AIS 5G อย่างที่เราทราบกันดีว่าไปที่ไหนก็ใช้ได้ คำว่าใช้ได้ในความหมายของ AIS นั้นไม่ใช่แค่ขึ้น Logo 5G บนหน้าจอแล้วจบไป แต่ต้องใช้งานได้จริง ใช้งานได้อย่างมีคุณภาพ มีเสถียรภาพ แต่ในพื้นที่ๆเราคิดว่าไม่มีคนอยู่ ไม่มีคนใช้ สัญญาณมือถือคงไม่มีประเด็นที่จะต้องใช้ได้เหมือนบนฝั่ง ประเด็นนี้ AIS ไม่ได้มองแบบนั้น ด้วยเหตุผลที่สนับสนุนการลงทุนที่ใครก็ไม่เอาอย่าง เพราะถ้าคิดถึงในแง่ของ ROI (Return of Investment) จะต้องล้มความคิดไปในทันที ลองมาดูว่า AIS เค้าคิดอะไรถึงกล้าทำในสิ่งที่รายอื่นไม่ทำ
พี่จู่ คุณไพบูลย์ รินทร์สกุล หัวหน้างานปฏิบัติการภูมิภาค (ภาคใต้) เล่าให้ TelecomLover ฟังว่า AIS มุ่งเน้นเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน หรือ ecosystem economy ที่มี digital infrastructure , human capital & sustainabilty และ cross industries collaboration สิ่งสำคัญสุดเป็นพื้นฐาน นั่นคือ digital infrastructure ที่มุ่งเน้นประสบการณ์ความเป็น Premium network ที่มีคุณภาพดีที่สุด
“ภาคใต้มีลักษณะทางกายภาพที่ค่อนข้างยาว กินพื้นที่ 2400 กิโลเมตร ชายฝั่งเป็นพื้นที่สำคัญมากเพราะเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดเศรษฐกิจใน 2-3 ส่วนประกอบด้วยประชากรที่ใช้งาน AIS Network สูงสุด สืบเนื่องที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีการใช้งานจำนวนคนมากที่สุด (labour intensive) ทุกคนต้องการการสื่อสารที่รวดเร็ว ปลอดภัยและแม่นยำ ตลอด 2400 กิโลเมตรเป็นพื้นที่ชายฝั่งและมีจำนวนเกาะที่มีมากถึง 700 กว่าเกาะในภาคใต้ทั้งมีคนอยู่และไม่มีคนอยู่ เรียกเป็น Ocean Economy หรือ Sea Coverage ดังนั้น การทำ Sea Coverage สำหรับ AIS จึงมีความสำคัญมาก” พี่จู่เล่าแบบตั้งใจ
กลุ่มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภาคใต้ มีนักท่องเที่ยวต่างชาติต่อปีถึง 26 ล้านคนเข้ามาจับจ่ายใช้สอย คิดเป็น 26% ของ GRP ของภาคใต้ คือทำรายได้ที่ 26% ดังนั้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญ คนที่อยู่ในกลุ่มโรงแรม กลุ่มผู้เข้าพัก พนักงานของโรงแรม 2 แสนกว่าห้อง 300-400 โรงแรม ในกลุ่มธุรกิจนี้สามารถสร้าง economy ให้เกิดขึ้นได้ AIS จึงต้องทำ Sea Coverage ที่เป็น infrastucture มา serve ให้ดีที่สุด ครอบคลุมไปถึงพนักงานบนเรือ เรือโดยสาร เรือเฟอร์รี่ ซึ่งก็อยู่ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั้งหมด
กลุ่มอุตสาหกรรมการประมง เป็นอีก 1 กลุ่มที่สร้าง economy สร้างรายได้ที่ 10+% จากกิจกรรมที่เป็นประมงชายฝั่ง และประมงน้ำลึก มีเรือประมงจำนวนกว่า 50,000 ลำในภาคใต้ ในเรือ 1 ลำนั้นจะมีลูกเรือ มีพนักงานบนเรือต่างๆ รวมๆ แล้วจึงมีการใช้งานในกลุ่มนี้อยู่เป็นจำนวนมาก ยังไม่นับรวมถึงครอบครัวชาวประมงที่อยู่ริมฝั่งหรือบนฝั่ง มีการติดต่อสื่อสารทั้งการท่องเที่ยวและประมงไปด้วยกัน เป็น Supply chain ซึ่งกันและกัน ดังนั้น Sea Coverage ของ AIS จึงต้องดีที่สุด เพราะ AIS ต้องทำให้ลูกค้าทั้งบนชายฝั่งและนอกชายฝั่งมีสิทธิ์เข้าถึงใช้งาน AIS Network ได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด
ในเชิงเทคนิคของการทำ Sea Coverage นั้น คุณวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าหน่วยธุรกิจงานปฏิบัติ
“Population Coverage ทางเกาะและฝั่ง เราทำ Cover ไปแล้ว 95% และทำทุกที่ มีการเทส ทำ follow up ในแต่ละ route เช่น route ferry , ท่าเรือยอร์ช ก็มี Sea Coverage เป็นรายเดียวที่มีสัญญาณเชิญชวนนักท่องเที่ยวเช่นเกาะมาหยา ที่เราทำไว้รองรับนักท่องเที่ยว ก็สามารถใช้งานได้สะดวก เพราะการวางแผน network นั้นเราใส่ใจและตั้งใจกับประสบการณ์ลูกค้าที่มาท่องเที่ยวเป็นสำคัญ” หัวเรือใหญ่จากฝั่ง Network ของทาง AIS อธิบายให้ TelecomLover ฟัง
การทำ Coverage ในภาคพื้นทะเลกับพื้นที่ปกตินั้นมีความแตกต่างกันมากหรือจะเรียกว่าอุปสรรคก็ว่าได้ เพราะ 1. Geography กลางทะเลนั้นปักเสาไม่ได้ 2. ไม่มีไฟฟ้า หลายเกาะใช้ Solar Cell หรือใช้น้ำมันปั่นไฟ และลมทะเลก็ทำให้อุปกรณ์เสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ จำเป็นต้องมีการ drive test มากกว่า site ทั่วไปรวมไปถึงสิ่งที่เราคาดไม่ถึง เช่น น้ำขึ้นน้ำลง เพราะทำให้ Microwave ที่ใช้ทำ transmission มีปัญหาการรับส่งเพราะระดับน้ำทะเลทำให้คลื่นสะท้อนขึ้นมา เป็น effort ที่ทีม AIS ใส่ใจ และเป็นความท้าทายที่ทีม network ศึกษา ปรับปรุงแก้ไข นำมาซึ่งสัญญาณที่ครอบคลุมพร้อมใช้ได้ตลอดเวลา
ด้านการรับส่งสัญญาณ โดยหลักเราใช้ Mid Band 1800/2100/2600 แต่มี Limitation ของ Mid Band จึงใช้ low band มาเสริมคือ 700/900 แต่เพราะอยากได้สปีดสูงๆ เราจึงต้องทำ Solution เพิ่มเติมอีกหลายอย่าง โดยแต่ละ site ถูกออกแบบมาเป็นอย่างดี เช่นใช้ Antenna high Gain ใช้ RRU แบบ High Power เพิ่ม Antenna Diversity ให้มากกว่าปกติ เป็น 8T8R และเสริม Amplification แบบ TMA เพราะเดิมแค่โทรศัพท์เข้า-ออกได้ก็พอ แต่ปัจจุบันมีการใช้งานในรูปแบบที่ใช้ data มากขึ้น ดังนั้นบางที่เราให้ CA บางที่ก็ไม่ให้ CA เพราะ Uplink ยังไม่มี CA หากต้องการให้ใช้ Upload ใช้ได้ทั่วๆกัน เราก็จะไม่ให้ทำ CA ในบางพื้นที่ตามข้อจำกัดต่าง ๆ เพราะคำนึงถึงประสบการณ์ที่ได้ ให้ออกมาเหมาะสมและดีที่สุดสำหรับทุกคน
Use Case ต่างๆ ที่ AIS นำมาใช้ทำ 5G Sea Coverage
1) การสร้าง Coverage ทำยังไงให้มีสัญญาณ เราทำ Super Cell ทำให้มีสัญญาณได้ตลอดทาง ยิงสูงสุดได้ถึง 70KM นำ MIMO 8T8R และนำ Diversity มาใช้
2) ขยาย Capacity ให้รับลูกค้าให้ได้มากขึ้น เช่นใช้ไฟเบอร์ อาจจะเช่า fibre การไฟฟ้า หรือถ้าไม่มีก็ต้องเช่าใช้ช่องสัญญาณ Microwave แบบ point to point
3) ทำ Reliability ใช้ได้ต่อเนื่อง พร้อมสร้าง Stability และ Protection Load ไม่ให้ site ล่ม มีการทำ Back up ด้วย Microwave ป้องกัน fibre ขาด และขยายการทำ FWA ออกไปในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่มี Capacity เพียงพอพร้อมกับ Reliability ระดับดีเยี่ยม
บทสรุป
จากการที่ทาง TelecomLover ได้ไปสัมผัสถึงการใช้งานจริงในพื้นที่ AIS 5G Sea Coverage เราสามารถรับรู้ได้ถึงมุมมองของ AIS ที่ให้ความสำคัญต่อการทำ Coverage ให้ใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ใช่แค่เพียงมีสัญญาณ แต่สัญญาณนั้นต้องมีคุณภาพ มีความต่อเนื่อง เร็วแรง ไม่ติดขัด อันจะทำให้สร้างประโยชน์ สร้างโอกาสทางสังคมและเศรษฐกิจ ส่งเสริมซึ่งกันและกัน สร้างรายได้ สร้างความเจริญให้แก่สังคมและประเทศชาติ โดยใช้ความพยายามในศักยภาพและทรัพยากรที่มี ผสานกับเทคโนโลยีที่สามารถทำได้แบบไม่ประนีประนอมกับการขาดทุนหรือ ROI ใดๆ ผลักดันให้อุปสรรคต่าง ๆ ในการทำ Sea Coverage นั้นหมดไป และพร้อมส่งมอบประสบการณ์ใช้งาน 5G ได้อย่างไร้ขีดจำกัดในทุกโอกาส ทุกที่ ทุกเวลาตามความมุ่งมั่นได้อย่างแท้จริง