NT เปิดแผนโครงการท่อร้อยสายใต้ดินปี 2566 ร่วมมือกับ กฟน. กฟภ. องค์กรภาครัฐ และเอกชน
จัดระเบียบสายสื่อสารลงใต้ดิน มุ่งต่อยอดโอกาสในธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานพร้อมพัฒนาบทบาทเป็น
Neutral Operator และ Neutral Last Mile Provider สร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ รองรับการให้บริการ Broadband และ Data Service สำหรับผู้ประกอบการโทรคมนาคม เพื่อให้มีการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน

นายมรกต เธียรมนตรี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT เปิดเผยว่า “ด้วยศักยภาพความพร้อมของท่อร้อยสายใต้ดินของ NT ที่มีอยู่แล้ว 4,450 กิโลเมตร แบ่งเป็นท่อร้อยสายในพื้นที่นครหลวง 3,600 กิโลเมตร และภูมิภาค 850 กิโลเมตร จึงทำให้ NT เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการนำสายสื่อสารลงใต้ดินร่วมกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.)  การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กรุงเทพมหานคร (กทม.)  เทศบาล และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น รวมทั้งสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย โดย NT ให้บริการให้เช่าใช้ท่อร้อยสายใต้ดินกับหน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการโทรคมนาคม แทนการพาดสายสื่อสัญญาณต่างๆ ผ่านเสาไฟฟ้าของ กฟน. และ กฟภ. พร้อมกับ NT มีแนวทางพัฒนาบทบาทเป็น Neutral Operator และ Neutral Last Mile Provider รองรับการให้บริการ Broadband และ Data Service สำหรับผู้ประกอบการโทรคมนาคม เพื่อให้มีการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน เป็นการลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน และมีการใช้ทรัพยากรของรัฐที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยแผนการดำเนินงานนำสายสื่อสารลงท่อร้อยสายใต้ดินในปี 2566 จะสอดคล้องกับแผนงานของ กสทช. กฟน. กฟภ. กทม. เทศบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดระเบียบสายสื่อสารเพื่อปรับสภาพภูมิทัศน์ของบ้านเมืองให้มีสภาพเรียบร้อยสวยงาม เพิ่มศักยภาพและความปลอดภัยของโครงข่ายสื่อสารจากอุบัติเหตุ ซึ่งประกอบด้วยแผนงาน ดังนี้

  1. แผนงานโครงการปรับเปลี่ยนสายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงใต้ดิน เพื่อรองรับการเป็นมหานครอาเซียน จำนวน 39 เส้นทาง ระยะทาง ประมาณ 127 กม. โดยมีแผนที่จะดำเนินการในปี 2566 เช่น ถนนอังรีดูนังต์ ถนนหลังสวน ถนนวิทยุ ถนนพระราม 4 ถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนลาดพร้าว ถนนพหลโยธิน ถนนรามคำแหง ถนนศรีนครินทร์ เป็นต้น
  2. แผนงานโครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดิน ตามนโยบายสำนักงาน กสทช. โดยมีแผนในปี 2566 เช่น ถนนมหาราช ถนนอโศก ถนนรัชดาภิเษก ถนนอิสรภาพ เป็นต้น
  3. แผนงานโครงการร่วมกับ กทม. เส้นทางปรับปรุงทางเท้า 13 เส้นทาง เช่น ถนนเยาวราช
    ถนนสุทธิสาร (อินทามระ) ถนนพระราม 4 เป็นต้น
  4. แผนงานโครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็นเคเบิลใต้ดินของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เช่น นครราชสีมา เชียงใหม่ เชียงราย ระนอง หนองคาย ชลบุรี ภูเก็ต พัทยา หาดใหญ่ เป็นต้น
  5. แผนงานโครงการ 1 จังหวัด 1 ถนนเฉลิมพระเกียรติ ส่วนต่อขยาย
  6. แผนงานโครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดินบริเวณฐานทัพเรือสัตหีบ ตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกองทัพเรือ กับ NT ซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจโดยมีสนามบินอู่ตะเภาและชุมชนถนนสุขุมวิท ได้ดำเนินการไปแล้ว 2 เส้นทาง ยังเหลืออีก 7 เส้นทาง

ตั้งแต่ปี 2565 ที่ผ่านมา NT มีการจัดระเบียบสายสื่อสารไปแล้วหลายเส้นทาง โดยเฉพาะมีการจัดระเบียบสายสื่อสารแบบการใช้โครงข่ายปลายทางร่วมกัน (Single Last Mile) เพื่อลดจำนวนการพาดสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้า โดยผู้ประกอบการโทรคมนาคมลงทุนในส่วนของโครงข่ายโทรคมนาคมหลัก (Core) และ NT เป็นผู้ลงทุนในส่วนของโครงข่ายโทรคมนาคมปลายทาง (Last Mile) เข้าสู่บ้านเพื่อให้บริการลูกค้าทั้งแบบแขวนอากาศและแบบอยู่ใต้ดิน โดยมีการสร้างจุดเชื่อมต่อจากโครงข่ายหลัก (Core) เข้าสู่บ้านเรือนหรืออาคารของผู้ใช้บริการเป็นการรองรับการใช้งานของผู้ให้บริการและลดการลงทุนซ้ำซ้อนของผู้ให้บริการ ตอบโจทย์ความมั่นคง และมีเสถียรภาพทางการสื่อสารและโทรคมนาคม สามารถใช้ทรัพยากรของประเทศร่วมกัน (Infrastructure Sharing) ซึ่งปัจจุบันได้มีการดำเนินการในรูปแบบ Single Last Mile แขวนบนอากาศบริเวณพื้นที่ ถนนนาคนิวาส กรุงเทพมหานคร และ Single Last Mile แบบลงท่อร้อยสายใต้ดิน บริเวณพื้นที่ถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร ถนนพัทยาเหนือ จังหวัดชลบรี ถนนอุดรดุษฎีและถนนโพธิ์ศรี เทศบาลเมืองอุดรธานี และมีแผนการดำเนินการในอีกหลายพื้นที่ เช่น ถนนเยาวราช

การดำเนินงานในการนำสายสื่อสารลงท่อร้อยสายใต้ดินที่ผ่านมา เป็นการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน (Infrastructure Sharing) ช่วยลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อนและลดต้นทุนของผู้ประกอบการ โดยมีการใช้ทรัพยากรของประเทศร่วมกันทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ช่วยให้ระบบสื่อสารโทรคมนาคมมีความมั่นคงและมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

การดำเนินงานในการนำสายสื่อสารลงท่อร้อยสายใต้ดินที่ผ่านมาเป็นการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมของ NT ร่วมกัน (Infrastructure Sharing) ช่วยลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน และลดต้นทุนของผู้ประกอบการ โดยมีการใช้ทรัพยากรของประเทศร่วมกันทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ช่วยให้ระบบสื่อสารโทรคมนาคมมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ไม่มีสายสัญญาณร่วงหล่นสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ลดความไม่เป็นระเบียบของสายสื่อสาร ช่วยปรับสภาพภูมิทัศน์ของบ้านเมืองให้มีสภาพเป็นระเบียบ เรียบร้อย สวยงาม” นายมรกต กล่าวสรุป

 

Comments

comments