บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ กฟภ. ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล การใช้โครงข่ายสื่อสาร และการจัดการพลังงานในองค์กร เป็นความร่วมมือดำเนินการศึกษาด้านการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ด้วย Digital Platform การบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า การดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องมีความร่วมมือกันในการพัฒนางานด้านธุรกิจพลังงาน สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดให้มีประสิทธิภาพ มั่นคงปลอดภัย ทันสมัย สามารถนำออกมาใช้ในเชิงพาณิชย์ รวมถึงการบริหารจัดการพลังงานให้มีประสิทธิภาพ มั่นคง และปลอดภัย ห้องออดิทอเรียม อาคารสโมสร บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่

พันเอก สรรพชัยย์ หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT กล่าวว่า NT เป็นผู้นำการให้บริการโทรคมนาคมและ Digital Service ที่มุ่งตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ มุ่งมั่นส่งเสริมและพัฒนาการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมายกระดับทั้งภายในองค์กร และคุณภาพชีวิตของคนไทย การร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับ กฟภ. ในครั้งนี้ มีเป้าหมายร่วมกันเพื่อเป็นโครงการต้นแบบของการร่วมมือกันดำเนินการศึกษาด้านการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เช่น การติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Rooftop การบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System)  ด้วย Digital Platform ของ กฟภ. การใช้งานโครงข่ายเทคโนโลยีทรัพยากรด้านการสื่อสาร รวมทั้งการนำ Digital Technology ของ NT มาสนับสนุนให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน โดยนำเทคโนโลยีมาปรับให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาวะการใช้งานภายในพื้นที่ของ NT เพื่อเป็นประโยชน์ทางด้านการผลิตพลังงานสะอาดในรูปแบบต่างๆ ซึ่งการร่วมมือกันนี้ตอบโจทย์การยกระดับและการขับเคลื่อนโครงการจัดการพลังงานในองค์กรให้มีความปลอดภัย สะดวก คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด

นายศุภชัย เอกอุ่น ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เผยว่า กฟภ. มีนโยบายในการสนับสนุนเรื่องของการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยมาปรับใช้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และเหมาะสมกับการใช้งาน รวมถึงการนำพลังงานสะอาดมาใช้ทดแทนในส่วนของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้กับสถานประกอบการ โดยความร่วมมือในครั้งนี้เป็นต้นแบบให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เป็นการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างรัฐวิสาหกิจที่จะช่วยลดความซ้ำซ้อนในการลงทุน ในการนำศักยภาพที่มีนำมาต่อยอด โดย กฟภ. จะอำนวยความสะดวกในการดำเนินการโครงการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Rooftop  โครงการจัดหายานพาหนะไฟฟ้า (Electric Vehicle) ระบบอัดประจุไฟฟ้า (EV Charging Faclity) รวมทั้งการบริหารจัดการพลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ที่อาจจะเกิดเหตุขัดข้องของอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือชำรุดเสียหายอย่างกะทันหัน Corrective Maintenance (CM) และเชิงป้องกัน Preventive Maintenance (PM) รวมถึงสนับสนุนและอำนวยความสะดวกจัดหายานพาหนะไฟฟ้า (Electric Vehicle) ตามความต้องการในการใช้งานอีกด้วยก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติอย่างยั่งยืนต่อไป

ทั้งนี้ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากความร่วมมือในครั้งนี้นอกเหนือไปจากการสำรวจ ออกแบบ และกำหนดมาตรการประหยัดพลังงาน การกำหนดคุณสมบัติอุปกรณ์ การจัดหาอุปกรณ์ และการได้รับอุปกรณ์ไฟฟ้าใหม่ที่มีประสิทธิภาพทดแทนไว้ใช้งาน และที่สำคัญเกิดการประหยัดพลังงานไฟฟ้าที่เกิดขึ้นแล้ว ยังสามารถลดงบประมาณด้านการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าได้อีกด้วย และสามารถนำข้อมูลที่ได้มาวิจัยและพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

Comments

comments