ในยุคที่คอนเทนต์ How to แนะนำวิธีสร้างความสุขมีมากมาย ความสุขของผู้คนคืออะไร
ข้อมูลจาก Social Listening สำรวจเจาะลึกในช่วงเวลา 3 เดือน (กันยายน – พฤศจิกายน) ระบุว่า ในสังคมออนไลน์มีการพูดถึง “ความสุข” มากกว่า 1 ล้านข้อความ โดยมี Engagement มากกว่า 137.5 ล้าน สำหรับช่องทางที่มีการพูดถึงความสุขสูงสุดคือ Facebook อยู่ที่ 55% รองลงมาคือ X 24% และ Instagram 7% ตามลำดับ
เมื่อลงลึกในรายละเอียดของข้อมูล พบว่า ข้อความที่พูดถึงความสุขมีความหลากหลาย โดยสามารถสรุปเป็น 3 อันดับสูงสุด ดังนี้
อันดับ 1 ความสุขที่เกี่ยวกับครอบครัว สูงสุดถึง 29% เช่น การได้ใช้ชีวิตร่วมกับพ่อแม่ สามีภรรยา ลูก และเพื่อน
อันดับ 2 ความสุขที่เกี่ยวกับความบันเทิง อยู่ที่ 27% เช่น การไปดูคอนเสิร์ต ดูหนัง ฟังเพลง ติดตามศิลปิน
อันดับ 3 ความสุขด้านการท่องเที่ยว และการเงินการลงทุน มีเท่ากันที่ 9% เช่น การไม่มีหนี้ การใช้เงินขับเคลื่อนความสุข และการได้ไปท่องเที่ยวพักผ่อน
ความสุขของผู้คนที่หลากหลายนี้เอง เป็นหนึ่งสารตั้งต้นของหนังโฆษณา “dtac True 5G Happiness Express” ที่ตั้งใจอยากสื่อสารความเป็นแบรนด์ในเชิงอารมณ์ที่มีความหมาย พร้อมไปกับสร้างรอยยิ้มให้กับผู้ชมในช่วงเวลาของเทศกาลปีใหม่ โดย 7 วันแรกหลังจากเปิดตัว หนังโฆษณาเรื่องนี้มียอดเข้าชมใน YouTube สูงถึง 3.9 ล้านวิว
สำหรับเบื้องหลังการสร้างสรรค์หนังโฆษณาเรื่องนี้ ทีมงานจากทรู คอร์ปอเรชั่น คือ ชนัทย์ พัฒนพิฑูรย์ Head of Brand Management Department และ คัคนานต์ บุณยรังสฤษฏ์ Executive Marketing Manager มาเป็นตัวแทนเล่าถึงกระบวนการคิด การตีโจทย์ กลยุทธ์ที่ใช้ในการสื่อสารและเล่าเรื่องราว ที่ทำให้ดีแทค ทรูสื่อสารถึงความสุขได้อย่างตรงใจผู้ชม
หนังโฆษณาที่ไม่ได้ขายความเป็นที่หนึ่งของเครือข่าย
หนังโฆษณา “dtac True 5G Happiness Express” ตั้งใจทำขึ้นภายใต้ไอเดียหลัก Better Together ชีวิตดีกว่าเมื่อมีกันและกัน อันเป็นคอนเซปต์สำคัญของการควบรวมทรู-ดีแทค โดยเลือกช่วงเวลาการเปิดตัวหนังโฆษณาเป็นช่วงสิ้นปี ไอเดียเริ่มต้นทีมทำงานจึงตั้งใจให้เป็นการฉลองปีใหม่ด้วยกันเป็นปีแรกของทั้ง 2 แบรนด์ และ 2 พรีเซนเตอร์ นาย – ใบเฟิร์น
ใจความหลักของหนังโฆษณาคือ ขายความเป็นเครือข่ายที่ดีที่สุดของดีแทค ทรู โดยไม่พูดถึงข้อมูลตัวเลขและความเป็นที่หนึ่ง แต่มุ่งเน้นการสื่ออารมณ์ความรู้สึกและความหมายของการที่เครือข่ายอยู่ในทุกมิติชีวิตของผู้คน ซึ่ง ชนัทย์ Project Leader เล่าว่าเป็นการตอกย้ำจุดยืนของแบรนด์ที่มีมาตั้งแต่ยุคเริ่มต้น
“ถ้ามองย้อนกลับไปดูหนังโฆษณาตั้งแต่ที่เป็นแบรนด์ Orange และโฆษณาแบรนด์ทรูในยุคแรกๆ จะเห็นว่าเราเน้นเรื่องราวที่เกี่ยวกับความรู้สึกและความหมายของชีวิตผู้คน ซึ่งตรงกับแนวคิดของทรู คอร์ปอเรชั่น ที่ท่านประธาน (ศุภชัย เจียรวนนท์) พูดเสมอคือ เทคโนโลยีของทรูจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง แต่ต้องทำให้ชีวิตของทุกคนดีขึ้น
“วันนี้เราจึงไม่ได้มองว่า เราขายแค่สัญญาณเครือข่าย แต่เป็นการพูดถึง Connectivity ของดีแทค ทรูที่มอบให้ลูกค้าทุกคน โดยเป็นการสื่อสารความสุขในทุกรูปแบบ ทั้งการโทร วิดีโอคอล ส่งข้อความ ส่งรูปภาพ ทั้งหมดเป็นการส่งความหมายและความรู้สึกไปให้คนที่เรานึกถึง”
ด้าน คัคนานต์ ในฐานะครีเอทีฟของโปรเจกต์ มีความตั้งใจว่าอยากทำหนังโฆษณาที่มากกว่าการให้ข้อมูลหรือบอกสิทธิพิเศษ “เราอยากทำหนังโฆษณาเรื่องนี้ให้น่าจดจำและมีความหมาย แต่ตอกย้ำความเป็นดีแทค ทรู ที่ไม่ได้บอกว่าเราเป็นที่หนึ่งในด้านไหน มีความเร็วแรงสปีดเท่าไหร่ หรือมีเสาทั้งหมดกี่ต้น แต่อยากสื่อภาพและอารมณ์ที่คนเข้าใจได้ง่ายที่สุด”
เน้นความหมายของการเป็นสัญญาณแห่งความสุข
เมื่อกำหนดการเปิดตัวหนังโฆษณาเรื่องเป็นช่วงเทศกาลปลายปีที่ทุกคนรอคอย ธีมที่เกิดขึ้นจึงหนีไม่พ้นเรื่องของการส่ง ‘ความสุข’ ซึ่งทีมงานพร้อมกับทีมครีเอทีฟต้องช่วยกันระดมสมองและตีโจทย์ให้ออกว่า จะเล่าเรื่องราวความสุขแบบไหนที่จะสะท้อนความเป็นแบรนด์ดีแทค ทรูได้ดีและแตกต่าง ท่ามกลางคีย์เวิร์ด “ความสุข” ที่ทุกแบรนด์ ทุกวงการต่างใช้สื่อสารในช่วงสิ้นปี
“สุดท้ายก็เกิดเป็นธีมที่ชัดเจนว่า ‘Happiness Express สัญญาณความสุข เร็ว แรง ทั่วไทย’ เพราะธุรกิจของดีแทค ทรูคือการสื่อสาร ที่ต้องมีสัญญาณ ธีมนี้ก็เหมาะกับเทศกาล สื่อถึงความสุข และผู้ชมเข้าใจแบรนด์ได้ง่ายที่สุด” คัคนานต์ สรุป
ในเชิงกลยุทธ์ ทีมครีเอทีฟเลือกใช้องค์ประกอบทำให้คนน่าจะชอบและเข้าถึงหนังโฆษณาได้ง่าย พร้อมไปกับการสื่อถึงแบรนด์ที่เป็นมากกว่าการให้บริการเครือข่าย แต่ทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสัญญาณความสุขให้กับทุกคน ดังนี้
Emotional Storytelling: เลือกใช้เรื่องราวที่เชื่อมโยงกับอารมณ์และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้ชมได้ โดยแสดงให้เห็นว่าเครือข่ายและเทคโนโลยีของ dtac True เชื่อมต่อและนำความสุขมาให้ชีวิตของผู้คน
Diversity and Inclusion: นำเสนอผ่านตัวละครที่หลากหลายและแตกต่าง ทั้งเพศ วัย ไลฟ์สไตล์ ให้เข้าถึงผู้ชมได้ในวงกว้าง ซึ่งก็เป็นตัวแทนของผู้ใช้งานที่มีความหลากหลาย และสื่อถึงผู้ชมแบบไม่จำกัดกลุ่ม
Technology Integration: ถึงในหนังโฆษณาจะเล่าเรื่องเชิงอารมณ์ แต่มีการผสานเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคดิจิทัลที่ศักยภาพของเครือข่าย dtac True ยกระดับการเชื่อมต่อสื่อสารที่มีความหมายได้ทุกรูปแบบ
Uplifting Atmosphere: บรรยากาศเฉลิมฉลองช่วงสิ้นปีทั้งภาพและเสียงเพลงที่สะท้อนถึงบรรยากาศอันอบอุ่น มีชีวิตชีวา และสร้างรอยยิ้มให้กับผู้คน
สำรวจความหมายที่ซ่อนอยู่ในหนังโฆษณา
หนึ่งในความสนุกของการทำหนังโฆษณาคือ ถอดรหัสสิ่งที่เป็นนามธรรมให้ออกมาเป็นรูปธรรม และนั่นก็เป็นอีกหนึ่งความยาก ที่จะเล่าเรื่องความเป็น Telco Tech Company อย่างไรให้มีความเป็นมนุษย์มากขึ้น พร้อมไปกับการมอบความสุข
คัคนานต์ เล่าในมุมของครีเอทีฟที่ต้องตีโจทย์ต่างๆ ออกมาเป็นภาพที่เห็นแล้วเข้าใจได้ทันที ซึ่งไม่มีอะไรที่จะเล่าเรื่องได้ดีเท่ากับเรื่องราวที่ตรงกับบริบทของผู้ใช้งานจริง โดยทีมงานเลือกที่จะเล่าเรื่องราวผ่านสัญญะและเทคนิคต่างๆ ดังนี้
Symbolism: การใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ให้ออกมาเป็นภาพ เช่น แสงสีฟ้าและสีแดงที่อยู่คู่กัน เป็นตัวแทนของสัญญาณจากดีแทค ทรู ที่รวมกันแล้วและพุ่งทะยานไปทุกพื้นที่ สะท้อนความเร็วแรง และครอบคลุมของสัญญาณ โดยมีนาย-ใบเฟิร์น สองพรีเซนเตอร์ที่ทำหน้าที่ส่งความสุขให้กับทุกคน หรือเส้นแสงที่วิ่งขึ้นไปบนฟ้าเป็นสัญลักษณ์ต้นคริสต์มาส สื่อถึงเทศกาลที่มาพร้อมกับของขวัญพิเศษ ดังที่ดีแทค ทรูเตรียมมอบให้กับลูกค้า
Shared Moment: การเลือกใช้โมเมนต์ความสุขที่ผู้คนต่างมีประสบการณ์ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาที่มีพลุบนท้องฟ้า การส่งข้อความอวยพร บรรยากาศของการท่องเที่ยวทะเล ภูเขา หรือในคอนเสิร์ต รวมถึงการใช้แบ็กกราวนด์เป็นช่วง Vanilla Sky ที่สื่อความหมายถึงความสวยงามในยามเย็นที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย เพื่อเชื่อมโยงบรรยากาศเหล่านี้เข้าถึงใจผู้ชมได้มากยิ่งขึ้น
Emotional Resonance: การใช้สถานการณ์สะเทือนอารมณ์ยังคงดึงความสนใจและเข้าถึงความรู้สึกได้ดี เช่น ในซีนของชายหนุ่มที่ส่งข้อความให้แฟนเก่าตลอด 7 ปี โดยที่ไม่ได้รับการตอบกลับมาสักครั้ง ทำให้ผู้ชมเข้าถึงได้ไม่ยาก
Inspiring Action: “แล้วคุณละ ไม่อยากส่งให้ใครบ้างเหรอ” คือประโยคในช่วงฮุก ที่ชวนให้ผู้ชมได้ย้อนกลับมาถามตัวเองเช่นกัน สร้างความเชื่อมโยงระหว่างหนังโฆษณาและชวนให้ผู้ชมได้คิดและทำต่อไปได้
ถึงตรงนี้ คัคนานต์ สรุปภาพรวมและเน้นย้ำถึงซีนสำคัญที่อยากจะสื่อสารผู้ชมไว้ว่า
“โดยรวมทั้งเรื่องจะเป็นโมเมนต์ที่มีความสุขและสร้างรอยยิ้ม จนมาถึงซีนที่ชายหนุ่มส่งข้อความให้แฟนเก่ามา 7 ปีแต่ไม่เคยได้ข้อความตอบ สิ่งที่เราอยากบอกก็คือ ไม่ใช่แค่ผู้รับที่มีความสุข สำหรับบางคนแล้ว แค่ได้แชร์ความปรารถนาดี โดยอาจจะไม่มีการตอบกลับมาก็เป็นความสุขเหมือนกัน อีกซีนสำคัญคือ คำถามที่ว่า ‘แล้วคุณละ ไม่อยากส่งให้ใครบ้างเหรอ’ ก็เป็นตัวส่งที่ดีให้ได้กลับมาคิดว่าเราลืมส่งความสุขให้ใครหรือเปล่า หรือแม้แต่พรีเซนเตอร์เขาก็ไม่ลืมส่งความสุขให้กันและกัน”
หนังโฆษณาที่ไม่ได้เพียงสื่อสารกับลูกค้าเท่านั้น
“ผมค่อนข้างมั่นใจว่าคนดูจะชอบ แทบจะบอกได้ว่าเป็นหนังโฆษณาที่ดูแล้วฟันผุ เพราะดูแล้วอมยิ้มจริงๆ ขนาดทีมเราดูกันเป็น 7-8 รอบในห้อง Post production ยังยิ้มได้ทุกรอบเลย” ชนัทย์ เล่าถึงความคาดหวังหลังจากที่โฆษณาชิ้นนี้ออกสู่สายตาผู้ชม “อีกอย่างหนึ่งคือ ผมอยากให้ทุกคนที่ดูจบ แล้วอยากส่งข้อความ ความรู้สึกดีๆ ให้กับใครสักคน”
นอกจากนี้ เขายังหวังว่า งานชิ้นนี้จะไม่เพียงสื่อสารกับผู้ชมหรือลูกค้า แต่ยังเป็นการส่งข้อความสำคัญที่มีความหมายให้พนักงานดีแทค ทรูทุกคนด้วย
“ถึงหนังโฆษณาจะเล่าเรื่องให้กับลูกค้าฟังเป็นหลักก็จริง แต่ในทางกลับกันก็สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนทำงานดีแทค ทรูว่า เราไม่ได้เป็นเพียงเน็ตเวิร์ก แต่เรากำลังทำภารกิจยิ่งใหญ่ในการส่งสัญญาณความสุข สร้างความหมายให้กับทุกคนที่สื่อสารผ่านเครือข่ายของเรา เหมือนกับ Wrap line ในตอนจบที่ว่า ‘สัญญาณ’ ที่ ‘สัญญา’ ว่าจะส่งความสุขให้ทุกคนตลอดไป”
หมายเหตุ: ข้อมูลจากการรวบรวม Public Post บนช่องทาง Facebook, X, Instagram, Pantip, News, TikTok และ YouTube โดยมี Keyword “ความสุข” ในช่วงระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2566 ถึง 25 พฤศจิกายน 2566 โดยใช้เครื่องมือ Social Listening
ชมหนังโฆษณา dtac True 5G Happiness Express สัญญาณความสุข เร็ว แรง ได้ที่
https://www.youtube.com/watch?v=JPK39JxlWNk&list=PLHV9uLu0uX5h0cRiHeg7wC23uZf5QKhTW&index=1&t=24s
ชมคลิป Behind the Happiness สัญญาณความสุขที่ซ่อนไว้ในโฆษณา “dtac True 5G Happiness Express” ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=N2S1EujjyRk&ab_channel=TrueBlog
ชมคลิปเต็มได้ที่ https://youtu.be/iZuD7m8vNzY