ในโลกปัจจุบันการเรียนรู้ในวงการต่างๆ ด้วยเครื่องมือเสมือนจริง นับว่าได้รับความนิยมเพิ่มมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงวงการแพทย์ ที่ล่าสุด บริษัท เอเวอร์ เมดิคอล เทคโนโลยี จำกัด เฮลท์เทคสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ที่ต้องการให้คนทั่วโลกมีชีวิตที่ขึ้นด้วยการใช้เทคโนโยลีและนวัตกรรมใหม่ ได้ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยกระดับการให้บริการทางการแพทย์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนด้วยรูปแบบ VR บนแพลตฟอร์ม MDCU MedUMORE ในการสนับสนุนและพัฒนางาน ระบบการฝึกใช้งานเครื่องมือแพทย์โดยใช้เทคโนโลยีการจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริงแบบ 3 มิติ (3D Virtual Reality) โดยจัดขึ้น ในวันพุธที่ 7 มิถุนายน 2566 ณ ห้ององค์กรแพทย์ ชั้น 4 อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

รศ. นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงกับทาง EVER Medical Technology ที่จะช่วยให้การเรียนการสอนของนิสิตแพทย์ปัจจุบันเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยเราร่วมมือในส่วนการทำ 3D Virtual Reality (3D VR) ใน 2 โครงการ ได้แก่ 1) ระบบการฝึกต่อเครื่องฟอกไต โดยใช้เทคโนโลยีการจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริง

เนื่องด้วย เครื่องช่วยหายใจอัตราการไหลสูง (heated humidifed high flow nasal cannula) เริ่มมีการใช้แพร่หลายมากขึ้น และมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยกล่าวคือ ทำให้การหายใจของผู้ป่วยดีขึ้น และลดอัตราการใส่ท่อช่วยหายใจ อย่างไรก็ตาม การใช้อุปกรณ์นี้ผู้ดูแลต้องมีความรู้เกี่ยวกับกลไกการทำงานของอุปกรณ์ ตลอดจนมีทักษะในการใช้อุปกรณ์ การติดตามผู้ป่วยในระหว่างการใช้อุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสม จึงจะได้ผลการรักษาที่ดีและไม่มีภาวะแทรกซ้อน และ 2) ระบบการฝึกใช้งานเครื่องช่วยหายใจอัตราการไหลสูง โดยใช้เทคโนโลยีการจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริง ในปัจจุบันผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤต หรือ ICU มีภาวะแทรกช้อนไตวายเฉียบพลันสูงมากขึ้นเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยส่วนหนึ่งมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการบำบัดทดแทนตแบบต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง หรือที่ เรียกว่า Continuous Renal Replacement Therapy (CRRT) การทำ CRRT เป็นการฟอกไตที่มีกระบวนการที่ชับช้อน ต้องอาศัยความชำนาญสูง และสามารถทำได้เฉพาะในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ เช่น โรงเรียนแพทย์หรือโรงพยาบาลศูนย์ โดยความมุ่งหวังของการนำเทคโนโลยี 3D Virtual Reality มาใช้ในครั้งนี้เอง ถือเป็นการนำร่องให้ผู้เรียนได้รับรู้ และสามารถฝึกทักษะได้ด้วยตัวเองอย่างถูกต้อง และรักษาผู้ป่วยในอนาคตได้อย่างมั่นใจ

ด้าน นายภาณุสิชฌ์ ชมะนันทน์ กรรมการผู้มีอำนาจ บริษัท เอเวอร์ เมดิคอล เทคโนโลยี จำกัด กล่าวว่า มีความภูมิใจเป็นอย่างมาก ในการที่เทคโนโลยีเหล่านี้จะมีคุณประโยชน์กับเหล่านิสิต นักศึกษาแพทย์ ในอนาคต ตามความมุ่งหวังของเอเวอร์ฯ ที่เราเป็นสตาร์ทอัพช่วยให้คนทั่วไปมีชีวิตที่ดีขึ้นได้ด้วยการยกระดับบริการทางการแพทย์ ครั้งนี้ ถือเป็นโจทย์ที่ท้าทาย ที่เราได้มีการพูดคุยกันหลายครั้งถึงเพนพ้อยท์ ในการเรียนการสอน ที่จะมีขึ้นให้กับบุคลากรทางการแพทย์ จึงเป็นที่มาของการพัฒนาร่วมกันในการเตรียมระบบ CRRT แบบเสมือนจริง ตั้งแต่ขั้นตอนแรก จนถึงขั้นตอนสุดท้าย ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยขึ้น โดยผู้เรียนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ทุกสถานที่ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาที่โรงพยาบาลเพื่อฝึกอบรม ในท้ายที่สุดประโยชน์ที่เกิดขึ้นจะได้ส่งผลต่อการดูแลผู้ป่วย ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การจัดทำสื่อการเรียนรู้เสมือนจริงนี้จะเป็นอีกเครื่องมือที่สำคัญให้กับบุคลการที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสเพิ่มความรู้ความชำนาญเป็นอย่างดียิ่ง นอกจากนั้น ทางเอเวอร์ฯ เอง ยังไม่หยุดในการพัฒนาสิ่งที่จะช่วยตอบโจทย์ด้านการแพทย์ให้ดียิ่งขึ้น

ภายในงานแถลงข่าว ยังได้รับเกียรติจาก รศ. นพ.ณัฐชัย ศรีสวัสดิ์ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคไตในภาวะวิกฤต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, รศ. พญ.สุชาดา ศรีทิพยวรรณ หัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ มาร่วมบอกเล่าถึงความร่วมมือดังกล่าว นอกจากนั้น ยังมีเหล่าคนดังมาร่วมภายในงานและชมสาธิตการทดลองอุปกรณ์ดังกล่าว อีกด้วย

บริษัท เอเวอร์ เมดิคอล เทคโนโลยี จำกัด ยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อยกระดับบริการทางการแพทย์ สำหรับผู้ที่สนใจหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถคอนเน็คไปยังแพลตฟอร์ม Ever Healthcare ที่รวบรวมโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำทั่วโลกไว้ในมือถือคุณได้แล้ววันนี้ เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชันโดยค้นหาคำว่า “Ever” ทั้งใน Apple Store และ Google Play ศึกษาข้อมูล และรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัท เอเวอร์ เมดิคอล เทคโนโลยี จำกัด ได้ที่เว็บไซต์ www.evernetwork.io และ https://ever.healthcare

 

Comments

comments