โซลูชันความปลอดภัยไซเบอร์สำหรับธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของแคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ตรวจพบการพยายามโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ 57,571 ครั้งช่วงเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2024
ด้วยเศรษฐกิจดิจิทัลที่เติบโต ตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ทรัพยากรที่เป็นศูนย์กลางทางการเงินและเทคโนโลยีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยไซเบอร์ในระดับต่างๆ ทำให้ภูมิภาคนี้เสี่ยงต่อการโดนโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ตลอดมา องค์กรทุกขนาดก็ตกเป็นเป้าหมายของอาชญากรทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง
นายเอเดรียน เฮีย กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “โดยทั่วไปแล้วอาชญากรไซเบอร์รวมถึงกลุ่มแรนซัมแวร์ต่างก็จับจ้องไปที่โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญและภาคส่วนที่เปราะบาง อาทิ ภาคการเงิน บริการสาธารณะ การผลิต และสาธารณสุข โดยพื้นฐานแล้วผู้ก่อภัยคุกคามคือผู้ฉวยโอกาสที่จ้องโจมตีเพราะหวังเงินก้อนโต”
แรนซัมแวร์โจมตีธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สูงที่สุดที่อินโดนีเซีย โดยแคสเปอร์สกี้สามารถบล็อกการโจมตีได้ 32,803 ครั้ง ตามมาด้วยฟิลิปปินส์จำนวน 15,208 ครั้ง ไทย 4,841 ครั้ง มาเลเซีย 3,920 ครั้ง เวียดนาม 692 ครั้ง และสิงคโปร์107 ครั้ง
ประเทศ |
จำนวนการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ที่แคสเปอร์สกี้บล็อกได้ มกราคม – มิถุนายน 2024 |
อินโดนีเซีย |
32,803 |
มาเลเซีย |
3,920 |
ฟิลิปปินส์ |
15,208 |
สิงคโปร์ |
107 |
ไทย |
4,841 |
เวียดนาม |
692 |
รวม |
57,571 |
นายเอเดรียน กล่าวเสริมว่า “ผลกระทบจากการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์อาจร้ายแรงมากต่อการเงินและชื่อเสียง องค์กรจึงต้องการทรัพยากรจำนวนมากเพื่อจัดการกับผลที่ตามมาหลังการถูกโจมตี การดำเนินงานหยุดชะงัก เวลาหยุดทำงาน และเวลาในการกู้คืนข้อมูล สิ่งเหล่านี้จำเป็นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญและผู้ให้บริการ”
เหตุการณ์การโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ที่เป็นข่าวโด่งดังล่าสุดในภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นศูนย์ข้อมูลแห่งชาติอินโดนีเซีย ผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะในมาเลเซีย และเครือร้านขายยาสุขภาพในท้องถิ่น ผู้ให้บริการประกันสุขภาพในฟิลิปปินส์ กลุ่มร้านอาหารชื่อดังในสิงคโปร์ บริษัทนายหน้ารายใหญ่ และบริษัทบริการน้ำมันในเวียดนาม ล้วนเป็นภัยคุกคามอันตรายที่กำลังโจมตีธุรกิจต่างๆ ในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง
นายเอเดรียนกล่าวว่า “หน่วยงานและองค์กรทั่วโลกได้ริเริ่มและดำเนินการเพื่อต่อสู้กับแรนซัมแวร์มากขึ้น อาทิ โครงการ No More Ransom ซึ่งแคสเปอร์สกี้มีส่วนร่วมในโครงการนี้อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่แปดติดต่อกัน และรัฐบาลบางประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ออกกฎหมายด้านความปลอดภัยไซเบอร์[1][2] รัฐบาลอื่นๆ ก็กำลังดำเนินการในแนวทางเดียวกันนี้ อีกทั้งบริษัทและองค์กรต่างๆ ก็มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างการป้องกันความปลอดภัยไซเบอร์ไม่มากก็น้อยเช่นกัน”
ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ให้คำแนะนำเพื่อปกป้องธุรกิจจากการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ ดังต่อไปนี้