ทรู คอร์ปอเรชั่น นำศักยภาพบริษัทโทรคมนาคม-เทคโนโลยีชั้นนำอันดับ 1 ของไทย พร้อมร่วมขับเคลื่อนไทยสู่โอกาสดิจิทัลบนเวทีโลก พร้อมชูทรานสฟอร์มดิจิทัลให้สำเร็จต้องลุยแผน ‘CTPaP’ – 5 ปัจจัยขับเคลื่อนพร้อมกันทั้ง Connectivity -การเชื่อมต่อ, Technology -เทคโนโลยี, P – Platform as a Service -บริการแพลตฟอร์มบนคลาวด์, Analytics & Artificial Intelligence – การวิเคราะห์และปัญญาประดิษฐ์ และ People – คน  เสริมแกร่งไทยสู่ผู้นำเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาค SEA และปูทางไทยรับโอกาสเศรษฐกิจดิจิทัลโลกมูลค่า 1ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ

วิสัยทัศน์ดิจิทัลและอุปสรรคที่ยังเป็นความท้าทาย

ประเทศไทยมีพื้นฐานโครงสร้างดิจิทัลที่แข็งแกร่งและมีอัตราการใช้งานดิจิทัล (Digital Adoption Rate) ที่สูง และมีโอกาสสร้างการเติบโตจากเศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) จากการคาดการณ์พบว่าในปี 2573 มูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีโอกาสเติบโตสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หากภูมิภาค SEA สามารถสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนได้ (ข้อมูลจาก Bain & Company) ทั้งนี้ เศรษฐกิจดิจิทัลของไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของ SEA เป็นรองแค่อินโดนีเซีย สัดส่วนดิจิทัลต่อ GDP ไทยนั้นอยู่ประมาณ 12% ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างสูง (เศรษฐกิจดิจิทัลคิดเป็น 15% ของ GDP โลก) อนึ่งรัฐบาลไทยตั้งเป้าให้เศรษฐกิจดิจิทัลสร้าง 30% ของ GDP ในปี 2570 อย่างไรก็ดี ยังมีความท้าทายบางประการที่ประเทศไทยต้องรับมือ ในการคว้าโอกาสสูงสุดจากการขยายตัวเศรษฐกิจดิจิทัล

นาย มนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ที่ผ่านมา แม้ประเทศไทยจะมีอัตราการใช้งานดิจิทัลที่สูง เรามีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ดี และสัดส่วนเศรษฐกิจดิจิทัลต่อ GDP ในระดับที่น่าพึงพอใจ แต่การจะสร้างโอกาสอย่างยั่งยืนจากเศรษฐกิจดิจิทัลที่อาจเติบโตสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐนั้น ประเทศไทยต้องเร่งยกระดับความสามารถทางการแข่งขันด้านดิจิทัลของอุตสาหกรรมต่างๆ และบุคลากร เนื่องจากปัจจุบัน ประเทศไทยยังมีเป็นผู้บริโภคมากกว่าผู้ผลิตในเศรษฐกิจดิจิทัล ทำให้รายได้หลักในระบบนิเวศดิจิทัลไหลไปสู่มือผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างประเทศ นำไปสู่ ‘การขาดดุลทางดิจิทัล’ กระทบต่อความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัลของประเทศไทย”

เศรษฐกิจของประเทศไทยในยุคหลังโควิด-19

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในยุคหลังโควิด-19 พบว่ามีความท้าทายต่ออัตราการเติบโตของ GDP ของประเทศไทยในปีที่ผ่านมาให้เติบโตช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านเช่น มาเลเซีย, เวียดนาม หรือฟิลิปปินส์ ซึ่งมีอัตราการเติบโตหลังโควิด-19 สูงกว่า ทั้งหมดนี้ยืนยันความจำเป็นในการทรานสฟอร์มให้ไทยเร่งก้าวสู่ดิจิทัลทั้งอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการธุรกิจ และประชาชนทั่วไป

นาย มนัสส์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ตอนนี้การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital transformation) เป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับประเทศไทย กล่าวคือ เป็น ‘a must’ ที่ต้องทำทันที ไม่ใช่ ‘a choice’ หรือทางเลือกอีกต่อไป ซึ่งการจะเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไทย และประเทศไทยสู่การเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลเต็มรูปแบบให้สำเร็จนั้น ต้องอาศัยความพร้อมของ ‘building block’ ทำ 5 สิ่งนี้พร้อมกัน ได้แก่ Connectivity, Technology, Platform as a Service , Analytics & Artificial Intelligence และ People (โมเดล CTPaP) ซึ่งทรู คอร์ปอเรชั่นพร้อมจะเป็นผู้นำในการผลักดันทุกบริบทของไทยและร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อทำให้ประเทศไทยสามารถสร้างโอกาสสูงสุดจากเศรษฐกิจดิจิทัลในระดับโลก”

ทรูคอร์ปอเรชั่นชู ‘CTPaP’ องค์รวม 5 ปัจจัยทรานฟอร์มประเทศไทยสู่เศรษฐกิจดิจิทัล

C – Connectivity (การเชื่อมต่อ): บริการการเชื่อมต่อนั้นเป็นตัวกลาง (enabler) สำคัญในการเข้าถึงบริการดิจิทัลและข้อมูลข่าวสารต่างๆ ซึ่งการจะเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัลนั้น การมีบริการการเชื่อมต่อที่มีคุณภาพ มีความสเถียรแม่นยำ และประชากรสามารถเข้าถึงได้ นั้นเป็นหัวใจสำคัญ เป็นสาเหตุที่ทรู คอร์ปอเรชั่นให้ความสำคัญการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในประเทศไทยให้ได้มาตรฐานระดับโลก ครอบคลุมทั้ง 5G และบรอดแบนด์ โดยปัจจุบัน ทรู คอร์ปอเรชั่นมีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเติบโตสู่เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยเต็มรูปแบบ ทั้ง โมบายล์และบรอดแบรนด์ โดยปัจจุบันโครงข่าย 4G ของทรู-ดีแทค นั้นครอบคลุมประชากร 99% และโครงข่าย 5G ของทรู-ดีแทคนั้นครอบคลุมประชากร 86% และตั้งเป้าขยายให้ถึง 97% ภายในปี 2568

T – Technology (เทคโนโลยี): ทรู คอร์ปอเรชั่นมุ่งเดินหน้าทรานฟอร์มธุรกิจไทยสู่ความเป็นเทคคอมปานี เพื่อขับเคลื่อนและใช้ประโยชน์ของเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มที่ โดยอาศัยพลังของเทคโนโลยีในระบบนิเวศ อาทิ AI, Blockchain, IoT, Robotics และ Quantum Computing พร้อมทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้คนไทยและทุกองค์กรพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีอย่างเต็มที่ ซึ่งจะส่งผลให้ 1. รายได้เติบโตเพิ่มขึ้น 2. เพิ่มประสิทธิภาพและสร้างผลิตภัณฑ์ (Productivity) ที่สูงขึ้น และ 3. การบริหารจัดการต้นทุนที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมทั้งให้ความสำคัญ API Economy ที่จะช่วยเร่งภาคธุรกิจไทยทรานสฟอร์มสู่การเป็นองค์กรดิจิทัลที่เติบโตอย่างยั่งยืน ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลให้ล้ำหน้าทัดเทียมนานาชาติ โดยทรู คอร์ปอเรชั่นยังได้ร่วมกับ GSMA พัฒนา Open Gateway API ยกระดับนวัตกรรม มาตรฐานความปลอดภัย และประสบการณ์ของผู้ใช้งานอีกด้วย

P – Platform as a Service (บริการแพลตฟอร์มบนคลาวด์): เป็นการพัฒนาแพลตฟอร์มให้สมบูรณ์แบบเพื่อสร้างประโยชน์สูงสุด โดยทรู คอร์ปอเรชั่น ให้ความสำคัญ 3 ปัจจัย คือ 1. Digital Media ซึ่งปี 2565 ที่ผ่านมาคนไทยใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 6 หมื่น 8 พันล้านบาท (เติบโต 12% จากปีก่อน) จากคอนเทนต์วิดีโอเกมและ video on demand 2. Digital Home: ในปี 2565 ซึ่งจำนวนบ้านของคนไทยที่มีอุปกรณ์ Smart Home มีจำนวน 2.9 ล้านหลัง เติบโตขึ้นจากปีก่อน 11.9% และ 3. Digital Health ที่มีศักยภาพเป็น the new S-Curve ใหม่ของประเทศไทย ซึ่งทรู คอร์ปอเรชั่นมุ่งมั่นยกระดับมาตรฐาน Telemedicine ให้เทียบเท่าโรงพยาบาลเอกชนผ่านแอปหมอดี พร้อมสร้างโอกาสการเติบโตทวีคูณของ Digital health ผ่านการต่อยอดความร่วมมือกับอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ ประกัน ธนาคาร อุตสาหกรรม IoT ธุรกิจขนส่ง ไปจนถึงภาครัฐ เพื่อนำบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพและเข้าถึงได้มาสู่คนไทยทุกคน

a-Analytics & Artificial Intelligence (การวิเคราะห์และปัญญาประดิษฐ์): เปิดองค์ความรู้จากดาต้าเพื่อเจาะลึกถึงปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้งานสู่การสร้างสรรค์หรือนวัตกรรม พร้อมทั้งสนับสนุนภาครัฐในการนำAnalytics Capabilities มาวิเคราะห์เชิงรุกกำหนดนโยบายสาธารณะ สู่กำหนดโครงสร้าง e-government หรือใช้ insights ที่สามารถออกแบบแผนและแก้ไขปัญหาได้จริง ทั้งหมดนี้ต้องเริ่มด้วย digitization ขององค์กรสู่การเปลี่ยนผ่านใช้ระบบดิจิทัลและ AI แห่งอนาคตได้

P – People (คน): ทรู คอร์ปอเรชั่นชี้ชัดว่า “คน” เป็นปัจจัยชี้วัดสำคัญที่จะทำให้การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลสำเร็จหรือล้มเหลว การเร่งยกระดับทักษะของพนักงานให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงกลายเป็นวาระเร่งด่วน โดยสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ระบุว่า 44% ของทักษะที่เป็น core skills ที่ใช้ทุกวันนี้จะล้าสมัยในอีก 5 ปีข้างหน้า และจะมีอาชีพใหม่ๆ ในสายงานดิจิทัลเกิดขึ้นอีกมากมาย ทรู คอร์ปอเรชั่น จึงเดินหน้าอัปสกิลและรีสกิลพนักงานให้มีทักษะตอบโจทย์กับศตวรรษที่ 21 และสามารถทำงานกับ AI อย่างสร้างสรรค์

วิสัยทัศน์ของทรู คอร์ปอเรชั่น จากการรวมจุดแข็งระหว่างทรูและดีแทค  เพิ่มศักยภาพความพร้อมอย่างเต็มที่ในฐานะบริษัทโทรคมนาคม-เทคโนโลยีชั้นนำอันดับ 1 ของไทย โดยมุ่งมั่นยกระดับการดำเนินงาน และส่งมอบคุณค่าที่ดียิ่งกว่าสู่ผู้บริโภคและภาคธุรกิจ การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทย พร้อมสร้างโอกาสใหม่สู่ประเทศไทยให้เติบโตต่อเนื่องในเศรษฐกิจดิจิทัลบนเวทีโลก

Comments

comments