บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทเทคโนโลยีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลตลาดได้ประกาศความพร้อมจัดงาน  “Thailand Social Awards” ครั้งที่ 11 มอบรางวัลเพื่อเชิดชูผู้ใช้โซเชียลมีเดียยอดเยี่ยมในสาขาต่างๆ มากกว่า 300 รางวัล! งานนี้ถือเป็นงานประกาศรางวัลโซเชียลที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยที่ถูกจัดขึ้นตั้งแต่ปี 2555 เพื่อส่งเสริมการใช้โซเชียลมีเดียอย่างสร้างสรรค์ รวมถึง ยกระดับและให้ความสำคัญกับวงการโซเชียลที่เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง

โดยความพิเศษในปีนี้คือ งานประกาศรางวัล Thailand Social Awards ได้ถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบในหลายๆ ส่วน ตั้งแต่การเปลี่ยนตัวอักษร “Z” ในชื่องานเป็นตัวอักษร “S” เพื่อความชัดเจนในการสื่อสารเรื่องราวของงานประกาศรางวัล รวมถึงการปรับเปลี่ยนโลโก้งานประกาศรางวัล โดยตัวอักษร “S”ถูกออกแบบให้แยกออกจากกันเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าสามชิ้นโดยแต่ละชิ้นมีทั้งเหลี่ยมมุม และความโค้งมน เรียงต่อกันในแนวตั้งให้สามารถมองเห็น และตีความได้ในหลากหลายมิติ เพื่อสื่อความหมายว่าบนโลกโซเชียลนั้นแต่ละคนมีมุมมองที่แตกต่างกันออกไป อีกทั้งยังได้ปรับปรุงเกณฑ์การวัดผลในการประกาศรางวัล Thailand Social Awards ครั้งที่ 11 ร่วมกับคณะที่ปรึกษาจากหลากหลายแวดวง โดยได้แบ่งการวัดผลในครั้งนี้ออกเป็น ​3 เกณฑ์ด้วยกัน คือ BRAND METRIC  ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของแบรนด์, CONTENT METRIC ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของเนื้อหารายการ และ CREATOR METRIC ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของบุคคลที่มีผลงานหรือมีชื่อเสียง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. BRAND METRIC ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของแบรนด์ในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยวัดจากช่องทางของตัวเอง (Own Channel) ออกมาเป็น Own Score และช่องทางจากการที่คนอื่นพูดถึงแบรนด์ (Earn Channel) ออกมาเป็น Earn Score ผ่าน 4 แพลตฟอร์มหลัก คือ Facebook, Instagram, Twitter และ YouTube ซึ่งในทุกๆ ช่องทางจะมีน้ำหนักการให้คะแนนที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสม โดยพิจารณาผ่าน 2 มุมมองคือ Fundamental Factors และ Analytical Factors โดยมีรายละเอียดดังนี้
  • 1. Fundamental Factors ประกอบด้วยค่าพื้นฐาน คือ Followers, Reactions, Comment, Share, Brand Reply, Views on YouTube, และ Social Voice
  • 2. Analytical Factors ประกอบด้วยสัดส่วนการคอมเมนต์, สัดส่วนการแชร์, Sentiment, ค่าการ Tag Friend และ Intention to Buy บน Facebook
  1. CONTENT METRIC  ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของเนื้อหารายการบันเทิงต่างๆ เช่น ละครไทย, ภาพยนตร์ไทย, รายการข่าว, ​รายการโทรทัศน์ โดยพิจารณาจากกระแสการพูดถึงของคอนเทนต์บนโซเชียลมีเดีย จึงจะทำการวัดผลการคนพูดถึงรายการนั้น ๆ ผ่าน Earn Channel บนแพลตฟอร์มหลัก คือ Facebook, Instagram, Twitter, YouTube และ TikTok ซึ่งในทุกๆ ช่องทางจะมีน้ำหนักการให้คะแนนที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสม โดยพิจารณาผ่าน 2 มุมมองคือ Fundamental Factors และ Analytical Factors โดยมีรายละเอียดดังนี้
  • 1. Fundamental Factors ประกอบด้วยค่าพื้นฐาน คือ Followers, Reactions, Comment, Share, Views on YouTube , TikTok และ Social Voice
  • 2. Analytical Factors ประกอบด้วย สัดส่วนการคอมเมนต์, สัดส่วนการแชร์ และ Sentiment
  1. CREATOR METRIC ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของบุคคลที่มีผลงานหรือมีชื่อเสียงอยู่บนโซเชียลมีเดีย รวมทั้งดารา ศิลปิน ไอดอล พิธีกร และอินฟลูเอนเซอร์ โดยวัดผลคอนเทนต์บนช่องทางของตัวเอง (Own Channel) และจากการถูกพูดถึงหรืออ้างถึง (Earn Channel) บนแพลตฟอร์มหลัก คือ Facebook, Instagram, Twitter, YouTube และ TikTok ซึ่งในทุกๆ ช่องทางจะมีน้ำหนักการให้คะแนนที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสม โดยพิจารณาผ่าน 2 มุมมองคือ Fundamental Factors และ Analytical Factors โดยมีรายละเอียดดังนี้
  • 1. Fundamental Factors ประกอบด้วยค่าพื้นฐาน คือ Followers, Reactions, Comment, Share, Views on YouTube, TikTok และ Social Voice
  • 2. Analytical Factors ประกอบด้วย สัดส่วนการคอมเมนต์, สัดส่วนการแชร์ และ Sentiment

การพัฒนาเกณฑ์การวัดผลงาน Thailand Social Awards ครั้งที่ 11 ได้รับเกียรติจากคณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 18 ท่าน ในการให้คำแนะนำ แลกเปลี่ยนมุมมอง และร่วมพิจารณาผลการตัดสินให้ออกมาสมบูรณ์ที่สุด โดยมีรายชื่อดังต่อไปนี้ 1.) คุณกฤษณ์ บุญญะรัง ผู้ก่อตั้ง บริษัท เดอะสกา ฟิล์ม จำกัด เจ้าของช่องยูทูป Bie The Ska 2.) คุณกิตติพัฒน์ มหพันธ์ ผู้ก่อตั้ง BUZZPURR 3.) คุณชลากรณ์ ปัญญาโฉม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานดิจิทัล บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) 4.) คุณณธิดา รัฐธนาวุฒิ, CEO & Founder at Marketing Oops! 5.) คุณแดน ศรมณี, กรรมการผู้จัดการ ADA DIGITAL (THAILAND) COMPANY LIMITED 6.) คุณบุณย์ญานุช  บุญบำรุงทรัพย์, กรรมการผู้จัดการ YourNextU by SEAC  7.) คุณพงษ์ปิติ ผาสุขยืด ผู้ก่อตั้งเพจ Ad Addict 8.) คุณพันธ์ศักดิ์ ลิ้มวัฒนายิ่งยง กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอนี่มายด์ กรุ๊ป จำกัด 9.) คุณมัณฑิตา จินดากรรมการผู้จัดการ และผู้ก่อตั้ง ดิจิทัล ทิปส์ อคาเดมี 10.) คุณสโรจ เลาหศิริ, ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้านการตลาดองค์กรให้กับชั้นนำและเจ้าของเพจ สโรจขบคิดการตลาด 11.) คุณสิทธินันท์ พลวิสุทธิ์ศักดิ์, CEO of Content Shifu 12.) คุณสุรศักดิ์ เหลืองอุษากุล นักวางกลยุทธ์การตลาด บริษัท แบรนด์เบเกอร์ จำกัด 13.) คุณหรรษา วงศ์สิริพิทักษ์, Head of Marketing – The 1, Central Group 14.) ดร. ดั่งใจถวิล อนันตชัย, Chairman of Management Board, INTAGE (Thailand) 15.) ผศ. ดร.เอกก์ ภทรธนกุล ประธานหลักสูตร MBM และอาจารย์ประจำ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 16.) ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต, รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 17.) ศ. วิทวัส รุ่งเรืองผล ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 18.) คุณอภิศิลป์ ตรุงกานนท์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีเว็บไซต์ Pantip.com

งานประกาศรางวัล Thailand Social Awards ครั้งที่ 11 ได้แบ่งหมวดหมู่รางวัลออกเป็น 6 กลุ่ม คือ Best Brand Performance on Social Media แบรนด์ที่ทำผลงานยอดเยี่ยมบนโซเชียลมีเดีย, Best Content Performance on Social Media ผู้สร้างสรรค์และผลิตเนื้อหารายการทำผลงานยอดเยี่ยมบนโซเชียลมีเดีย, Creator Performance on Social Media ครีเอเตอร์ที่ทำผลงานยอดเยี่ยมบนโซเชียลมีเดีย, Best Performance on Platforms, Special Award ผู้ที่ใช้โซเชียลมีเดียอย่างสร้างสรรค์ เป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นประโยชน์ต่อสังคมและ Rising Creator Performance on Social Media ซึ่งเป็นกลุ่มรางวัลใหม่ที่ได้ถูกเพิ่มขึ้นมาเป็นครั้งแรกในปีนี้

โดย Thailand Social Awards ครั้งที่ 11 ได้ทำการเปิดโผรายชื่อผู้เข้าชิงใน 3 กลุ่มรางวัล คือ Best Brand Performance on Social Media, Best Content Performance on Social Media และ Best Creator Performance on Social Media  โดยประกาศรายชื่อผู้เข้าชิงแต่ละสาขาเรียงลำดับตามตัวอักษร ดังนี้

รายชื่อผู้เข้าชิงกลุ่มรางวัล Best Brand Performance on Social Media จำนวน 29 สาขา ได้แก่

  • 1. Automotive (กลุ่มธุรกิจยานยนต์) ได้แก่ Ford, Honda (Car), Honda (Motorcycle), Nissan และ Toyota Motor
  • 2. Bank (กลุ่มธุรกิจธนาคาร) ได้แก่ KBank, Krungsri, Krungthai, SCB และ ttb bank
  • 3. Beverage (กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่ม) ได้แก่ Coca Cola, LEO, NESCAFÉ, Ovaltine และ Pepsi
  • 4. Broadcasting (กลุ่มสื่อวิทยุและโทรทัศน์ภายใต้การดูแลของ กสทช.) ได้แก่ 3 HD, Amarin TV, Ch7HD, one31 และ Workpoint
  • 5. Construction Material (กลุ่มธุรกิจอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้าง) ได้แก่ COTTO, HÄFELE, SCG, TOA และ จระเข้
  • 6. Cosmetics (กลุ่มธุรกิจเครื่องสำอาง) ได้แก่ 4U2 Cosmetics, Cathy Doll, L’oréal Paris, LANEIGE และ Maybelline
  • 7. Delivery (กลุ่มธุรกิจบริการจัดส่ง และบริการแท็กซี่) ได้แก่ foodpanda, Grab, HappyFresh, LINE MAN, Robinhood และ ShopeeFood
  • 8. Financial Service (Credit Card) (กลุ่มธุรกิจผู้ให้บริการบัตรเครดิต) ได้แก่ AEON Thana Sinsap, Citibank, Krungsri Credit Card, Krungsri First Choice และ KTC
  • 9. Financial Service (Leasing) (กลุ่มธุรกิจผู้ให้บริการสินเชื่อทางการเงิน) ได้แก่ Krungsri Auto, เงินติดล้อ, เงินเทอร์โบ, ศรีสวัสดิ์ เงินสดทันใจ และ สมหวัง เงินสั่งได้
  • 10. Food & Snacks (กลุ่มธุรกิจอาหาร และขนมขบเคี้ยว) ได้แก่ CP, Farmhouse, Lay’s, MAMA และ Taokaenoi
  • 11. Gold & Jewelry (กลุ่มธุรกิจทองคำและอัญมณี) ได้แก่ Aurora, Pandora, RAVIPA, ห้างทองเยาวราชกรุงเทพ และ ฮั่ว เซ่ง เฮง
  • 12. Government & State Enterprise (กลุ่มหน่วยงานรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ) ได้แก่ กรมควบคุมโรค, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กระทรวงการต่างประเทศ, กระทรวงสาธารณสุข, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, วุฒิสภา และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  • 13. Home & Decoration (กลุ่มธุรกิจตกแต่งบ้าน) ได้แก่ HomePro, IKEA, Index Living Mall, SB Design Square และ Thai Watsadu
  • 14. Hospital (กลุ่มธุรกิจบริการทางการแพทย์) ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, โรงพยาบาลกรุงเทพ, โรงพยาบาลจุฬาภรณ์, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล และ โรงพยาบาลยันฮี
  • 15. Hospitality & Travel Agency (กลุ่มธุรกิจการโรงแรมและตัวแทนบริษัทนำเที่ยว) ได้แก่ Centara Grand at CentralWorld, InterContinental, Love Andaman, Sri panwa และ บ้านไร่ ไออรุณ
  • 16. Hypermarket & Supermarket (กลุ่มธุรกิจไฮเปอร์มาร์เก็ตและซุปเปอร์มาร์เก็ต) ได้แก่ Big C, Gourmet Market, Lotus’s, makro และ Tops
  • 17. Insurance & Assurance (กลุ่มธุรกิจประกันภัย (ประกันวินาศภัยและประกันชีวิต)) ได้แก่ AIA, FWD, Krungthai-Axa, Muang Thai Life, ทิพยประกันภัย และ ไทยประกันชีวิต
  • 18. Logistics (กลุ่มธุรกิจบริการขนส่งพัสดุ และไปรษณียภัณฑ์) ได้แก่ DHL, Flash Express, J&T Express, Kerry Express และ ไปรษณีย์ไทย
  • 19. Marketplace & E-Commerce Platform (กลุ่มธุรกิจแพลตฟอร์มสำหรับการซื้อขายสินค้า) ได้แก่ Konvy, Lazada, LINE SHOPPING, NocNoc.com, ShopAt24.com และ Shopee
  • 20. Mass Transit (กลุ่มธุรกิจบริการขนส่งสาธารณะ) ได้แก่ AirAsia, BTS, MRT, Nok Air และ Thai Airways
  • 21. Mobile & Consumer Electronics (กลุ่มธุรกิจอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค) ได้แก่ Huawei, oppo, Samsung, Sony และ vivo
  • 22. Mom & Baby (กลุ่มธุรกิจสินค้าแม่และเด็ก) ได้แก่ Babi Mild, BabyLove, BEAR BRAND, D-nee, MamyPoko และ S-26
  • 23. Out of Home Entertainment (กลุ่มธุรกิจสถานบันเทิงและสวนสนุก) ได้แก่ Dream World, Lido Connect, Major Cineplex, SF Cinema และ Siam Amazing Park
  • 24. Personal Care (กลุ่มธุรกิจสินค้าของใช้ส่วนตัว) ได้แก่ DENTISTE’, LOLANE, NIVEA, Sunsilk, Vaseline และ Yves Rocher
  • 25. Residential Real Estate (กลุ่มธุรกิจผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์สำหรับที่อยู่อาศัย) ได้แก่ AP Thai, PRUKSA, SANSIRI, SC ASSET และ SUPALAI
  • 26. Restaurant (กลุ่มธุรกิจบริการอาหารและคาเฟ่) ได้แก่ Cafe’ Amazon, KFC, Starbucks, Swensen’s และ The Pizza Company
  • 27. Shopping Center & Department Store (กลุ่มธุรกิจห้างสรรพสินค้า และศูนย์การค้า) ได้แก่ Central Department Store, centralwOrld, ICONSIAM, Robinson Department Store, Siam Paragon และ The Mall
  • 28. Skincare (กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์บำรุงผิว) ได้แก่ Eucerin, GIFFARINE, Kiehl’s, La Roche-Posay, LANEIGE (Skin Care) และ Sulwhasoo
  • 29. Telecommunication (กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม) ได้แก่ 3BB, AIS, dtac, True Online และ TrueMove Hรายชื่อผู้เข้าชิงกลุ่มรางวัล Best Content Performance on Social Media จำนวน 4 สาขา ได้แก่
  • 1. Thai Movie (กลุ่มรางวัลภาพยนตร์ไทย) ได้แก่ กล้องติดตาย, บัวผันฟันยับ, บุพเพสันนิวาส 2, ผ้าผีบอก และ เฟื่อน
  • 2. Thai News program (กลุ่มรางวัลรายการข่าว) ได้แก่ ทุบโต๊ะข่าว, ไทยรัฐนิวส์โชว์, เรื่องเล่าเช้านี้, วันบันเทิง และ โหนกระแส
  • 3. Thai Series (กลุ่มรางวัลละครไทย) ได้แก่ F4 Thailand, KinnPorsche The Series, กลรักรุ่นพี่, เขา…ไม่ใช่ผม และ คุณชาย
  • 4. Thai TV Program (กลุ่มรางวัลรายการโทรทัศน์) ได้แก่ Super10 ซูเปอร์จิ๋ว, T-POP STAGE, The Voice All Stars, ก็มาดิคร้าบ และ ร้องข้ามกำแพงรายชื่อผู้เข้าชิงกลุ่มรางวัล Best Creator Performance on Social Media จำนวน 23 สาขา ได้แก่
  • 1. Actor & Actress (กลุ่มรางวัลนักแสดง) ได้แก่ เจฟ วรกมล, วอร์ วนรัตน์, วิน เมธวิน, หยิ่น อานันท์ และ ใหม่ ดาวิกา
  • 2. Art & Illustration (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับศิลปะและงานวาด) ได้แก่ GOG GAG, Sundae Kids, คิดมาก, คิ้วต่ำ และ นัดเป็ด
  • 3. Beauty & Fashion (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับความงามและแฟชั่น) ได้แก่ Archita Station, Eyeta, Soundtiss, จือปาก และ สะบัดแปรง
  • 4. Cooking & Chef (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับการทำอาหารและสอนทำอาหาร) ได้แก่ กับข้าวกับปลาโอ Plaocooking, ชีวิตติดครัว, ทำกินเอง, ป้าหนึ่ง ตึ่งโป๊ะ และ สะใภ้เกาหลี ซอแฟนเพจ
  • 5. Film & Literature (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับสื่อภาพยนตร์และหนังสือ) ได้แก่ JUST ดู IT., Roundfinger, ขอบสหนัง, นักเลงโรงหนัง และ แฟนพันธุ์แท้ : หนังสยองขวัญ
  • 6. Food & Dining (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับการรีวิวอาหารและร้านอาหาร) ได้แก่ BanKii, KP ตะลอนแหลก, Mawinfinferrr, Starvingtime เรื่องกินเรื่องใหญ่ และ ชีวิตติดรีวิว
  • 7. Gadget & Technology (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับอุปกรณ์และเทคโนโลยี) ได้แก่ Beartai, DroidSans, IAUMReview รีวิวมือถือ & อัพเดทข่าวไอที, Spin9 และ นายอาร์ม
  • 8. Gaming & E-sport (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับเกมและกีฬาอีสปอร์ต) ได้แก่ Chicken V, Gssspotted, LowGrade, กิต งายย และ แป้งสามป๋องซาว
  • 9. Global Citizen (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในต่างประเทศ) ได้แก่ FAROSE, Mossala101, กินไปไทยหรั่ง, ชะนีพีชชี่ & สตีเฟ่นโอปป้า และ สะใภ้เกาหลี ซอแฟนเพจ
  • 10. Group Artist (กลุ่มรางวัลศิลปินกลุ่ม) ได้แก่ 4EVE, BNK48, TATTOO COLOUR, THREE MAN DOWN และ Tilly Birds
  • 11. Health & Fitness (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพและการออกกำลังกาย) ได้แก่ Bebe Fit Routine, Dao’s Healthy Diary, Fit Kab Dao, Forcejun และ Naefit
  • 12. Investment & Personal Finance (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับการเงินและการลงทุน) ได้แก่ Money Coach, TaxBugnoms, ถามอีก กับอิก Tam-Eig, ทันโลกกับ Trader KP และ ลงทุนแมน
  • 13. Knowledge & Education (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้และการศึกษา วิทยาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ สังคมศาสตร์) ได้แก่ Kru Whan : English on Air, Point of View, Slang A-hO-lic, เรียนเหอะ อยากสอน และ อาจารย์อดัม
  • 14. Local (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับท้องถิ่น ข่าวสาร ประเพณี ภาษา และวัฒนธรรม) ได้แก่ Chiang Mai News, DEEN VLOG, Tagple, ขอนแก่นลิงก์ Khon Kaen Link และ อีสานพาสวบ
  • 15. MC & Reporter (กลุ่มรางวัลผู้สื่อข่าวและพิธีกร) ได้แก่ กันต์ กันตถาวร, เจนนี่ ปาหนัน, วู้ดดี้ วุฒิธร, สรยุทธ สุทัศนะจินดา และ หนุ่ม กรรชัย
  • 16. Parenting & Kids (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับครอบครัวและการเลี้ยงลูก) ได้แก่ Beam-Oil Family, BORIBOON FAMILY, Guy Haru Family, Little Monster และ ple nakorn CHANNEL
  • 17. Pets (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง) ได้แก่ Gluta Story, Japan จอมโหด and friends, จิ๋ววววววววววว, ชิเอลแมวมึน และ พี่เจ๋งน้องเตี๋ยวไม่ตีกันสิลูกกก
  • 18. Social Change (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับปัญหาและประเด็นทางสังคม) ได้แก่ Environman, iLaw, Konggreengreen, Mirror Thailand และ Wannasingh
  • 19. Solo Artist (กลุ่มรางวัลศิลปินเดี่ยว) ได้แก่ BOWKYLION, MILLI, Urboy TJ, Violette Wautier และนนท์ ธนนท์
  • 20. Sport (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับกีฬา) ได้แก่ NRsportsRadio, ขอบสนาม, ตัวเทพฟุตบอล, บอ.บู๋ และ วาทะ ลูกหนัง
  • 21. Travel (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยว) ได้แก่ Chillpainai, I Roam Alone, Pigkaploy, Sneak out หนีเที่ยว และ TripTH ทริปไทยแลนด์
  • 22. Variety (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับรายการความบันเทิงและเกมโชว์) ได้แก่ Kaykai Salaider, Kyutae Oppa, My Mate Nate, OHANA และ SpriteDer SPD
  • 23. Virtual Creator (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาโดยใช้ตัวตนเสมือน (Avatar)) ได้แก่ Aisha Channel, Draki Kona Ch. Pixela-Isekai, HØRI 07, Jolly Estaa Ch. Pixela-Isekai และ Laibaht Channel

ทั้งนี้ งานประกาศรางวัล Thailand Social Awards ครั้งที่ 11 จะถูกจัดขึ้นในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ตั้งแต่เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป ที่ TRUE ICON HALL ณ Icon Siam โดยผู้ที่สนใจสามารถติดตามรับชม Facebook Live ผ่านช่องทาง https://facebook.com/thailandsocialawards

รายละเอียดเพิ่มเติม:-

เว็บไซต์ https://thailandsocialawards.com

เฟซบุ๊ก https://facebook.com/thailandsocialawards

Thailand Social Awards งานประกาศรางวัลโซเชียลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทยที่ถูกจัดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2013 โดย บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทเทคโนโลยีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลตลาด ด้วยวัตถุประสงค์ในการร่วมส่งเสริมการใช้โซเชียลมีเดียอย่างสร้างสรรค์ และยกระดับวงการโซเชียลผ่านการมอบรางวัลเชิดชูผู้ใช้โซเชียลมีเดียยอดเยี่ยมในสาขาต่างๆ เพราะวงการโซเชียลถือเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง

Comments

comments