วันนี้ช่วงเช้าที่สำนักงาน กสทช. ทางคณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาและวิเคราะห์กรณีการรวมธุรกิจระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด(มหาชน) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและสิทธิพลเมือง จัดเวทีโฟกัสกรุ๊ปแสดงความเห็นในวงจำกัด (Focus Group) ครั้งที่ 3 โดยนายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ประธานคณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาและวิเคราะห์กรณีควบรวมฯ กล่าวว่า หลังจากเปิดเวทีรับฟังผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา ได้มี องค์กรผู้บริโภค นักวิชาการจากสถาบันหลักอย่าง TDRI และผู้ทำวิจัยเพื่อประชาชน พร้อมทั้งผู้บริโภค ตัวแทนภาคอุตสาหกรรม ต่างเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเต็มที่  เพื่อให้มีข้อมูลประกอบการพิจารณาของ กสทช.อย่างรอบด้าน และโปร่งใส รวมถึงวันนี้ ที่มีหลากหลายกลุ่มร่วมให้ความเห็น โดย เฉพาะอย่างยิ่งภาคประชาชน พร้อมย้ำว่า ตนทำหน้าที่รับฟังทุกความเห็นอย่างรอบด้าน เพื่อรวบรวมไปให้คณะทำงานพิจารณา และยังไม่เคยให้ความเห็นสนับสนุนหรือคัดค้าน

นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา เผยต่อไปว่า แปลกใจที่ ทรู และ ดีแทค ในฐานะผู้ขอควบรวมและมีการเชิญให้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นทุกครั้ง แต่กลับขอยกเลิกเข้าร่วมนาทีสุดท้าย หลังจากไม่เคยร่วมเลยทุกเวที ระบุตอนนี้ผู้ขอควบรวม คือทรูดีแทคก็รับปากมาอย่างดีว่าจะมาร่วมในเวทีนี้ แต่สุดท้ายก็ไม่มาเพราะมองเวทีไม่เป็นกลาง ซึ่งจริงๆแล้วการที่อนุฯได้จัดงานครั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ขอควบรวมทั้ง 2 รายมาขี้แจงแนวทางในการดูแลผู้บริโภคขั้นตอนการดำเนินการต่างๆ

หากรายใหญ่ฮั้วทำค่าโทรพุ่ง 120%

นายฉัตร คำแสง ผู้อำนวยการ 101 PUB – 101 Public Policy Think Tank ศูนย์ความรู้นโยบายสาธารณะเพื่อการเปลี่ยนแปลง กล่าวว่า จากการศึกษาพบว่า การควบรวมครั้งนี้ทำให้เกิดการกระจุกตัวของตลาดโทรคมนาคมสูงอย่างมาก ซึ่งจากเดิมในประเทศไทยมีผู้ผลิตผู้ประกอบการรายใหญ่ 3 รายได้แก่ก็คือ AIS True Dtac โดย AIS เนี่ยจะมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 46-47% True ราว 33% ในขณะที่ dtac ในประมาณ 18-20% และราเล็กสุดคือบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ NT อยู่ที่ 3% ซึ่งแปลว่าเมื่อเกิดการควบรวมของทรูกับดีแทคก็จะทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดขึ้นไปสูสีกับ AIS 

ดังนั้น จะทำให้การกระจุกตัวเพิ่มขึ้นโดยดัชนี HHI จะแสดงให้เห็นว่าหากเป็นตลาดที่ผูกขาดเพียงรายเดียวจะเป็น 100% โดยค่าจะอยู่ที่ 10,000 แต่เมื่อใดที่ผู้แข่งขันเยอะขึ้นนั้น ค่าก็จะลดลงจนใกล้ศูนย์ซึ่งเท่ากับตลาดนั้นเกิดการแข่งขันที่เสรีอย่างที่สุด แต่หากมาดูว่าหลังจากเกิดการควบรวมของ True และ dtac ดัชนีจะเพิ่มขึ้นจาก 3,578 ไปที่ 4,823 เพิ่มขึ้นถึง 32.4% ถือเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในขณะที่สำนักงานกสทช.เคยระบุไว้ในกฎหมายว่า หากตลาดมีดัชนี HHI เกิน 2,500 ถือเป็นตลาดที่มีความอันตราย 

จากการใช้สูตรคำนวณทางเศรษฐกิจที่มีการคำนวณต้นทุนจึงได้ศึกษาปัจจัยที่อาจเกิดขึ้นโดยนำเรื่องครอบคลุมของโครงข่าย 3G 4G และ 5G มาทำเป็นแบบจำลองทางสถิติว่าหาก HHI เพิ่มจาก 3,578 จุดเป็น 4,737 จุด 

ซึ่งจากราคาเฉลี่ยตามแพคเก็จที่มาหารกันตลาดประเทศไทยอยู่ที่ 220 บาทต่อเดือน แต่หากเมื่อมีการควบรวมธุรกิจกันนั้น ทำให้พบว่าหากมีการแข่งขันกันรุนแรงแม้จะเหลือเพียง 2 รายราคาค่าบริการก็ยังเพิ่มขึ้นราว 7-10% ราว 235-242 บาท แต่ถ้าเกิดมีการแข่งขันกันตามปกติราคาที่เพิ่มขึ้นประมาณ 13-23% ราว 249-270 บาทแต่ในหาก 2 รายรู้สึกว่าพอใจกับจำนวนลูกค้ากับการแข่งขันที่เป็นอยู่จนไม่เกิดการแข่งขันกับมาร์เก็ต แชร์คนละ 50% และสามารถขึ้นราคาหรือฮั้วค่าบริการกันได้จะจะทำให้ค่าบริการเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวได้เลย ราว 66-120% คิดเป็นราคา 365-480 บาท 

นายฉัตร กล่าวว่า ตัวประกาศกสทช.ปี 2561 แม้ว่าข้อ 5 จะเขียนว่า ให้การควบรวมนั้นเป็นการรายงานแต่ว่าถ้าพลิกประกาศฯมาอีกหน้าเดียว ในข้อ 9 คือระบุว่าการควบรวมต้องได้รับการอนุญาตจากกสทช.และข้อ 8 เขียนว่าการถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกันทั้งทางตรงทางอ้อมหรือผ่านตัวแทนโดยมีการซื้อหุ้นหรือเข้าถือครองหุ้นเกิน 10% ขึ้นไปจะทำไม่ได้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตซึ่งถ้าเกิดการผูกขาด ลดหรือจำกัดการแข่งขันกสทช.มีอำนาจสั่งห้ามได้หรือว่าใช้การกำหนดมาตรการเฉพาะก็ได้ซึท่งมาตรการบังคับใช้ได้ประกาศฯ กสทช.ปี 2549 ปี 2561 โดยปี2561 มีเงื่อนไข 4 ข้อคือ 1.HHI เกิน 2,500 ซึ่งตรงนี้เห็นได้ชัดว่าเกินอยูาแล้ว 2.การควบรวมทำให้การกระจุกตัวเพิ่มขึ้นเกิน 100 จุดแต่ครั้งนี้คือเกิน 1,000 จุด 3. มีอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดของรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 4.การครอบครองโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มขึ้นทั้งเสาและสถานีฐาน

ควบรวมเป็นบวกเฉพาะกับผู้ถือหุ้น

นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอกล่าวว่า การควบรวมทรูกับ ดีแทคจะเป็นประโยชน์กับผู้ถือหุ้น ทรูและดีแทค เนื่องจากผู้เล่นในตลาดโทรศัพท์มือที่ลดจาก 3 ราย เหลือ 2 ราย แต่จะส่งผลเสียต่อผู้บริโภคและบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้องเช่น ดีลเลอร์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องในหลายๆส่วน ดังนั้น ไม่ว่าจะเรียกความร่วมมือทางธุรกิจที่เกิดขึ้นว่าอะไร นี่คือ การควบรวมกิจการ มีโครงสร้างกึ่งผูกขาดอยู่แล้วการควบรวมกิจการครั้งนี้จึงค่อนข้างอันตรายต่อการผูกขาดตลาด ผู้ได้อานิสงส์ หรือ ผลกระทบทางบวกจากเรื่องนี้ คือ ผู้ถือหุ้นของทั้งสองบริษัท บริษัทคู่แข่งที่ไม่ได้เกี่ยวกับการควบรวมกิจการ แต่มีราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้น

แม้แต่ “เอไอเอส” ที่ไม่ได้อยู่ในดีลควบรวมนี้ ราคาหุ้นก็พุ่งขึ้นอย่างมาก ดังนั้นด้วยเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ที่เมื่อควบรวมแล้ว จะทำให้เหลือผู้เล่นเพียงสองราย การแข่งขัน และตัดราคากันจะน้อยลงไปด้วย 

ส่วนผู้ได้รับผลด้านลบคือ ผู้บริโภค และคู่ค้าของผู้ให้บริการที่อาจจะมีอำนาจต่อรองลดลงธุรกิจสตาร์ทอัพ ที่คาดว่า จะได้รับการสนับสนุน การควบรวมจะทำให้ผู้สนับสนุนลดลงไปหนึ่งราย ส่วนรัฐบาล จะได้รับผลกระทบรายได้ลดลง ถ้ามีการประมูลคลื่นความถี่ ผู้เข้าประมูลลดลงรายได้ของรัฐย่อมลดลง ขณะที่ประชาชนจะต้องถูกเก็บภาษีเพิ่มขึ้นเพื่อไปทดแทนรายได้ของรัฐที่หายไป

ถัดมาคือระบบเศรษฐกิจไทย ผลของการควบรวมกิจการจะทำให้การเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลของไทยมีต้นทุนสูงขึ้น การประกอบอาชีพ การค้าขายออนไลน์ การเรียนออนไลน์ ฯลฯ จะได้รับผลกระทบทั้งหมด

ดีลการควบรวม ส่งผลให้ผู้ประกอบการทั้ง 3 รายได้ประโยชน์อย่างชัดเจน ดูได้จากราคาหุ้นของดีแทค ก้าวกระโดดขึ้น ตลอด 5 วันหลังจากประกาศวบรวมเมื่อปลายเดือรพ..ปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 17% ขณะที่ ทรู หุ้นเพิ่มขึ้น 15% ไม่เว้นคู่แข่ง เอไอเอส ราคาหุ้นก็เพิ่มขึ้น 7.7% ด้วย แม้ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรง กับการควบรวมกิจการ แปลว่า เมื่อมีการควบรวมกันแล้ว ตลาดจะเหลือผู้เล่นเพียง 2 ราย ผู้เล่น 2 ราย จะมีความจำเป็นที่แข่งขันกัน ตัดราคากัน โปรโมชั่นดีๆ บริการใหม่ๆ จะน้อยลงกว่าการที่มี 3 ราย ด้วยนัยนี้ เอไอเอสจึงได้ประโยชน์ไปด้วย แม้ไม่ใช่คนที่ไปควบรวม

ถามว่าทำไมต้องห่วงการกระจุกตัว เพราะปัจจุบันระดับของการกระจุกตัวค่อนข้างสูงมาก ก่อนเกิดการควบรวม

อย่างไรก็ตาม ประธานทีดีอาร์ไอ ระบุด้วยว่า ในต่างประเทศมีเครื่องมือวัดการผูกขาดเชิงโครงสร้าง คือ ดัชนีการกระจุกตัว หรือ Herfindahl-Hirschman Index : HHI ซึ่งค่าสูงสุด10,000 คือ การผูกขาดรายเดียว

ขณะที่ การควบรวมที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ส่งผลให้ดัชนี HHI ของธุรกิจโทรคมไทย อยู่ที่ 3,700 เพิ่มขึ้นมาที่ 5,012 จาก 3,659 หรือเพิ่มขึ้น 1,353 เรียกว่า เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดมหาศาล จนเกิดการกระจุกตัวในระดับอันตราย เป็นปัญหาใหญ่ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่ต้องพูดถึงในครั้งนี้

ทางออกที่ดีที่สุด คือ ต้องไม่อนุญาต 

นายสมเกียรติ เสนอทางออกกรณีการควบรวมทรูกับดีแทคในประเทศไทย ว่า มีทางออก 3 แนวทาง ได้แก่ แนวทางแรก ไม่อนุญาตให้ควบรวม และหาก ดีแทคจะออกจากประเทศไทยก็ให้ขายกิจการให้กับผู้ประกอบการรายอื่นๆที่ไม่ใช่เอไอเอสและทรูแนวทางที่สอง อนุญาตให้ควบรวมฯ แต่ต้องกำหนดเงื่อนไขที่เข้มงวดมากและต้องเข้มข้นในทุกๆมิติให้บริษัทที่ควบรวมกันคืนคลื่นมาบางส่วนแล้วนำมาจัดสรรใหม่ เพื่อให้มีผู้ประกอบการ 3 ราย ในตลาดโทรศัพท์มือถือ และแนวทางที่สาม อนุญาตให้ควบรวมกันได้ และส่งเสริมให้การผู้ให้บริการเครือข่ายเสมือน (MVNO) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการที่ไม่มีโครงข่ายฯของตัวเอง แต่ทางเลือกนี้ ไม่ใช่ข้อเสนอที่เหมาะสมนัก เพราะ MVNO ไม่ได้เกิดง่าย และการดูแลจะยากมาก ดังนั้น จึงต้องป้องกันไม่ให้มีการผูกขาด เพราะหากปล่อยให้มีการผูกขาดแล้วไปแก้ไขในภายหลังจะยากมาก

ตลาดโทรศัพท์มือถือในยุโรป จะไม่ยอมให้ควบรวมกันเหลือ 3 ราย แล้วมาเหลือ 2 ราย แม้กระทั่งสิงคโปร์ ซึ่งตลาดเล็กๆขนาดนั้นยังมีผู้ประกอบการมากกว่า 3 ราย แล้วทำไมไทยจะรองรับ 3 รายไม่ได้ ดังนั้น ข้อเสนอที่ดีที่สุด คือ ต้องไม่ให้มีการควบรวม หากดีแทคจะออกจากตลาดไทย ก็ให้ขายให้ผู้ประกอบการรายอื่นที่ไม่ใช่เอไอเอสและทรูอีกทั้งเพื่อให้ตลาดมีการแข่งขัน มีต้นทุนลดลง จะต้องลดต้นทุนโครงสร้างพื้นฐาน ให้ใช้โครงข่ายร่วมกัน” นายสมเกียรติ ระบุ

ยื่นจดหมายคัดค้านถึงประธานบอร์ด

เครือข่ายประชาชนพิทักษ์ประโยชน์สาธารณะ (ปปณ.) ได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงศาสตราจารย์คลินิก สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่า จากกรณีที่สองบริษัทสื่อสารโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ทรู” และ “ดีแทค” จะดำเนินการควบรวมกิจการ และร่วมจัดตั้งบริษัทเทคโนโลยี คอมปานีในระดับภูมิภาคท่ามกลางกระแสวิพากษ์จากนักวิชาการในทุกภาคส่วน ภาคประชาชน และองค์กรผู้บริโภค ที่ต่างแสดงความเป็นกังวลการควบรวมกิจการที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงกับประชาชนผู้บริโภค และประโยชน์สาธารณะ

เนื่องจาก ข้อมูลจากการศึกษาของ กสทช.เองระบุว่าในปัจจุบัน มีผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวน 141 ล้านเลขหมายโดยมีผู้ใช้บริการผ่าน 3 ผู้ให้บริการรายใหญ่ คือ เอไอเอส ทรูและ ดีแทค จำนวน 132 ล้านเลขหมาย คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดรวมกันสูงถึงร้อยละ 93 จึงทำให้ตั้งรายจัดเป็นผู้มีอิทธิพลเหนือตลาด ดังนั้น หากมีการควบรวมกิจการระหว่างทรูและดีแทคซึ่งเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่อันดับ 2 และ 3 จะทำให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศ สุ่มเสี่ยงจะกลายเป็นตลาด Duopoly ที่มีผู้ให้บริการผูกขาดเหลือยู่เพียง 2 รายอย่างถาวร ผู้บริโกคมีแนวโน้มจะถูกเอาเปรียบ ไม่มีหนทางเลือก และท้ายที่สุดอัตราค่าบริการมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงมิได้

ถ้าปล่อยให้ควบรวมจะเกิดการผูกขาดเหมือนค้าปลีก

ด้าน วิศรุต ครุฑไกรวัล กรรมาธิการ สคบ. สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่าเรื่องนี้มีความสำคัญ ซึ่งทุกคนต้องใช้โทรศัพท์ในการสื่อสารในเรื่องต่างๆ การควบรวมกิจการจะทำให้ประชาชนได้ประโยชน์อะไรประเทศได้ประโยชน์อะไร จุดประสงค์สำคัญในเรื่องของการควบรวมครั้งนี้เกี่ยวข้องกับคลื่นความถี่ของรัฐ เราจึงต้องมองผลประโยชน์ของประเทศ ผมว่ามันไม่สมควรที่เอกชนจะมาใช้ประโยชน์จากเรื่องนี้ในการควบรวม จะทำให้เกิดการแข่งขันที่น้อยลง ผูกขาดตลาด อย่างเรื่อง ซีพี โลตัส ก็เข้ามาลงทุนในค้าปลีกที่กระทบต่อต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ มีอิทธิพล ต่อตลาดในทุกมิติ ปิดกั้นการเติบโตของผู้ประกอบการรายเล็ก รายใหญ่ เพราะจะเป็นคู่แข่งในอนาคต เพราะฉะนั้นต้องมองก่อนว่าประชาชนจะได้รับประโยชน์อะไร จะมีผลต่อการกำหนดราคา การแข่งขัน การชี้นำตลาด ตกไปอยู่กับรายใหญ่หรือไม่ วันนี้การขยายเครือข่ายต้องใช้ต้นทุนสูง กว่าจะคุ้มทุน เขาก็อาจจะไม่ลงทุนขยายแล้วหรือขยายช้า เพราะมีคู่แข่งแค่สองราย ต่างจากการมีหลายรายที่ต้องแข่งขัน มีผลกระทบทั้งกับธุรกิจหน้าใหม่ และประชาชน ที่เป็นรูปธรรมเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น กล้วยในเซเว่น ลูกละ 8 บาท เพราะเค้าไปกว้านซื้อในตลาดมาขาย เขามีอำนาจ การควบรวมต้องเป็นธรรมกับผู้บริโภคด้วยฝากท่านที่มีความรู้และมีอำนาจตัดสินใจบนประโยชน์ของประชาชน และประเทศ ไม่ไห้เกิดการผูกขาด

หวั่นค่าบริการเพิ่มเฉลี่ยมากถึง 30%

ขณะเดียวกัน ผลศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งสำนักงาน กสทช.ได้ว่าจ้างให้ดำเนินการศึกษาเพิ่มเดิมล่าสุด มีการรายงานเป็นเอกสารยืนยันเช่นกันว่า หากผู้เล่นในตลาดลดลงจาก 3 รายเหลือเพียง 2 ราย โดยทั้ง 2 รายเป็นรายใหญ่ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดเกินกว่า 45% ก็มีความเป็นไปได้ว่า ค่าบริการในระยะยาวจะแพงขึ้น 20-30% เพราะผู้บริโภคไม่มีทางเลือกในการใช้งาน

ก่อนหน้านี้ ผู้บริโภคได้บทเรียนอันบอบช้ำจากการที่หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้าได้ปล่อยให้มีการควบรวมธุรกิจค้าปลีก– ค้าส่งรายใหญ่ของประเทศ จนทำให้กลุ่มทุนยักษ์ค้าปลีกค้าส่งของประเทศสามารถกุมอำนาจเหนือตลาดได้อย่างเบ็ดเสร็จ ตั้งแต่ตันน้ำยันปลายน้ำ ทำให้ปัจจุบันประชาชนคนไทยต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤติราคาสินค้าข้าวของแพงทั้งแผ่นดินเพราะตลาดค้าปลีกค้าส่งถูกผูกขาดปราศจากการแข่งขัน

ดังนั้น ที่ผ่านมาทุกภาคส่วนต่างคาดหวังว่า กสทช.ชุดใหม่จะเข้ามาปฏิรูปบทบาท อำนาจหน้าที่ขององค์กร กสทชในการเป็นองค์กรกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจารโทรคมนาคมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นธรรมกับผู้ใช้งาน ปราศจากการชี้นำหรือครอบงำจากกลุ่มทุนใดๆ แต่กลับพบว่า ท่ามกลางคำถามและข้อทักทวงจากทุกภาคส่วน กสทช.ชุดปัจจุบันที่รับไม้ต่อมาจากกสทช.ชุดรักษาการก่อนหน้า ก็ยังคงมีแนวโน้มที่จะเดินหน้าพิจารณาการควบรวมกันต่อไปตามข้ออ้างข้อจำกัดทางกฎหมาย และประกาศ กสทช.ที่มีผลใช้บังคับอยู่ การพิจารณาให้อนุญาตหรือสั่งห้ามการควบรวมกิจการที่ทุกฝ่ายประสานเสียงว่าส่งผลเสียต่อผู้ใช้บริการและขัดต่อผลประโยชน์สาธารณะอย่างชัดเจน

Comments

comments