ประเทศไทย, 10 สิงหาคม 2563 Opensignal ผู้ดำเนินการวิเคราะห์ระบบมือถือและกำหนดมาตรฐานระดับโลกเผยการวิเคราะห์ภาพรวมการตำแหน่งคลื่นความถี่ของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือทั้งสามรายในประเทศไทย ได้แก่ DTAC AIS และ TrueMove H ช่วงก่อนและหลังการประมูลคลื่น 5G เพื่อทำความเข้าใจถึงการนำคลื่นความถี่ใหม่มาปรับใช้จะส่งผลต่อประสบการณ์เครือข่ายมือถือในประเทศไทยอย่างไร เพราะคลื่นความถี่ถือว่ามีอิทธิพลอย่างมากต่อคุณภาพของประสบการณ์เครือข่ายมือถือ

ตามที่ กสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ได้จัดงานประมูลคลื่น 5G ขึ้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เพื่อปูทางไปสู่การเปิดใช้ 5G โดยในการประมูลนั้น AIS ได้คลื่นความถี่แบนด์ 41 (TDD, 2600 MHz) รวม 100 MHz (10 ใบอนุญาต) และ TrueMove H ได้รวม 90 MHz (9 ใบอนุญาต) Opensignal พบว่าระหว่างวันที่ 1 เมษายนถึง 30 มิถุนายน ที่ผ่านมา ทั้ง AIS และ TrueMove H ได้ใช้คลื่น 2600 MHz ที่ได้มาใหม่นี้ 20-40 MHz สำหรับ 4G โดยขึ้นอยู่กับพื้นที่

การนำคลื่นความถี่ 2600 MHz มาใช้งานส่งผลต่อความเร็วการดาวน์โหลด 4G อย่างไร?

เพื่อแสดงให้เห็นถึงผลกระทบของการนำคลื่นความถี่ 2600 MHz มาใช้ เราได้วิเคราะห์ประสบการณ์ความเร็วดาวน์โหลดจากผู้ใช้งานของเราบนเครือข่าย 4G ที่แตกต่างกันในประเทศไทย พบว่าผู้ใช้คลื่นความถี่ Band 41 ได้รับประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลด 4G ดีกว่าอย่างเห็นได้ชัดทั้งบนเครือข่ายของ AIS และ TrueMove H มีความเร็วดาวน์โหลดเฉลี่ยที่ 14.1 Mbps และ 18.4 Mbps ตามลำดับ โดยผู้ใช้ที่เชื่อมต่อบนคลื่นความถี่สูงกว่ามักจะได้รับประสบการณ์การใช้งานที่รวดเร็วกว่าผู้ใช้ในย่านความถี่ต่ำเนื่องจากมีแบนด์วิดท์มากกว่า

AIS และ TrueMove H กำลังปรับใช้แบนด์วิดท์ 4G มากกว่า DTAC

เราประเมินการถือครองคลื่นความถี่ของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือแต่ละรายและพบว่าก่อนการประมูลคลื่นความถี่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์นั้น DTAC ใช้คลื่นความถี่สูงสุด (90 MHz) สำหรับบริการ 4G ตามด้วย AIS (80 MHz) และ TrueMove H (70 MHz) ตามลำดับ อย่างไรก็ตามหลังการประมูลสิ้นสุด AIS และ TrueMove H นำคลื่นความถี่ Band 41 ใหม่ไปใช้ใน 4G เพิ่มเติมระหว่าง 20 ถึง 40MHz (ปริมาณขึ้นอยู่กับพื้นที่) ทำให้ปริมาณการใช้คลื่น 4G สูงขึ้นเป็น 120 MHz และ 110 MHz ตามลำดับ แต่คลื่น 4G ของ DTAC ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ

จากการตรวจสอบเพิ่มเติม Opensignal พบว่าผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือนำคลื่นความถี่ใหม่ไปใช้ในบางพื้นที่เท่านั้น: ซึ่ง AIS นำคลื่นความถี่ 40 MHz ไปใช้เฉพาะในจังหวัดที่มีประชากรหนาแน่น เช่น กรุงเทพมหานคร และใช้คลื่นความถี่ 20 MHz ในพื้นที่ที่เหลือ ในขณะที่การใช้งานคลื่น 40 MHz ของ TrueMove H มีขอบเขตที่กว้างกว่า

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบในระยะยาวต่อประสบการณ์ใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่นั้นยังไม่มีความชัดเจนเนื่องจากทุกอย่างเพิ่งเริ่มต้นและขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ใช้ รวมถึงปริมาณการใช้ข้อมูลทั้งหมด แต่หากในอนาคตเมื่อคลื่น Band 41 มีการนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น ประสบการณ์การใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่ของผู้ใช้ย่อมดียิ่งขึ้น หากการใช้งานนั้นไม่ได้ล้ำหน้าการใช้งานบนคลื่นความถี่ที่ปรับใช้เพิ่มเติมโดยผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ

5G ดึงศักยภาพการใช้คลื่นความถี่ประสิทธิภาพสูงที่จะช่วยลดความแออัด

นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของยุค 5G ในประเทศไทย ดังนั้นจึงเร็วเกินไปที่จะสรุปอนาคตของ 5G อย่างไรก็ตามการใช้งานเครือข่ายอย่างหนักหน่วงยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความเร็วในการดาวน์โหลดต่ำ เนื่องจากคลื่นความถี่เป็นทรัพยากรที่มีจำกัด ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือไทยจึงจำเป็นต้องสร้างสมดุลการใช้ทรัพยากรนี้ระหว่างผู้ใช้ 5G ใหม่และผู้ใช้ 4G ที่เป็นกลุ่มผู้ใช้ส่วนใหญ่ในปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการใช้อุปกรณ์ 5G มากขึ้น

เทคโนโลยี 5G ช่วยให้สามารถเข้าถึงคลื่นความถี่ใหม่สมรรถนะสูงที่สามารถบรรเทาความแออัดของการใช้งานเครือข่ายได้ ตัวอย่างเช่นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยยังได้รับคลื่นความถี่แบบ mmWave ในย่านความถี่ 26 GHz ซึ่งมีสมรรถนะและความเร็วสูงมาก แต่ครอบคลุมพื้นที่ไม่กว้างซึ่งทำให้เหมาะสำหรับย่านใจกลางเมืองที่มีประชากรหนาแน่นมาก แต่ไม่เหมาะกับการนำไปกระจายใช้งานในพื้นที่กว้างขวาง หมายความว่าผู้ใช้ 5G ในประเทศไทยส่วนใหญ่มักจะใช้คลื่นความถี่ระดับกลางเช่นคลื่นความถี่ 2600 MHz เพื่อเชื่อมต่อกับ 5G แทนที่จะเป็น mmWave

Comments

comments