หายนะจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนับว่าไม่ได้เป็นประเด็นใหม่แต่อย่างใด จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่รัฐบาลและกลุ่มธุรกิจถูกกดดันเพิ่มขึ้นให้หาวิธีบรรเทาวิกฤตครั้งเลวร้ายที่สุดครั้งนี้ให้ได้ แต่สิ่งที่จะสามารถทำได้ ณ ตอนนี้ก็คือ การนำมาตรการที่ช่วยประคับประคองสถานการณ์มาใช้ก่อน เช่น การลงทุนในแหล่งพลังงานหมุนเวียน ซึ่งทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถร่วมมือร่วมใจกันทำได้
เช่น ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความต้องการพลังงานเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 3 % ต่อปีในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา โดยเชื้อเพลิงฟอสซิลถือเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างมาก โดยองค์กรพลังงานระหว่างประเทศหรือ IEA ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันถือเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดในการใช้พลังงานแบบผสมผสานในภูมิภาค และยังเสริมว่าการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิลถือเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนภูมิภาคอีกด้วย
ในรายงานฉบับเดียวกันของ IEA ยังระบุว่า ภูมิภาคนี้กำลังเสียความสมดุลการค้าพลังงานลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีความต้องการเชื้อเพลิงฟอสซิลแซงหน้าการผลิตในท้องถิ่น ดังนั้นเราควรเปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทนและพลังงานที่ยั่งยืนให้ได้เร็วขึ้นหากพิจารณาจากเรื่องเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับรัฐบาลทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มุ่งบรรลุแผนระยะยาวเพื่ออนาคตที่ปลอดภัยและยั่งยืนยิ่งขึ้น
ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของดาต้าเซ็นเตอร์ด้วยการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ
เนื่องจากมีความต้องการใช้บริการที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัลเพิ่มขึ้น เราจึงเห็นการเติบโตอย่างรวดเร็วในตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบบที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน จากข้อมูลของ Kearney ตลาดโคโลเคชั่นของดาต้าเซ็นเตอร์ในภูมิภาคนี้คาดว่าจะเติบโต 16.5% ในช่วงปี 2562 ถึง 2569 โดยมีมูลค่าถึง 6.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
น่าเสียดายที่ดาต้าเซ็นเตอร์มาพร้อมกับการปล่อยก๊าซคาร์บอนจำนวนมากอันเนื่องมาจากปริมาณการใช้ไฟฟ้า น้ำที่ใช้ รวมถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนจำนวนมหาศาล ซึ่งหมายความว่าผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองความต้องการบริการที่เพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรม พร้อมทั้งผู้ให้บริการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเผชิญกับความท้าทายในการขยายบริการเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น แต่ก็พยายามหาสมดุลด้วยการนำแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนมาใช้ในการดำเนินงานเพื่อแก้ไขวิกฤติสภาพภูมิอากาศ
ดังนั้นสิ่งที่เราควรให้ความสนใจก็คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในโครงสร้างพื้นฐานของดาต้าเซ็นเตอร์ที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว และไม่เพียงแต่ตอบสนองต่อความท้าทายดังกล่าว ผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์จำเป็นต้องให้ความสำคัญในด้านเทคโนโลยี ประสิทธิภาพพลังงานและน้ำ และความยั่งยืนในการดำเนินงาน ขณะเดียวกันก็ต้องทำงานอย่างรวดเร็วและร่วมมือกันเพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลงในประเด็นที่มีความจำเป็นมากเป็นพิเศษ ดังนั้นการให้ความสำคัญกับโซลูชันสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีความยั่งยืนจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมาก
ความยั่งยืนและการเติบโตเป็นเรื่องที่แยกจากกันไม่ได้
การสร้างสมดุลระหว่างประสิทธิภาพและความยั่งยืนบางครั้งอาจดูเหมือนเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก อย่างไรก็ตาม นี่เป็นการแบ่งขั้วที่ผิดพลาด กุญแจสำคัญที่จะทำให้ดาต้าเซ็นเตอร์เกิดความยั่งยืนโดยไม่ลดทอนประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่ที่การวางแผนกลยุทธ์โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งหมดให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยทั่วไปแล้ว การออกแบบโซลูชันการทำความเย็นจะต้องดูสภาพอากาศในท้องถิ่นและความพร้อมของทรัพยากร เช่นเดียวกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น ความสามารถในการปรับขนาด ความน่าเชื่อถือ และการบำรุงรักษา เป็นต้น
เราจะสามารถลดต้นทุนด้านพลังงาน เพิ่มความยั่งยืน และใช้พื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นหากมีโครงสร้างพื้นฐานการทำความเย็นอันทรงพลังและเชื่อถือได้ ตัวอย่างเช่น ระบบระบายความร้อน Liebert PEX4 ของ Vertiv ที่ผสานรวมคอมเพรสเซอร์อินเวอร์เตอร์พัดลม EC EEV และคอยล์แบบ microchannel ซึ่งช่วยให้ดาต้าเซ็นเตอร์ทำงานได้มากขึ้นโดยใช้ทรัพยากรน้อยลง ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและน้ำได้อย่างมาก ขณะเดียวกันก็ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
ดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่และใหญ่พิเศษมักมีโหลดที่มีความหนาแน่นสูง เราต่างต้องการระบบระบายความร้อนที่สามารถรับมือกับโหลดความร้อนที่สูงขึ้นเกิดจากการประมวลผลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ โดยระบบได้ออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำความเย็นให้ได้สูงสุดเพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานให้สามารถรับมือกับความท้าทายของแอปพลิเคชันการประมวลผลที่เข้มข้นได้ตัวอย่างเช่น เครื่องควบคุมอากาศ (AHU) ตอบสนองความต้องการของลูกค้าต้องการใช้โซลูชันระบายความร้อนความจุสูงที่มีประสิทธิภาพและขนาดกะทัดรัด เนื่องจากยังคงมีความต้องการใช้ KW/rack เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องรวมถึงพื้นที่ข้อมูลก็มีจำกัดอีกด้วยช่วยให้สามารถทำงานได้นานยิ่งขึ้น รับมือกับความท้าทายใหม่ ๆ ที่เกิดจากข้อกำหนดของดาต้าเซ็นเตอร์
ด้วยมีการใช้แอปพลิเคชันปัญญาประดิษฐ์ (AI) อย่างแพร่หลาย อีกทั้งปริมาณการใช้งาน AI ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ใช้งานดาต้าเซ็นเตอร์สามารถใช้ประโยชน์จากโซลูชันระบายความร้อนประสิทธิภาพสูงที่ใช้ทั้งอากาศและของเหลวอย่างเต็มรูปแบบเพื่อรองรับสิ่งอำนวยความสะดวก โดย Vertiv Liebert XDU เป็นระบบไหลเวียนของเหลวสู่ของเหลว (liquid-to-liquid) ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ที่สามารถใช้เซิร์ฟเวอร์ระบายความร้อนด้วยของเหลวในระบบที่เกี่ยวข้องกับดาต้าเซ็นเตอร์ตั้งแต่คอร์ไปจนถึงพื้นที่ตั้งเอ็ดจ์คอมพิวติ้งได้มากกว่านั้น Vertiv Liebert VIC ยังเป็นโซลูชันการระบายความร้อนด้วยของเหลวที่ช่วยให้เซิร์ฟเวอร์ที่มีความหนาแน่นสูงสามารถระบายความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยลดต้นทุนด้านพลังงานทั้งหมด
ตัวอย่างที่ได้กล่าวมาแสดงให้เห็นตัวเลือกการระบายความร้อนประเภทต่าง ๆ ที่ปรับให้เหมาะกับความต้องการเฉพาะของดาต้าเซ็นเตอร์ทุกเครื่อง นอกเหนือจากการพิจารณารายละเอียดอื่น ๆ ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องประเมินโหลดความร้อนที่จะต้องทำความเย็นพลังงานที่มีอยู่รวมถึงน้ำ ต้นทุนพลังงาน และการวางแผนการใช้พื้นที่ จากนั้นจึงสามารถออกแบบดาต้าเซ็นเตอร์ได้หลังจากพิจารณาปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมดอย่างรอบคอบแล้ว นอกจากนี้ในตลาดยังมีตัวเลือกมากมาย ตั้งแต่ระบบ Direct Expansion (DX) ที่ใช้สารทำความเย็นแบบไม่มีน้ำ ไปจนถึงระบบระเหยที่ใช้น้ำมาก เช่น แม้ว่าเราจะใช้น้ำช่วยให้ใช้พลังงานได้เกิดประสิทธิภาพสูงขีดสุด แต่ระบบ DX ยังสามารถขับเคลื่อนประสิทธิภาพการใช้พลังงานโดยไม่ต้องใช้ทรัพยากรน้ำในท้องถิ่นปริมาณมหาศาล
ท้ายที่สุดแล้ว การผลักดันให้ใช้พลังงานทดแทนและสร้างแนวปฏิบัติงานที่มีความยั่งยืนทั้งในภาคพลังงานและดาต้าเซ็นเตอร์จำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างอนาคตที่สดใสกว่าที่เป็นอยู่โดยไม่กระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ อีกทั้งต้องได้รับความร่วมมือรวมถึงใช้นวัตกรรมและความมุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยีและประสิทธิภาพมาใช้ ด้วยการให้ความสำคัญกับความยั่งยืนในประเด็นที่กล่าวมา เราสามารถมีส่วนร่วมในภารกิจระดับโลกในการลดการปล่อยคาร์บอน และสร้างอนาคตที่มีความยั่งยืนมากขึ้นสำหรับคนรุ่นต่อ ๆ ไปได้
อ่าน: 980
Comments
comments