TelecomLover ได้มีโอกาสไปร่วมงานแถลงข่าวทดลองทดสอบการเปิดระบบ Cell Broadcast ที่ภูเก็ตวันก่อน และมีโอกาสได้ exclusive interview พูดคุยกับทีม Network Engineer ของ AIS ภาคใต้ มีแนวคิดหลายๆอย่างที่น่าสนใจ มีอัพเดทในส่วนของการทำ Network ในช่วงปีที่ผ่านมา มาเล่ามาแชร์ให้เพื่อนๆที่สนใจเครือข่าย AIS ได้ติดตามกันครับ
เริ่มจากแนวคิดการทำ Network AIS ให้มี Coverage ช่วยทำให้เศรษฐกิจภาคใต้เติบโตผ่าน Digital economy ทั้งผู้ประกอบการ ผู้อยู่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยว
ด้วยการที่ประเทศไทยเศรษฐกิจนั้นรันด้วยการท่องเที่ยว เวลา AIS ดูแลเครือข่าย ก็มองเศรษฐกิจควบคู่ไปด้วย มี 2 ส่วนคือ ตัวนักท่องเที่ยว และผู้ที่อยู่ในธุรกิจท่องเที่ยวทั้งหมด AIS มีฐานลูกค้าในภาคใต้ 5 ล้านเลขหมาย มี marketshare ลูกค้า 51% จากตลาดทั้งหมด 9 ล้านราย และครึ่งนึงของลูกค้าอยู่ในการทำงานภาคบริการของการท่องเที่ยวที่เรียกว่า Hospitality ทั้ง Entertain transportation รวมถึงธุรกิจ Supply Chain โดยรอบจากจังหวัดต่างๆ ถ้าเราดูแล สนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยวให้ดี ความเป็นอยู่ของคนเหล่านี้ก็จะดีไปด้วยเช่นเดียวกับการดูแลนักท่องเที่ยว โดยที่ตัวเลขนักท่องเที่ยวที่กลับมาถีง 97% เหมือนก่อนเกิดโควิด Network ที่จะให้บริการกับคน 2 กลุ่มนี้ การวาง Network จะมี Challenge มากกว่าพื้นที่ราบปกติทั่วไป เพราะนักท่องเที่ยวไปทุกที่ นักท่องเที่ยวที่เข้ามามีทั้งทางบก ทางอากาศและทางเรือ เวลาไปเที่ยวภาคใต้ที่ยาวมากกว่า 2400 กิโลเมตรสองชายฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน รวมถึงตามเกาะต่างๆ ซึ่ง ปัจจุบัน AIS 4/5G มี Coverage 95% ของพื้นที่ภาคใต้ทั้งหมดแล้ว
กรณีศึกษาเกาะเต่า
ระยะทางจากฝั่ง 70 กิโลเมตร Concept AIS คือต้องใช้ได้ตลอดขณะนั่ง Ferry มีการวาง Network แบบ SuperCell ใช้ high gain antenna เสาสูง 65 เมตร ใช้ Power ส่งและขยายภาครับ ให้ลูกค้าระหว่างเดินทางใช้งานได้ตลอด แม้มีข้อจำกัดเป็นอย่างมากทั้งเรื่องการสะท้อนของคลื่นจากปรากฎการณ์น้ำขึ้นน้ำลง ความโค้งของขอบโลก ดังนั้น Concept Connectivity ต้องใช้งานได้ตลอดการเดินทาง รวมถึงประเด็นเรื่องความปลอดภัยที่ภาครัฐขอประสานเข้ามา เป็นการขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุ หรือเวลาเกิดพายุ ชาวประมงจะขอความช่วยเหลือ ดังนั้นสัญญาณที่ดีที่สุดคือการทำให้นักท่องเที่ยวและคนในบริเวณนั้นสามารถใช้งานได้ปกติ และความช่วยเหลือจากเหตุฉุกเฉินที่ภาครัฐจะเข้ามาช่วยเหลือนั้น AIS ทำได้ดีและทำได้แบบตอบโจทก์และครบถ้วน
กรณีศึกษา ตามโรงแรม จุดอับสัญญาณต่างๆ
โดยปกติในโรงแรมนั้น สัญญาณ AIS ครอบคลุมได้เป็นอย่างดีไม่มีปัญหา นักท่องเที่ยวใช้งานได้ราบลื่น แต่ปัญหามักเกิดกับเหล่าพนักงานบริการหรือ staff ในโรงแรมที่เป็น Back Office สัญญาณอ่อน เข้าไม่ถึงในมุบอับหรือที่อยู่ลึก เราก็พยายามไล่เก็บปัญหาเหล่านี้ด้วยการใช้ repeater เข้ามาเสริม และทางประมงก็ต้องเน้นและเก็บรายละเอียดการให้บริการให้สามารถติดต่อสื่อสารได้เป็นปกติ โดยคาดหวังไปถึงการ repeat หรือความพึงพอใจที่จะส่งเสริมทำให้นักท่องเที่ยวกลับเข้ามาใหม่ ทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวหลักนั้นอยู่ได้แบบยั่งยืน
Network จะช่วยให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจในภาคใต้ได้อย่างไร
การวางแผน network จะดูว่า นทท.ลงเครื่องบินมาจะไปที่ไหนบ้าง มีกิจกรรมอะไรบ้าง เมื่อเก็บรายละเอียด เราจะเห็น pattern การอยู่ในแต่ละ location แล้วเราก็ขึ้น site ให้ตรงจุด โดยที่ 2400 กิโลเมตรของ 2 ชายฝั่ง AIS มี site 6700 กว่าแห่ง และเพิ่มเสามาอีก 100 กว่า site ซึ่ง 70% ที่เพิ่มมาเพื่อ Support อุตสาหกรรมท่องเที่ยว อีก 30% สนับด้านการเกษตร โดยมีการใช้งานจาก นทท.ที่เข้ามา 16 ล้านราย คิดแบบน้อยสุดคือครึ่งนึงใช้ AIS ประมาณ 8 ล้านคนและผู้ใช้งานในพื้นที่ประจำอีก 5 ล้าน นั่นหมายถึง AIS ต้องวางเครือข่ายให้รองรับการใช้งานได้ 13 ล้านคน
หลายพื้นที่ในภาคใต้ มีสัญญาณเฉพาะ AIS !
ความยากลำบากในการลง site ก็ดี จุดคุ้มทุนในการลงทุนเสาสัญญาณก็ดี ทำให้ผู้ให้บริการบางรายไม่อาจทำสัญญาณให้ครอบคลุมได้ แต่สำหรับ AIS ไม่ประนีประนอมกับข้อจำกัดเหล่านั้น ตะลุยลงเสาในที่ๆมีความท้าทายอย่างเขื่อนเชี่ยวหลาน , อ้าวมาหยาและเขาสก เขายา คือคู่แข่ง มี 1 เราจะไป 2 “One Step Ahead” เสมอ สุดท้ายคนที่ได้ประโยชน์คือผู้ใช้บริการ ที่เราทำก็เพราะ Network ของ AIS เป็นสัญลักษณ์ หรือ Brand ที่คงไว้ซึ่งเครือข่ายที่ดีที่สุด เพื่อคุณภาพชีวิตของคนที่ใช้บริการ ดังนั้นทุกๆที่ๆแข่งขัน เรายินดีที่จะไปมากกว่าคู่แข่ง 1 ก้าวเสมอ
เราทำงานร่วมกับการท่องเที่ยวทุกภาคส่วน คือหน่วยไหนขอมา สมาคมท่องเที่ยวทั้งอันดามันและอ่าวไทยแนะนำมา เราก็เข้าไปทำให้ใช้งานได้ เพราะ AIS มองว่าทั้งหมดคือ Connectivity Everytime Everywhere และเรื่อง Safty ต้องมาก่อน
“คือการทำเพื่อ Social responsibility มีเยอะมาก ถ้ารอคิดว่าลง site แล้วดู ROI ก็ไม่มีทางทำให้มีสัญญาณได้ เพราะ AIS มองเรื่อง ecosystem และ sustainability เกื้อกูลกันทำให้ธุรกิจ AIS ดำเนินไปได้อย่างมั่นคง”
ครอบคลุมแล้วทำยังไงไม่ให้เครือข่ายล่ม
จากจำนวน Site 100 กว่าแห่งที่เพิ่ม Coverage ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาในภาคใต้ AIS มี mission ที่ตามมาคือ ทำยังไงไม่ให้ site ล่ม เพราะสภาพอากาศ โดยเฉพาะฟ้าฝน มีฟ้าผ่าบ่อย จึงมีการทำ optimization เพื่อ reliability เพิ่มความมั่นคง ใช้ Protection Link ที่ได้อานิสงค์จากการควบ 3BB ใช้ Link Back up วิ่งคู่กันไปเลย ถึงขาดไปข้าง เราก็ยังมีอีกเส้น redundant ให้ใช้งานได้ไม่ติดขัด มีการเพิ่ม Link Fibre Optic ในทะเล เป็น Protection และลูกค้าได้ Speed สูงตามไปด้วยเพราะ Optic ได้ Speed สูงกว่า Microwave
กลยุทธที่ทำให้เครือข่ายมีคุณภาพทิ้งห่างคู่แข่ง
ในแง่ Network จริงๆระหว่างปีเราทำหลายอย่าง ตั้งแต่ 1) เพิ่ม site ขยาย Coverage และ 2) ขยาย Capacity โดยเพิ่มคลื่น เพิ่มความถี่ เพิ่ม 5G ขยาย Sector ทำให้ลูกค้าบริเวณนั้น sharing แล้วได้ความเร็วไม่ตก และ 3) ทำให้ site ไม่ล่ม ทำ Link Protection ทั้งหมดนี้ ทำให้ Network Quality Gap ของ AIS ดีกว่าคู่แข่งมากกว่า 10%
ในปี 2025 AIS จะโฟกัสย่อยลงไปถึงระดับตำบล การใช้งานใน grid ย่อยๆ จากพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงเช่นการไปรวมตัวกันในจุดใดจุดหนึ่ง ทำให้ traffic สูงขึ้น เราจะพยายามหา factor ต่างๆและจัดการทุกทางที่เป็นไปได้เพื่อ insure ให้ Network ของเราเป็น Network ที่ดีที่สุดอย่างแท้จริง
จากที่ TelecomLover ได้พูดคุยมาก็ทำให้รับรู้ได้ถึง DNA ในแบบ AIS ที่สืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่นไม่เคยเปลี่ยนแปลงคือแนวคิดหรือ Mentality ที่จะทำทุกอย่างแบบไม่ประนีประนอม มีความมุ่งมั่น มีการวางแผน เพื่อให้ได้มาซึ่งสัญญาณคุณภาพการใช้งานเครือข่ายที่ใช้งานได้อย่างดีที่สุดโดยที่ทุกคนได้ประโยชน์ เศรษฐกิจเดินหน้าได้ ใช้งานอย่างปลอดภัย ตาม Concept “อุ่นใจ“ ได้แบบเต็มปากเต็มคำ…