้ หนึ่งในห้าของผู้ตอบแบบสอบถามเสริมว่า การทำงานผสานกันได้และมาตรฐานแบบเปิดดังกล่าวจะเป็นหนึ่งในแนวโน้มอันดับต้นๆ ที่กำหนดทิศทางของอุตสาหกรรมในอนาคตอันใกล้นี้
ความยั่งยืน: องค์กรทั่วทุกภูมิภาคกำลังพยายามทำความเข้าใจว่าการเปลี่ยนและการอัพเกรดเทคโนโลยีควบคุมการเข้า-ออกอาคาร จะส่งผลกระทบต่อแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนได้อย่างไร โดยผู้ตอบแบบสอบถามประมาณ 28% มีการปรึกษาแผนกที่รับผิดชอบเรื่องความยั่งยืนเมื่อต้องการเปลี่ยนระบบใหม่ เพื่อการตัดสินใจได้ถูกต้อง จากข้อมูลเฉพาะที่แผนกความยั่งยืนมีอยู่ เช่น เครื่องอ่านของระบบควบคุมการเข้า-ออก ที่มีใบรับรองสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ (Environmental Product Declaration) และการจัดการพลังงานอัจฉริยะนั้น สามารถรองรับความต้องการในกลุ่มของอาคารสีเขียว เช่น LEED ได้ นอกจากนี้ การเปลี่ยนไปใช้การควบคุมผ่านโทรศัพท์มือถือ และใช้หลักฐานยืนยันตัวตนแบบเสมือนจริง (Virtual) ยังช่วยลดการใช้บัตรพลาสติก จึงลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่เกี่ยวข้องกับวงจรชีวิตของบัตรพลาสติกได้ นอกจากนี้ การผสานการทำงานเข้ากับแพลตฟอร์มการจัดการอาคาร ก็ยังช่วยให้สามารถปรับใช้พื้นที่ในอาคารตามความหนาแน่นของผู้มาใช้งานได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง
ผู้สนใจรายงานฉบับเต็ม ที่มีการวิเคราะห์เชิงลึก และข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการควบคุมการเข้า-ออกในปัจจุบันและอนาคต สามารถอ่านได้ที่ here. และหาข้อมูลเพิ่มว่า HID Mobile Accessสามารถ เพิ่มความสะดวกและประสิทธิภาพในการดำเนินงานโดยคงมาตรฐานด้านความปลอดภัยได้เช่นเดิมได้อย่างไร ได้ที่เว็บไซต์ website