บริษัทเอบีม คอนซัลติ้ง จำกัด ได้ทำการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับการบริหารจัดการเพื่อเพิ่ม ROIC (Return on Invested Capital) หรือ ROIC Management โดยสำรวจข้อมูลและความคิดเห็นจากผู้บริหารจำนวน 721 ท่านจากบริษัทในประเทศญี่ปุ่นที่มียอดขายตั้งแต่สามหมื่นล้านเยนขึ้นไป (ราว 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ผู้บริหารที่ตอบแบบสำรวจครอบคลุมผู้ที่มีความรับผิดชอบในหน้าที่หลากหลายด้านด้วยกัน เช่นการวางแผนกลยุทธ์องค์กร การบัญชี การเงิน และนักลงทุนสัมพันธ์ การสำรวจครั้งนี้ช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการบริหารจัดการ ROIC รวมถึงบทบาทของการทรานส์ฟอร์มองค์กรในประเทศญี่ปุ่น และยังเผยให้เห็นถึงความเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างการบริหารจัดการ ROIC และผลลัพธ์ในการเพิ่มมูลค่าให้องค์กร
ผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่าบริษัทในระดับ “บลูชิพ” ซึ่งหมายถึงบริษัทที่มีอัตราส่วนมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (price-to-book หรือ P/B ratio) ตั้งแต่ 1.3 ขึ้นไป และมีประสบการณ์ในการจำหน่ายหน่วยธุรกิจ (BU) ออกจาก Portfolio มีแนวโน้มที่จะใช้ ROIC และตัวชี้วัดการเติบโตแบบต่าง ๆ เช่น อัตราการเติบโตของยอดขายและการเติบโตของมูลค่าตลาด ในการประเมินและตัดสินใจทางธุรกิจ ส่งผลให้สามารถปรับเปลี่ยน Portfolio รวมถึงการถอนตัวจากธุรกิจที่ไม่สร้างคุณค่า นอกจากนี้ มูลค่าของสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (Intangible Asset) เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา ทรัพยากรบุคคล และเทคโนโลยีดิจิทัล ยังถูกนำมาประกอบการพิจารณาในการจัดการและประเมิน Business Portfolio ขององค์กรอีกด้วย
ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่า ในความพยายามที่จะเพิ่มค่า ROIC พบว่า 64.6% ของบริษัทในกลุ่มบลูชิพมีการตั้ง KPI เฉพาะสำหรับแต่ละหน่วยธุรกิจอย่างชัดเจน พร้อมระบุผู้ที่รับผิดชอบแต่ละ KPI และมีการประเมินผลตามผลงานที่เกิดขึ้นจริง ในทางกลับกัน บริษัทที่อยู่ในกลุ่ม “ควรปรับปรุง” (หมายถึงบริษัทที่มี P/B ratio ต่ำกว่า 1.3 และไม่มีประวัติการถอนหรือจำหน่ายหน่วยธุรกิจ) มีเพียง 6.4% เท่านั้นที่ดำเนินการในลักษณะเดียวกันดังนั้นจึงเห็นได้ว่ามีความแตกต่างอยู่ถึงเกือบสิบเท่าระหว่างบริษัทสองกลุ่มบริษัทที่เข้าร่วมการสำรวจในด้านแนวทางการ
ตั้งและบริหาร KPI
ในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานข้อมูล (Data Infrastructure) พบว่า กว่าครึ่งของบริษัทในกลุ่มบลูชิพหรือร้อยละ 52.2% สามารถพัฒนากระบวนการจัดการและสื่อสารข้อมูลในบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพียงพอต่อความต้องการ ในขณะที่กลุ่ม “ควรปรับปรุง” มีเพียง 16.7% เท่านั้นที่ดำเนินการได้ในระดับเดียวกัน นอกจากนี้ ราวครึ่งหนึ่งของบริษัทในกลุ่มบลูชิพหรือ 46.4% ได้จัดตั้งระบบและทีมงานเฉพาะทางที่สนับสนุนการบริหารจัดการและวิเคราะห์ เช่น FP&A (Financial Planning and Analysis) ที่มีบทบาทสำคัญในการวางแผนงบประมาณและวิเคราะห์การเงิน และ BICC (Business Intelligence Competency Center) ที่เป็นศูนย์กลางในการเพิ่มขีดความสามารถด้านข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ
ในทางตรงกันข้าม บริษัทในกลุ่ม “ควรปรับปรุง” มีเพียง 5.9% เท่านั้นที่ดำเนินการในลักษณะเดียวกันดังนั้น จึงสามารถกล่าวได้ว่ากุญแจสำคัญในการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน คือการกำหนดทิศทางที่สอดคล้องกันระหว่าง สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (Intangible asset) เช่น ทรัพยากรมนุษย์ ทรัพย์สินทางปัญญา และ
Digital Portfolio กับกลยุทธ์ของหน่วยธุรกิจ รวมถึงการทำความเข้าใจอย่างชัดเจนว่าทรัพยากรเหล่านี้ส่งผลต่อผลประกอบการขององค์กรอย่างไร ทั้งนี้ ผลสำรวจพบว่า คะแนนในด้านนี้ของบริษัทกลุ่มบลูชิพ และบริษัทกลุ่มควรปรับปรุงมีความแตกต่างกันถึง 30%
จากประสบการณ์อันยาวนานของบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง พบว่ามีปัจจัยสำคัญ 4 ประการซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้การบริหารจัดการ ROIC สามารถขับเคลื่อนการเพิ่มมูลค่าขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่:
- การใช้ตัวชี้วัดจากหลากหลายมิติ ทั้งข้อมูลเชิงรูปธรรมและนามธรรมมาใช้เพื่อพิจารณาและปรับปรุง Portfolio
ข้อมูลเชิงรูปธรรม เช่น ROIC และตัวเลขชี้วัดการเติบโตของมูลค่าตลาด รวมถึงข้อมูลเชิงนามธรรมอย่างทรัพย์สินทางปัญญา ทรัพยากรมนุษย์ และศักยภาพด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ต่างมีความสำคัญเทียบเท่ากันในการวิเคราะห์และบริหาร Portfolio ขององค์กร การพิจารณาข้อมูลเหล่านี้ประกอบกันอย่างรอบด้าน นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงจากความผิดพลาดที่พบได้บ่อย เช่น การปรับลดงบประมาณอย่างไม่สมเหตุสมผลอันเกิดจากมุมมองระยะสั้น ยังสามารถช่วยสนับสนุนให้บริษัทวางแผนการเติบโตในระยะยาวได้อย่างยั่งยืน
- การสร้างระบบ PDCA ที่สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของธุรกิจควบคู่ไปกับ KPI ที่เสริมกัน
การสร้างกระบวนการ PDCA (Plan-Do-Check-Act) ในองค์กรให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ละบริษัทจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงลักษณะเฉพาะของแต่ละธุรกิจเป็นสำคัญ นอกจากนี้การเชื่อมโยง KPI กับการประเมินผลการดำเนินงาน และผลการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน จะช่วยให้ การบริหารจัดการ ROIC กลายเป็นกระบวนการมาตรฐานที่ถูกบูรณาการเข้ากับการปฏิบัติงานประจำวันของหน่วยงานต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์ขึ้น
- การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูล (Data Infrastructure) และฟังก์ชันสนับสนุนที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง
การสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูล (Data Infrastructure) ที่มีความมั่นคงพร้อมทั้งพัฒนาระบบและมีทีมงานที่เชี่ยวชาญในการบริหารจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลโดยเฉพาะ เช่น FP&A (Financial Planning and Analysis) สำหรับการวางแผนงบประมาณธุรกิจและการวิเคราะห์ทางการเงิน และ BICC (Business Intelligence Competency Center) เพื่อเป็นศูนย์กลางการสร้างเสริมสมรรถนะธุรกิจถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารจัดการ ROIC ให้ประสบผลสำเร็จ การปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างเหล่านี้ช่วยเสริมความสามารถในการ
บูรณาการฐานข้อมูล เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจที่ใช้ข้อมูลเป็นฐาน ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทั้งภายในระดับหน่วยงานและองค์กรโดยรวม
- การลงทุนเพื่อเพิ่มพูนทรัพยากรที่เป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (Intangible Asset) และประเมินผลที่มีต่อผลการดำเนินการทางธุรกิจให้ชัดเจน
การลงทุนสร้างสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (Intangible Asset) เช่น ทรัพยากรมนุษย์ ทรัพย์สินทางปัญญา และ Portfolio ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ควรถูกวางให้สอดคล้องและส่งเสริม
กลยุทธ์ทางธุรกิจที่มุ่งเน้นการขับเคลื่อนการเติบโตขององค์กรในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้น การประเมินและวิเคราะห์อย่างโปร่งใสว่าทรัพยากรดังกล่าวมีผลทางธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างไร มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างความเข้าใจร่วมกันกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) และช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในกลยุทธ์ ทิศทางการเติบโตขององค์กร และความคาดหวังเชิงบวกต่อการพัฒนาขององค์กรในอนาคตอย่างยั่งยืนอีกด้วย
จากการสำรวจที่เราได้จัดทำขึ้น เอบีม คอนซัลติ้ง มีความพร้อมเป็นอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนให้องค์กรต่าง ๆ สร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อก้าวไปสู่วิสัยทัศน์ที่ต้องการผ่านบริการ “Evolving ROIC Management Implementation Support Service” ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของเราที่ครอบคลุมความต้องการหลากหลายด้านที่จำเป็นต่อการบริหารจัดการ ROIC อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการวิเคราะห์เพื่อค้นหา Business Portfolio ที่เหมาะสมที่สุด ผ่านการผสานข้อมูลชี้วัดการเติบโตทางธุรกิจ และมูลค่าของทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน (Intangible Asset) การตั้งและปรับปรุง KPI ที่ชัดเจนและสอดคล้องกับลักษณะธุรกิจ ประกอบกับการสนับสนุนการประเมินผลที่ยึดพื้นฐานของผลงานจริง
เอบีม คอนซัลติ้ง มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการข้อมูลและระบบงาน รวมไปถึงการจัดตั้งทีมที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ เช่น FP&A (Financial Planning and Analysis) และ BICC (Business Intelligence Competency Center) ไปจนถึงการสนับสนุนการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการข้อมูล และการดำเนินงานขององค์กร เราให้ความสำคัญกับการเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบบริหารการจัดการ และการลงทุนที่มีความสอดคล้องกันในภาพรวมเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนโดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับความต้องการเฉพาะของแต่ละองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาหรือทรัพยากรดิจิทัล ไปจนถึงการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ นอกจากนี้ บริการด้าน Digital ESG ของเรายังสามารถสนับสนุนกระบวนการ Visualization หรือการนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นรูปธรรมและเข้าใจง่าย โดยเฉพาะสำหรับข้อมูลประกอบอื่น ๆ (Non-financial Information) ซึ่งนับเป็นส่วนสำคัญสำหรับรายงานในรูปแบบ Integrated Report และการดำเนินงานด้านนักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations) เพื่อสื่อสารเป้าหมายการเติบโตทั้งต่อนักลงทุน และผู้ที่มีส่วนได้เสียอื่น ๆ ในองค์กร
เกี่ยวกับบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทในเครือบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง จำกัด โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีทีมงานกว่า 8,300 คน ที่ให้บริการลูกค้าทั่วภูมิภาคเอเชีย อเมริกา และยุโรป เปิดให้บริการที่ปรึกษาในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2548 ปัจจุบันบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้บริการลูกค้าด้วยความเชี่ยวชาญในบริการที่หลากหลาย ตั้งแต่การให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์, BPR, IT, การจัดการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, Outsourcing, การให้คำปรึกษาและบริการด้าน SAP, ESG และการบริการการจัดการด้าน IT เพื่อช่วยให้องค์กรต่าง ๆ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ในฐานะพันธมิตรที่สร้างสรรค์ เพื่อช่วยขับเคลื่อนธุรกิจ อุตสาหกรรมและสังคมให้ก้าวสู่การเปลี่ยนแปลง