การบริหารจัดการพลังงานที่ดีขึ้น ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีการดี ๆ ที่สามารถช่วยบริษัทผู้ผลิตลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับองค์กรได้ ในแต่ละวัน โรงงานผู้ผลิตในประเทศไทยใช้พลังงานไฟฟ้าในปริมาณมหาศาล ส่งผลให้เกิดต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงมาก อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้สามารถถหลีกเลี่ยงได้ด้วยระบบการจัดการพลังงานง่าย ๆ

จากข้อมูลของกระทรวงพลังงานในประเทศไทย พบว่า ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 ภาคอุตสาหกรรมเพียงกลุ่มเดียวมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงถึง 64,657 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง หรือคิดเป็นประมาณ 45% ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดของประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สิ้นเปลืองแก่บริษัท และไม่ทำให้เกิดความยั่งยืน

ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของทั้งประเทศ จำแนกตามประเภทอุตสาหกรรม ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564

ที่มาของภาพ: สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน

ค่าสาธารณูปโภคที่พุ่งสูงจากระบบโรงงานที่ไม่มีประสิทธิภาพและล้าสมัย ทำให้บริษัทต้องเสียเงินโดยไม่จำเป็นและส่งผลเสียต่อการเติบโตของธุรกิจ ผู้ผลิตที่ไม่ “เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” มีสิทธิ์ที่จะถูกทิ้งไว้เบื้องหลังในตลาดอุตสาหกรรมระดับโลกในปัจจุบันซึ่งต้องการการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social, Governance : ESG) (ESG) ที่ยอดเยี่ยม

ในฐานะผู้ผลิตชั้นนำของโลกด้านโซลูชันการจัดการพลังงานและผู้ให้บริการโซลูชันที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เดลต้ามีประสบการณ์ด้านการจัดการพลังงานและโซลูชันโรงงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาอย่างยาวนาน วันนี้เราจะมาตรวจสอบกรณีการใช้งานจริงของโซลูชันโรงงานสีเขียว ซึ่งครอบคลุมขั้นตอนสำคัญที่ผู้ผลิตสามารถทำได้เพื่อให้ธุรกิจเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

อุตสาหกรรมสีเขียวคืออนาคตของการผลิตระดับโลก

ความเร่งด่วนของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กระตุ้นให้ผู้นำในอุตสาหกรรมระดับโลกร่วมมือกันในโครงการริเริ่มที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น RE100 โดย The Climate Group องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดย RE100 มีเป้าหมายที่จะส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดทั่วโลกและมุ่งสู่สังคมที่การปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ บริษัทชั้นนำของโลกกว่า 300 แห่งได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก RE100 (รวมถึงเดลต้าด้วย)

วิศวกรโครงการกังหันลมในสหราชอาณาจักร

ที่มาของภาพ: RE100 Climate Group

พันธมิตรและลูกค้าของเดลต้าหลายรายเป็นสมาชิก RE100 ซึ่งรวมถึงบริษัทชั้นนำระดับโลกในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ โทรคมนาคม และโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ซึ่งล้วนมุ่งมั่นที่จะหันมาใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ดังนั้น หากคุณเป็นผู้ผลิตที่ต้องการร่วมงานกับพันธมิตรชั้นนำระดับโลก คุณต้องปฏิบัติตามระเบียบมาตรฐานที่เข้มงวดซึ่งกำหนดโดยบริษัทชั้นนำในห่วงโซ่อุปทานระดับโลก

นโยบายของประเทศไทยในการผลักดันสู่อุตสาหกรรมสีเขียว

ด้วยเทรนด์การดำเนินธุรกิจทั่วโลกที่เน้นการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมของประเทศไทยจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวเพื่อรักษาศักยภาพในการแข่งขัน โดยเมื่อเดือนมีนาคมปี 2564 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้สั่งการให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ผลักดันให้ทุกโรงงานอุตสาหกรรมในกำกับที่ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 71,130 แห่งทั่วประเทศพัฒนาสู่การเป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) ทั้งหมด ตามที่องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิโด (The United Nations Industrial Develop-ments Organization-UNIDO) ได้กำหนดไว้ และในระหว่างการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 (COP26) เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ให้คำมั่นว่าประเทศไทยพร้อมที่จะยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2608 รวมถึงสนับสนุนให้คนไทยหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าเป็นจำนวน 15 ล้านคันภายในปี 2578

กรมโรงงานอุตสาหกรรม รายงานว่า ตั้งแต่ปี 2554 โรงงานไทยประมาณ 20,000 แห่งได้รับใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว รวมถึงรางวัลอุตสาหกรรมสีเขียว 110 แห่ง ซึ่งเป็นการรับรองว่าโรงงานเหล่านี้มีกระบวนการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

สถานะอุตสาหกรรมสีเขียวของเดลต้า

กระทรวงพลังงานและกระทรวงอุตสาหกรรมได้แต่งตั้งให้เดลต้าเป็นบริษัทที่เป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับโรงงานสีเขียวในประเทศไทย เป้าหมาย RE100 ของเดลต้าคือการใช้พลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน 100% ในทุกขั้นตอนการดำเนินงานทั่วโลกของเราภายในปี 2573 เป้าหมายของเดลต้าสำหรับการดำเนินงานระดับภูมิภาคคือ การลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงถึง35% สำหรับเดลต้า ประเทศไทย (Delta Thailand RE35) และลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงถึง 30% สำหรับเดลต้า อินเดีย (Delta India RE30) ภายในปี 2568 และลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงถึง 100%  (RE100) สำหรับการดำเนินงานของเดลต้าในทุกภูมิภาคภายในปี 2573 ในฐานะผู้นำด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน LEED (ความเป็นผู้นำด้านการออกแบบพลังงานและสิ่งแวดล้อม) ระดับ Gold ถึง 2 รายการ สำหรับมาตรฐานโรงงานสีเขียวในประเทศไทย เดลต้าสามารถแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ความเชี่ยวชาญแก่บริษัทผู้ผลิตต่าง ๆ ได้มากมาย

ในปี 2563 โซลาร์รูฟท็อปของเดลต้าสามารถสร้างพลังงานหมุนเวียนได้ถึง 9,569 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมง และประหยัดพลังงานได้ถึง 2,716 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจของเราในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนในการดำเนินงานลง 20% ภายในปี 2568 ในระหว่างปี 2558-2563 เดลต้า ประเทศไทย ประสบความสำเร็จในการลดการใช้พลังงานในการดำเนินงานถึง 39% ซึ่งลดลงมากกว่าเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ว่าจะลดการใช้พลังงานลง 30%

คุณสามารถเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นโรงงานสีเขียวได้อย่างไร
การเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมสีเขียว จำเป็นต้องมีการวางแผนและความมุ่งมั่นในระยะยาว ในฐานะผู้ผลิต คุณควรเริ่มศึกษาและรียนรู้เกี่ยวกับกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมต่าง เช่น ISO 9001, ISO 9001, OHSAS 18001/ISO 45001, CSR และ Green Logistics เพื่อสำรวจว่ากระบวนการใดเหมาะสมกับโครงสร้างอุตสาหกรรมของคุณมากที่สุด

นอกจากนี้ เดลต้ายังแนะนำ กิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ  ได้แก่ ISO14001, ISO 50001, CSR-DIW, CSR-DPIM, Green Label-Thailand, Green Product Services Thailand และ/หรือ PM Award

การมุ่งเป้าและตั้งคำถามให้ถูกต้องก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น คุณควรคำนึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้

1. ในแต่ละโรงงาน พื้นที่ และเครื่องจักร เราใช้พลังงานเท่าไหร่?
2. เราสามารถพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตให้คุ้มค่ากับพลังงานที่ใช้ได้อย่างไร?
3. ในแต่ละหน่วย หรือล็อตการผลิต มีต้นทุนพลังงานมากน้อยแค่ไหน?

มีโอกาสสำหรับการจัดซื้อพลังงานที่เหมาะสมหรือไม่?

เมื่อคุณมีความเข้าใจ และสามารถตัดสินใจได้แล้วว่าต้องการเน้นพัฒนาในด้านไหน คุณสามารถติดต่อเดลต้าได้ เนื่องจากเรามีประสบการณ์ในการฝึกอบรมทีมงานที่ดูแลการจัดการพลังงานให้กับบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ในประเทศมาแล้วมากมาย และเรามั่นใจว่าเราสามารถช่วยคุณได้

โอกาสต่างๆ ในการพัฒนาโซลูชันสำหรับโรงงาน

กรณีศึกษาจากการใช้งานจริง

สิ่งที่ผู้ผลิตสามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน ได้แก่ การใช้เครื่องเป่าลม ปั๊มน้ำ หรือเครื่องระบายอุณหภูมิต่างๆ เช่น เครื่องสูบน้ำหมุนเวียน เครื่องสูบน้ำเสีย เครื่องดูดควัน เครื่องเป่าลมแบบเหนี่ยวนำหรือแบบบังคับ และหอทำความเย็นในโรงงาน   นอกจากนี้ เราสามารถประหยัดพลังงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้นด้วยเครื่องปรับอากาศกลาง HVAC ที่พบได้ในโรงงานทั่วไป ในเครื่องอัดอากาศ ในกระบวนการยกใด เช่น เครนท่าเรือ เครนอุตสาหกรรม(เครนโรงงาน Bridge Crane) หรือลิฟต์ ในระบบแสงสว่างของโรงงาน และ สุดท้ายคือการปรับปรุงคุณภาพกำลังไฟฟ้าของโรงงานโดยรวม

ทำไมเดลต้าถึงแนะนำ VFDs


VFDs (Variable-Frequency Drives)  หรือ ไดรฟ์ความถี่แปรผัน สามารถช่วยประหยัดพลังงานได้โดยควบคุมความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้าทำงานที่ความเร็วตามภาระการใช้งานของโหลดต่างๆ เช่น ปั๊มน้ำ   VFDs เปรียบเสมือนเครื่องเร่งความเร็วของรถยนต์เนื่องจากสามารถปรับความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้าสำหรับพัดลม หรือเครื่องสูบน้ำ HVAC ได้ตามความต้องการ เพื่อช่วยประหยัดพลังงาน และยืดอายุการใช้งานของมอเตอร์ รวมถึงส่วนประกอบต่าง ๆ     ซึ่งหากไม่มี VFDs พัดลม HVAC หรือมอเตอร์ปั๊มจะเปิดทำงานเต็มที่ 100%  หรือปิดทำงานไปเลย 100%  ซึ่งทำให้สิ้นเปลืองไฟฟ้าเป็นอย่างมากในช่วงเวลาที่คุณไม่ได้ต้องการใช้กำลังเครื่องอย่างเต็มที่

Image source: Delta Automation Inc.

จากกฏของเครื่องสูบน้ำสำหรับปั๊มหอยโข่ง และพัดลม เราจะเห็นว่า หากลดการไหล (Flow) ลง 30% เราสามารถลดการใช้พลังงานลงได้ประมาณ 34.3% หรือใช้พลังงานลดลงเกือบ 65% เมื่อเทียบกับพลังงานที่ใช้ไป ณ การไหล 100%

คุณยังสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในระบบโรงงานได้ด้วยการเปลี่ยนมอเตอร์ประสิทธิภาพต่ำเป็นมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง   และหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของเดลต้า คือ มอเตอร์ซิงโครนัสแบบต้านทานแม่เหล็ก (Synchronous Reluctance Motor) ซึ่งเป็นมอเตอร์เหนี่ยวนำที่ออกแบบมาเพื่อลดทั้งกระแสไฟฟ้า การสูญเสียสนามแม่เหล็ก และการสูญเสียทางกลได้ โดยการปรับสไลเดอร์ โรเตอร์ แบริ่ง และชิ้นส่วนพัดลมระบายความร้อนทั้งหมดของมอเตอร์

ภาพด้านบนเป็นการจำลองการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าด้วยความเร็วมอเตอร์ที่แตกต่างกันสามระดับสำหรับอัตราการไหลของน้ำอัตราต่าง ๆ  พร้อมแสดงให้เห็นว่าเราสามารถประหยัดพลังงานได้มากเพียงใดจากการใช้ VFD

A. ในภาพแรก มอเตอร์ทำงานด้วยความเร็วเต็มอัตรา สำหรับอัตราการไหลของน้ำ 100%   โหลดการใช้ไฟฟ้าของมอเตอร์อยู่ที่ 100% โดยใช้ทั้งวาล์วและ VFD ที่กำลังไฟ 100% ในการควบคุมปั๊ม ผลพบว่าวิธีนี้ไม่ช่วยให้ประหยัดพลังงาน
B. อย่างไรก็ตาม ภาพที่สองแสดงให้เห็นว่า การใช้วาล์วเพื่อลดอัตราการไหลของน้ำลงจนเหลือเพียง 70% ส่งผลให้โหลดการใช้ไฟฟ้าลดลงเหลือ 82% แต่หากมีการใช้ VFD ร่วมด้วย การใช้พลังงานจะลดเหลือ 55% และช่วยประหยัดพลังงานไปได้ถึง 27%
C. ในภาพสุดท้าย เมื่อใช้วาล์วลดอัตราการหลของน้ำเพิ่มเติมจนเหลืออัตราการไหลเพียง 40% โหลดการใช้ไฟฟ้าจะลดลงเหลือ 70%  และหากมีการใช้ VFD ร่วมด้วยจะช่วยลดระดับการใช้พลังงานลงเหลือเพียง 25% และช่วยประหยัดพลังงานได้มากถึง 45%

ประหยัดพลังงานแล้ว ขั้นตอนต่อไปคืออะไร

เมื่อระบบของคุณเริ่มมีประสิทธิภาพที่เหมาะสมแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการตรวจสอบ และจัดการพลังงานด้วยข้อมูล  ซึ่งเดลต้าได้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่ทรงพลัง และใช้งานง่ายที่ชื่อว่า DIAEnergie เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถดูข้อมูลการใช้พลังงานของคุณแบบเรียลไทม์ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ

ระบบ DIAEnergie นี้ เป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนากลยุทธ์การจัดการพลังงาน และเพื่อให้เกิดโครงสร้างการควบคุมพลังงานที่มีประสิทธิภาพ  นี่จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และลดต้นทุนของการดำเนินงานของโรงงานทั้งหมด

DIAEnergie เป็นตัวช่วยง่าย ๆ ในการจัดการพลังงาน และช่วยแก้ปัญหาได้ทันการ เช่นกรณีอุปกรณ์เริ่มชำรุดทำให้มีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้ลดค่าใช้จ่ายของโครงการต่าง ๆ ได้เร็วขึ้นจากการรายงานตามเวลา ณ ปัจจุบัน   และทำให้เกิดประโยชน์อีกประการของการประหยัดพลังงาน คือ ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนน้อยลง ซึ่งตรงตามมาตรฐาน ESG (Environmental, social, and governance Standards หรือมาตรฐานความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) ระดับโลก พร้อมตอบโจทย์ด้านความยั่งยืน และยังเป็นโอกาสให้ผู้ผลิตได้ชูความสามารถในการการลดคาร์บอนจากโรงงานของตน ทั้งต่อลูกค้า และเหล่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอีกด้วย

คุณยังสามารถใช้ DIAEnergie กับ อุปกรณ์แสดงผลและควบคุมการทำงาน ที่เรียกว่า Human Machine Interface (HMI) และซอฟต์แวร์แสดงผลและควบคุมการทำงานของระบบเช่น VTScada ซึ่งช่วยให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานมีตัวช่วยที่ใช้งานง่าย ในการควบคุม ดูแล ปรับแต่งการใช้งาน และการประยุกต์ใช้ต่าง ๆ   โดยซอฟท์แวร์ VTScada นี้ มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมาย และมีชื่อเสียงเป็นอย่างมากในอุตสาหกรรมการประปาในทวีปอเมริกาเหนือ     สำหรับการใช้งานในประเทศไทย เดลต้าแนะนำให้ใช้ DIAEnergie ร่วมกับ VTScada เพื่อช่วยให้สามารถเห็นภาพ และจัดการกับการใช้พลังงานได้อย่างแม่นยำ และมีความยืดหยุ่นที่สุด

บทสรุป

ในขณะที่โลกของเราเริ่มตระหนักถึงผลกระทบของอุตสาหกรรมต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อยๆ  ผู้ผลิตจำเป็นต้องปรับตัวให้ทัน และปรับกลยุทธ์ด้านพลังงานของตนให้เหมาะสมโดยเป็นรู้กันดีว่าโรงงานใช้พลังงานเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นก้าวแรกของการใส่ใจในสิ่งแวดล้อม

เดลต้าอยากแนะนำผู้ผลิตทุกรายเริ่มจากขั้นตอนง่าย ที่สามารถสร้างผลกระทบได้ เช่น การติดตั้งมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง และ VFDs  ซึ่งจะทำให้คุณสามารถลดการใช้พลังงาน ต้นทุน และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในโรงงานของคุณได้ในทันที

ขั้นตอนต่อไปสู่การพัฒนาของคุณสู่โรงงานสีเขียว คือการนำโซลูชัการจัดการพลังงานต่างๆ มาปรับใช้ และการพัฒนาการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งจำเป็นต้องมีเครื่องมือในการช่วยตรวจสอบ และวิเคราะห์ข้อมูลพลังงานที่แม่นยำและครอบคลุม  โดย DIAEnergie และ VTScada เป็นเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมที่จะช่วยให้คุณและทีมของคุณสามารถใช้เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน และปฏิบัติตามแผนการจัดการพลังงานที่วางไว้ได้อย่างลุล่วง

ท้ายที่สุดนี้ เราขอให้ทุกคนโชคดีกับการพัฒนาสู่โรงงานสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม   สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม และคำแนะนำในการเริ่มต้น สามารถติดต่อเดลต้าได้เลยวันนี้

ที่มาของข้อมูล

http://www.eppo.go.th/images/Energy-Statistics/energyinformation/Energy_Statistics/00All.pdf

https://www.nationthailand.com/in-focus/30403494

https://www.thansettakij.com/economy/471431

https://thaiembdc.org/2021/11/10/thai-prime-minister-pledges-more-electric-vehicles-at-cop26/

https://deltathailand.com/en/products/Automation/Industrial-Automation/1/AC-Motor-Drives

https://deltaautomation.com/go-green-with-vfds/

https://slideplayer.com/slide/3901846/

https://deltathailand.com/en/products/Automation/Industrial-Automation/Software-System

https://deltathailand.com/en/products/Automation/Industrial-Automation/Software-System/VTScada

Comments

comments