ซัมซุงเปิดงานซัมซุง AI ฟอรัม 2023 เพื่อเป็นพื้นที่นำเสนอความก้าวหน้าล่าสุดด้าน AI และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างเทคโนโลยี เซมิคอนดักเตอร์ในยุคต่อไปของซัมซุง โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้าน AI และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จากทั่วโลกเข้าร่วมกว่า 1,000 คน
งานวันแรกของฟอรัมจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 7 ที่ศูนย์ประชุมซูวอน จังหวัดคยองกี ประเทศเกาหลี โดยจัดภายใต้หัวข้อหลัก “Large-scale AI for a better tomorrow” โดยมีสถาบันเทคโนโลยีขั้นสูงของซัมซุง SAIT (the Samsung Advanced Institute of Technology) เป็นเจ้าภาพ ในขณะที่งานวันที่สองนั้น จัดขึ้นโดยมีซัมซุงรีเสิร์ชเป็นเจ้าภาพ ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาของซัมซุงในกรุงโซล ประเทศเกาหลี
คเย ฮยุน คยุง ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของแผนกโซลูชันอุปกรณ์ ซัมซุงอิเลคโทรนิคส์ กล่าวในตอนหนึ่งของคำกล่าวเปิดงานว่า “ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เทคโนโลยีGenerative AI เป็นสิ่งที่กำลังถูกจับตามอง เนื่องจากเทคโนโลยีนี้ช่วยเสริมศักยภาพให้เราสามารถค้นพบโซลูชันใหม่ๆ หรือแก้ไขอุปสรรคที่แก้ไขไม่ได้มานาน อย่างไรก็ดีความต้องการในการวิจัยเชิงลึกทั้งด้านความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ และความยั่งยืนของ AI นั้นก็เพิ่มสูงขึ้นไปพร้อมกันด้วย”
ผู้พูดหลักในงาน SAIF 2023 จากซ้ายไปขวา; ศาสตราจารย์โยชัว เบนจิโอ มหาวิทยาลัยมอนทรีออล,คเย ฮยุน คยุง ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แผนกโซลูชันอุปกรณ์ ซัมซุงอิเลคโทรนิคส์, จิม เคลเลอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เทนส์ทอร์เรนท์
งานในวันแรกนั้นได้พูดถึงสองหัวข้อหลัก ดังนี้ ความปลอดภัยของ AI โดยศาสตราจารย์โยชัว เบนจิโอ จากมหาวิทยาลัยมอนทรีออล เสนอแนวทางการใช้การเรียนรู้ของเครื่องจักรเพื่อปกป้องโมเดลภาษาขนาดใหญ่ไม่ให้พัฒนาไปสู่ทิศทางที่ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้พัฒนา และการพัฒนาสารกึ่งตัวนำโดยใช้โมเดลภาษาขนาดใหญ่ โดย จิม เคลเลอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเทนส์ทอร์เรนท์ เสนอแนวทางการใช้สถาปัตยกรรมชุดคำสั่งระบบเปิด (open instruction set architecture) สำหรับหน่วยประมวลผลประเภท RISC-V เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมด้านการออกแบบฮาร์ดแวร์ของ AI
ในงานวันที่สองนั้นมีทีมงานของซัมซุงรีเสิร์ชเป็นผู้นำและมี Generative AI เป็นหัวใจหลักของงาน การเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี Generative AI ถือเป็นการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ที่คาดหมายกันว่าจะปรับเปลี่ยนทั้งวิถีชีวิตและการทำงานจึงได้มีการจัดฟอรัมที่มีผู้เชี่ยวชาญด้าน AI จากหลากหลายอุตสาหกรรมและจากแวดวงวิชาการมาร่วมอภิปรายแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนา นำเสนอเทรนด์ล่าสุดทางเทคโนโลยี และซัมซุงเกาส์ โมเดล Generative AI ที่พัฒนาโดยซัมซุงรีเสิร์ช
“เรายังคงมุ่งมั่นสนับสนุนและร่วมมือทางด้าน Generative AI กับทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาควิชาการ” แดฮยุน คิม รองประธานบริหารของศูนย์ AI สากล ซัมซุงรีเสิร์ช (the Samsung Research Global AI Center) กล่าวในตอนหนึ่งของคำกล่าวเปิดงาน
ในช่วงการอภิปรายช่วงแรกของภาคเช้า ดร. ฮยุง วอน ชุง จาก OpenAI บริษัทวิจัยและประยุกต์ใช้ AI อธิบายถึงกระบวนการทำงานของโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (large language models – LLMs) ในช่วงหนึ่งของคำกล่าวหัวข้อ “โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (ในปี 2023)” อีกทั้งยังกล่าวถึงอุปสรรคที่ OpenAI พบในแต่ละขั้นตอน และยังคาดการณ์ทิศทางในอนาคต ตามด้วย เจสัน เหว่ย นักวิจัยของ OpenAI และผู้เขียนบทความวิจัยเรื่อง “ห่วง-โซ่-ความคิดChain-of-Thoughts” นำเสนอถึงเหตุผลที่โมเดลภาษาขนาดใหญ่จะช่วยผลักดันการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านAI ในการนำเสนอหัวข้อ “กระบวนทัศน์ใหม่ในยุครุ่งเรืองของโมเดลภาษาขนาดใหญ่ – New Paradigms in the Large Language Model Renaissance.”นอกจากนี้ ฮองซุก เซา ศาสตราจาย์จากมหาวิทยาลัยเกาหลี ขึ้นกล่าวในหัวข้อ “ก้าวสู่ AI แบบมัลติโมเดลที่สนทนาได้ — Towards multimodal conversational AI.” โดยนำเสนอเทรนด์ต่างๆ ด้าน AIแบบมัลติโมเดล ซึ่งสามารถประมวลผลข้อมูลหลากหลายประเภท รวมไปถึงข้อความและภาพได้พร้อมกัน ซึง วอน ฮวาง ศาสตราจาย์จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล ได้นำเสนอกระบวนการค้นหาและกระบวนการสร้างโค้ดที่มีประสิทธิภาพโดยมีรากฐานจาก Generative AI โดยมีทีมของ ศาสตราจาย์กุนแฮ ร่วมสาธิตการใช้กระบวนการมัลติโมเดลเพื่อช่วยกระบวนการการให้เหตุผลเชิงปริภูมิ (spatial reasoning)ร่วมด้วยศาสตราจาย์มินจอน โซ จากสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงแห่งเกาหลี (the Korea Advanced Institute of Science and Technology — KAIST) แนะนำเกี่ยวกับขีดความสามารถทางการประเมินผลแบบละเอียดที่อยู่ในโมเดลภาษาต่างๆ นอกจากนี้ยังมีทีมงานนำโดย ศาสตราจาย์จองฮยุน ชอย จากมหาวิทยาลัยยอนเซ ขึ้นกล่าวเกี่ยวกับเทคโนโลยีการเปลี่ยนข้อความเป็นภาพ ซึ่งใช้เทคโนโลยีเพื่อทำความเข้าใจบริบทในหลากหลายประโยคที่ยาวและซับซ้อนให้เป็นภาพ ผู้ร่วมงานจะได้รับชมการนำเสนอซัมซุงเกาส์และเทคโนโลยี AI ซึ่งโมเดลปัญญาประดิษฐ์ของซัมซุงประกอบด้วยส่วนโมเดลภาษา (Samsung Gauss Language) โมเดลโค้ด (Samsung Gauss Code) และโมเดลด้านภาพ (Samsung Gauss Image) โดยชื่อซัมซุงเกาส์มาจากชื่อของคาร์ล ฟริดริช เกาส์ นักคณิตศาสตร์ระดับตำนานผู้คิดค้นทฤษฎีการแจกแจงแบบปกติ (normal distribution theory) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ด้วยเครื่องจักรและAI การใช้ชื่อซัมซุงเกาส์ยังสะท้อนถึงวิสัยทัศน์สูงสุดของซัมซุงสำหรับโมเดล AI เหล่านี้ โดยใช้ปรากฎการณ์และความรู้ทั่วมาช่วยยกระดับวิถีชีวิตของผู้บริโภคทั่วโลก
โมเดลภาษา (Samsung Gauss Language) เป็นโมเดล Generative ด้านภาษาที่ช่วยยกระดับประสิทธิภาพการทำงานโดยช่วยเสริมการทำงานต่างๆ เช่น การเขียนอีเมล สรุปเอกสาร และแปลเนื้อหา นอกจากนี้ เมื่อผสานโมเดลนี้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆ โมเดลนี้ยังช่วยเสริมประสบการณ์ให้กับผู้บริโภคโดยช่วยให้ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ได้แบบอัจฉริยะมากยิ่งขึ้นโมเดลโค้ด Samsung Gauss Code และระบบช่วยโค้ด (code.i) ทำงานโดยใช้โมเดลซัมซุงเกาส์ โค้ดเป็นพื้นฐานเพื่อพัฒนาสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ของซัมซุง โมเดลนี้ช่วยให้นักพัฒนาสามารถเขียนโค้ดได้ง่ายและเร็วขึ้น โมเดลนี้รองรับฟีเจอร์ต่างๆ เช่น การอธิบายโค้ด และการสร้างกรณีทดสอบต่างๆ โดยใช้ส่วนประสานผู้ใช้แบบอินเตอร์แอคทีฟ โมเดลด้านภาพ Samsung Gauss Image เป็นโมเดล Generative ด้านภาพที่สามารถสร้างและแต่งภาพแบบครีเอทีฟได้ รวมถึงการเปลี่ยนสไตล์และแต่งเติมสิ่งต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถปรับเปลี่ยนภาพจากความละเอียดต่ำให้สูงขึ้นได้ ปัจจุบันซัมซุงนำซัมซุงเกาส์ มาใช้เพื่อเพิ่มผลิตภาพให้กับพนักงาน และพร้อมจะขยายการใช้งานไปสู่ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของซัมซุงเพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานใหม่ๆ ในอนาคตอันใกล้ ซัมซุงไม่เพียงแต่พัฒนาเทคโนโลยี AI แต่ยังพัฒนาโครงการต่างๆ ที่จะช่วยให้การใช้AIเป็นสิ่งที่ปลอดภัย โดยทีมเอไอเรดทีม (AI Red Team) ของซัมซุงจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถกำจัดหรือติดตามภัยคุกคามทั้งด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยที่อาจจะเกิดขึ้นในกระบวนการพัฒนาทุกขั้นตอน ทั้งการรวบรวมข้อมูลไปจนถึงการพัฒนาโมเดล AI การเริ่มประยุกต์ใช้โมเดล และผลลัพธ์ที่มาจาก AI โดยคำนึงถึงหลักการจริยธรรมด้าน AI