เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา Casio บริษัทยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่นประสบเหตุการณ์ทางไซเบอร์ ส่งผลให้ระบบขัดข้องเป็นเวลานานกว่าหนึ่งสัปดาห์ และมีการเข้าถึงข้อมูลพนักงานและลูกค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต เหตุการณ์นี้เป็นภาพสะท้อนของสถานการณ์ที่องค์กรทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งข้อมูลได้กลายเป็นสินทรัพย์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง องค์กรต่างๆ จึงให้ความสำคัญกับการปกป้องข้อมูลมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ทีมงานด้าน IT ของหลาย ๆ องค์กรยังคงเผชิญกับความท้าทายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความซับซ้อนในการผสานฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์จากผู้ผลิตหลายรายเพื่อสร้างโซลูชัน การจัดการกับช่องโหว่ด้านความปลอดภัย และกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ยุ่งยาก ในปี 2025 ภัยคุกคามทางไซเบอร์ยังคงเป็นประเด็นสำคัญ องค์กรที่ให้ความสำคัญกับการวางแผนและดำเนินการมาตรการปกป้องข้อมูลเชิงรุก จะสามารถลดผลกระทบจากภัยคุกคามเหล่านี้และรักษาความต่อเนื่องทางธุรกิจได้
หลาย ๆ ประเทศได้มีการออกกฎหมายใหม่หรือปรับปรุงกฎหมายในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ภายใต้ PDPA หน่วยงานที่ฝ่าฝืนจะถูกปรับ 1 ล้านบาท หากใช้ข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต และสูงสุดถึง 5 ล้านบาท สำหรับการเก็บ ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อนโดยผิดกฎหมาย ด้วยเหตุที่แรนซัมแวร์ (ransomware) อาจก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างร้ายแรงต่อธุรกิจ องค์กรต่าง ๆ จึงเร่งมองหาโซลูชันเพื่อเสริมการปกป้องข้อมูลและเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยไซเบอร์
ชานดา ผู้จัดการผลิตภัณฑ์สำรองข้อมูลของ Synology เปิดเผยว่า ActiveProtect สามารถปิดช่องโหว่ทางไซเบอร์ขององค์กรหลักๆ 3 ด้าน เพื่อเสริมเกาะป้องกันทางไซเบอร์ ให้กับองค์กร คือ
- Role-Based Access Control กำหนดสิทธิ์การเข้าถึงตามบทบาทหน้าที่ รองรับการเชื่อมต่อ Windows AD/LDAP ลดความเสี่ยงจากการกำหนดสิทธิ์ผิดพลาด
- Device access management IP Restriction จำกัดการเข้าถึง Backup Server ให้เฉพาะ IP ที่ได้รับอนุญาต ป้องกันการโจมตีจากภายนอก
- Physical Isolation & Offline Backup นอกจากการทำแบ็คอัพแบบ 3-2-1 แล้ว (เก็บข้อมูล 3 ชุด บนสื่อ 2 ประเภท และ 1 ชุดนอกสถานที่) องค์กรควรมีการทำ Offline backup เพิ่มเติม เพื่อเพิ่มความปลอดภัยอีกชั้นเมื่อเซิร์ฟเวอร์ถูกตัดการเชื่อมต่อจากเครือข่าย โอกาสถูกโจมตีก็จะลดลงทันที ทำให้องค์กรสามารถกู้คืนข้อมูลได้ทันทีหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน
ActiveProtect รวมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ไว้ในเครื่องเดียว ช่วยให้ทีม IT ไม่ต้องประกอบระบบเอง พร้อมระบบปฏิบัติการในตัวสำหรับแบ็คอัพ กู้คืน และจัดการข้อมูลข้ามไซต์ และยังช่วยให้แอดมินจัดการเซิร์ฟเวอร์แบ็คอัพได้มากถึง 2,500 เครื่อง ควบคุม Workload ได้สูงสุด 150,000 งาน
นอกจากนี้ฟีเจอร์เด่นที่ทำให้ ActiveProtect ตอบโจทย์องค์กรยุคใหม่ประกอบด้วย Backup พร้อม Deduplication Technology (การขจัดข้อมูลซ้ำซ้อน) ประหยัดแบนด์วิธ และตอบโจทย์การกู้คืนข้อมูลอย่างรวดเร็ว การตรวจสอบข้อมูลด้วย Btrfs checksums ช่วยตรวจสอบและซ่อมแซมข้อมูลเสียหายแบบอัตโนมัติ องค์กรยังสามารถทำสภาพแวดล้อมแบบ Sandbox เพื่อ ทดสอบการกู้คืนข้อมูลโดยไม่กระทบระบบจริง เพิ่มความมั่นใจในแผนกู้ข้อมูล
องค์กรสามารถตรวจสอบข้อมูลสำรองโดยการสร้างวิดีโอเพื่อยืนยันว่าองค์กรสามารถกู้คืนข้อมูลจากภัยพิบัติได้ องค์กรสามารถกู้คืนทั้งระบบ, ไฟล์เดี่ยว, physical-to-virtual (P2V) และ virtual-to-virtual (V2V) ตามเป้าหมายเวลาในการกู้คืน (RTO) ในกรณีที่เกิดการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์
“เป้าหมายของเราคือการก้าวข้ามการจัดเก็บข้อมูลแบบดั้งเดิมและให้บริการโซลูชันการจัดการข้อมูลที่ปลอดภัยและครบวงจร ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถจัดการกับความท้าทายด้านข้อมูลของพวกเขาด้วยความมั่นใจและง่ายดาย” ฟิลิป วองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ ประธาน Synology กล่าวทิ้งท้าย
ปัจจุบัน Synology ให้บริการลูกค้าธุรกิจกว่า 260,000 รายทั่วโลก ครอบคลุมอุตสาหกรรมที่มีความต้องการสูง เช่น เซมิคอนดักเตอร์ การเงิน การผลิต การบิน การป้องกัน และอื่น ๆ มากกว่าครึ่งหนึ่งของบริษัทใน Fortune 500 ให้ความไว้วางใจในโซลูชันของ Synology สำหรับการดำเนินงานประจำวันของพวกเขา และ Synology ยังได้รับคะแนนรวมถึง 4.7 จาก 5 ในรายงาน 2025 Gartner Voice of the Customer