บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทเทคโนโลยีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลตลาดได้จัดงาน  “Thailand Social Awards ครั้งที่ 12” เพื่อเชิดชูผู้ใช้โซเชียลมีเดียยอดเยี่ยมในสาขาต่างๆ กว่า 300 รางวัล! โดยงานนี้ถือเป็นงานประกาศรางวัลโซเชียลที่ใหญ่ที่สุดของประเทศที่ถูกจัดขึ้นตั้งแต่ปี 2555 เพื่อส่งเสริมการใช้โซเชียลมีเดียอย่างสร้างสรรค์ และให้ความสำคัญกับวงการโซเชียลที่เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง

โดยความพิเศษในปีนี้คือเกณฑ์การตัดสินที่ถูกเพิ่มเติมมุมมองด้านจริยธรรม และความเหมาะสมของผู้รับรางวัลจากคณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายสาขา (Ethics Mentor) เพื่อให้ผลการตัดสินออกมาอย่างสมบูรณ์แบบในทุกมิติ อีกทั้งยังได้ปรับปรุงเกณฑ์การวัดผลในการประกาศรางวัล Thailand Social Awards ครั้งที่ 12 ร่วมกับคณะที่ปรึกษาจากหลากหลายแวดวง โดยได้แบ่งคณะที่ปรึกษาจำนวน 25  ท่าน โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้

คณะที่ปรึกษาด้านการจัดหมวดหมู่กลุ่มรางวัล (Category Mentor) จำนวน 7 ท่าน

คุณขจร เจียรนัยพานิชย์  กรรมการผู้จัดการ บริษัท The Zero Publishing, คุณฉวีวรรณ คงโชคสมัย กรรมการผู้จัดการ RGB72 และ CREATIVE TALK, คุณแดน ศรมณี Brandologist, คุณสโรจ เลาหศิริ ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้านการตลาดให้กับองค์กรชั้นนำ, คุณสิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม Founder and CEO บริษัท RGB72 และ CREATIVE TALK, ศ.วิทวัส รุ่งเรืองผล ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, และ ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล หัวหน้าภาควิชาการตลาดและ อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะที่ปรึกษาด้านเกณฑ์การวัดผล (Performance Mentor) จำนวน 15 ท่าน

คุณกฤษณ์ บุญญะรัง ผู้ก่อตั้ง บริษัท เดอะสกา ฟิล์ม จำกัด เจ้าของช่องยูทูป Bie The Ska, คุณกิตติพัฒน์ มหพันธ์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท BUZZPURR, คุณขจร เจียรนัยพานิชย์  กรรมการผู้จัดการ บริษัท The Zero Publishing, คุณชลากรณ์ ปัญญาโฉม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานดิจิทัล บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน), คุณณธิดา รัฐธนาวุฒิ CEO and Founder บริษัท Marketing Oops!, คุณพงษ์ปิติ ผาสุขยืด ผู้ก่อตั้งเพจ AD ADDICT, คุณพันธ์ศักดิ์ ลิ้มวัฒนายิ่งยง Creator Growth Regional Director บริษัท AnyMind Group, คุณมัณฑิตา จินดา กรรมการผู้จัดการ และผู้ก่อตั้ง ดิจิทัล ทิปส์ อคาเดมี, ศ.วิทวัส รุ่งเรืองผล ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คุณสโรจ เลาหศิริ ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้านการตลาดให้กับองค์กรชั้นนำ, คุณสิทธินันท์ พลวิสุทธิ์ศักดิ์ CEO บริษัท Content Shifu, คุณสุรศักดิ์ เหลืองอุษากุล นักวางกลยุทธ์การตลาดและเอไอ  บริษัท แบรนด์เบเกอร์ จำกัด, คุณหรรษา วงศ์สิริพิทักษ์ Head of Marketing – The 1, Central Group, คุณอภิศิลป์ ตรุงกานนท์ Co-founder & Chief Product Officer, Pantip.com และ ผศ. ดร.เอกก์ ภทรธนกุล หัวหน้าภาควิชาการตลาด และอาจารย์ประจำ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะที่ปรึกษาด้านเกณฑ์ความเหมาะสมของผู้รับรางวัล (Ethics Mentor) จำนวน 9 ท่าน

คุณชวภณ คารมภ์ Account Director บริษัท LIKEME Media , คุณชุตินธรา วัฒนกุล บรรณาธิการบริหารข่าวออนไลน์ Thai PBS, คุณแดน ศรมณี Brandologist,  คุณนันทสิทธิ์ นิตย์เมธา นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP), คุณพงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โชว์ไร้ขีด จำกัด และผู้ผลิตสื่อช่อง beartai, ผศ.พรรณวดี ประยงค์ อาจารย์สาขาวิชาสื่อสารองค์กร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ดร.พีรยา หาญพงศ์พันธุ์ ที่ปรึกษาอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ศ.วิทวัส รุ่งเรืองผล ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ผศ.ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เกณฑ์การวัดผลผู้ทำผลงานยอดเยี่ยมบนโซเชียลมีเดียในครั้งนี้ถูกแบ่งออกเป็น ​3 เกณฑ์ คือ Social Metric for Brand  ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของแบรนด์, Social Metric for Content ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของเนื้อหารายการ และ Social Metric for Creator ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของบุคคลที่มีผลงานหรือมีชื่อเสียง ซึ่งในแต่ละกลุ่มรางวัลจะมีวิธีการเก็บข้อมูลและการคำนวณคะแนนที่แตกต่างกันออกไป โดยทุกเกณฑ์การวัดผลจะถูกประเมินด้านความเหมาะสมของผู้รับรางวัลด้วยหลักการ 7 ข้อเป็นลำดับสุดท้าย คือ 1) Transparency and Disclosure ผู้ทำคอนเทนต์มีความโปร่งใสต่อการรับผลประโยชน์ 2) Accuracy and Fact-Checking ผู้ทำคอนเทนต์ต้องมีความรับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูลที่นำเสนอ และพยายามหลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลที่ผิดหรือสร้างความเข้าใจผิด 3) Accountability and Corrections มีความรับผิดชอบต่อความผิดพลาด และยินดีที่จะแก้ไขให้ถูกต้อง 4) Respect for Privacy เคารพต่อความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น ไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือข้อมูลส่วนบุคคล 5) Respect for Audience, Community and Cultural เคารพต่อผู้ติดตาม ชุมชม และสังคม ด้วยการไม่ใช้ภาษาหรือสร้างคอนเทนต์ที่เป็นการละเมิดความรู้สึก คุกคาม หรือด้อยค่าชุมชน และสังคมนั้น ๆ 6) Responsible Use of User-Generated Content เคารพต่อทรัพย์สินทางปัญญาในการผลิตคอนเทนต์ ด้วยการขออนุญาตหรือให้เครดิตอย่างถูกต้อง และ 7) Compliance with Platform Policies ไม่ละเมิดมาตรฐานของแพลตฟอร์ม

 โดยทั้ง 3 เกณฑ์การวัดผลของ Thailand Social Awards ครั้งที่ 12 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้:-

  1. Social Metric for Brand ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของแบรนด์ในกลุ่มรางวัล Best Brand Performance on Social Media

การเก็บคะแนนและการเตรียมข้อมูล: Owned Channel จะทำการคำนวณคะแนนจากการเก็บข้อมูลจาก Main Official Account บน 5 แพลตฟอร์มหลักคือ Facebook, Instagram, X, TikTok และ YouTube โดยอ้างอิงจากเว็บไซต์หลักของแบรนด์ และ Earned จะถูกคำนวณคะแนนจากการเก็บข้อมูล Branded Keyword

การคำนวณคะแนน: คะแนนจะถูกคำนวณโดยอ้างอิงตามกลุ่มอุตสาหกรรมทั้งในส่วนของ Owned และ Earned โดยให้น้ำหนักคะแนนบน Owned มากกว่า และใช้องค์ประกอบของ Fundamental Factors และ Analytical Factors ร่วมด้วย โดย Fundamental Factors ประกอบไปด้วย Followers Growth (Owned), Daily Mentioned Users (Earned), Reactions, Comment, Share (Owned and Earned),​ Video Views (Owned and Earned) และ Analytical Factors ประกอบไปด้วย %Comment by Engagement (Owned and Earned),​ %Share by Engagement (Owned and Earned),​ Sentiment (Owned and Earned),​ Facebook Intentions (Owned), Facebook Tag Friends (Owned)  หลังจากนั้นตัวเลขทั้งหมดจะถูกนำมาคำนวณ Percentile ของแต่ละอุตสาหกรรม

  1. Social Metric for Content ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของผู้สร้างสรรค์และผลิตเนื้อหารายการในกลุ่มรางวัล Best Content Performance on Social Media

การเก็บคะแนนและการเตรียมข้อมูล: คำนวณคะแนนโดยการเก็บ Keywords ของ Content บน Social Media  และ ใช้เฉพาะค่า Earned ในการคำนวณคะแนน

การคำนวณคะแนน: คำนวณคะแนนแบบอ้างอิงตาม Category โดยใช้องค์ประกอบของ Fundamental Factors และ Analytical Factors  โดย Fundamental Factors ประกอบไปด้วย Social Voice, Reactions, Comment,  Share, Video Views และ Analytical Factors ประกอบไปด้วย %Comment by Engagement, %Share by Engagement และนำตัวเลขทั้งหมดมาคำนวณ Percentile ของแต่ละ Category

  1. Social Metric for Creator ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของครีเอเตอร์ในกลุ่มรางวัล Best Creator Performance on Social Media

การเก็บคะแนนคะแนนและการเตรียมข้อมูล: การคำนวณคะแนนจะถูกแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ Online Creators และ Celebrities โดย Online Creator จะทำการเก็บข้อมูล Owned จาก 5 แพลตฟอร์มหลัก คือ Facebook, Instagram, X, TikTok และ YouTube  และ Celebrities จะทำการเก็บข้อมูล Owned จาก Official Account และ Earned จาก Person Keyword

การคำนวณคะแนน ถูกแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 Performance Shortlist: คัดเลือก Shortlist จากผู้ที่มี Performance (Followers และ Engagements) ที่ดีที่สุด 10 อันดับ ในแต่ละแพลตฟอร์ม

ขั้นตอนที่ 2 คำนวณคะแนน: จะทำการคำนวณคะแนนในแต่ละแพลตฟอร์มเป็นอันดับแรก โดยจะนำ 2 ช่องทางที่ดีที่สุดมาเป็นคะแนนหลัก​ และคำนวณคะแนนโดยใช้องค์ประกอบของ Fundamental Factors และ Analytical Factors  โดย Fundamental Factors ประกอบไปด้วย Followers Growth (Owned), Social Voice (Earned), Reactions, Comment, Share (Owned and Earned), Video Views (Owned and Earned) และ Analytical Factors ประกอบด้วย %Comment by Engagement (Owned and Earned), %Share by Engagement (Owned and Earned), Sentiment (Owned and Earned)

ขั้นตอนที่ 3 Bonus : คะแนนพิเศษสำหรับครีเอเตอร์ที่สร้างประโยชน์ หรือความสุขให้กับผู้ชมโดยพิจารณาจากคอมเมนต์ที่เกิดขึ้น

นอกจากนี้ยังได้เผยโฉม ‘Social Metric’ ครั้งแรกของแพลตฟอร์มข้อมูลเชิงลึกในรูปแบบที่ชัดเจนและเข้าใจง่ายที่สุด ที่จะช่วยให้แบรนด์สามารถมองเห็นประสิทธิภาพบนโซเชียลมีเดียอย่างต่อเนื่องในทุกๆเ ดือนตลอดปี! ผ่านการประมวลผลข้อมูลกว่า 800 จุดครอบคลุมทั้ง Owned และ Earned เพื่อให้แบรนด์สามารถปรับกลุยทธ์บนโซเชียลมีเดียได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำ สร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งในกลุ่มอุตสาหกรรมในราคาที่เข้าถึงได้ โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://wisesight.com/th/social-metric

โดย Thailand Social Awards ครั้งที่ 12 ได้ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลทั้ง 6 สาขาโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. รางวัล Best Brand Performance on Social Media (แบรนด์ที่ทำผลงานยอดเยี่ยมบนโซเชียลมีเดีย)
    จำนวน 31 สาขา โดยเรียงตามลำดับคะแนน  ดังนี้
  • 1. Automotive (รถยนต์และรถจักรยานยนต์)
    Winner : Toyota Motor
    Finalist : Honda, Honda Motorcycle, Vespa และ Mitsubishi Motors
  • 2. Bank (กิจธนาคาร)
    Winner : KBank
    Finalist : SCB, Krungthai, ttb และ Krungsri
  • 3. Beverage (เครื่องดื่ม (Non-Al & Alcohol))
    Winner : NESCAFÉ
    Finalist : Pepsi, LEO, Coca-Cola และ Chang World
  • 4. Broadcasting (วิทยุและโทรทัศน์ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช.)
    Winner : one31
    Finalist : 3 HD, Thai PBS, Ch7HD และ Workpoint
  • 5. Construction Material (วัสดุก่อสร้าง)
    Winner : SCG
    Finalist : HÄFELE, Beger Paint, TOA และ จระเข้ – JORAKAY
  • 6. Cosmetics (เครื่องสำอาง)
    Winner : 4U2 Cosmetics
    Finalist : Srichand, L’Oréal Paris, Maybelline และ LANEIGE
  • 7. Consumer Electronics (เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน)
    Winner : Haier
    Finalist : Coway, SONY, Xiaomi และ Nikon
  • 8. Delivery (ขนส่งอาหาร และบริการเรียกรถ)
    Winner : LINE MAN
    Finalist : Grab, Robinhood Delivery, foodpanda และ ShopeeFood
  • 9. Financial Service (Credit Card) (บัตรเครดิต)
    Winner : Krungsri First Choice
    Finalist : KTC, Krungsri Credit Cards, CardX และ citibank
  • 10. Financial Service (Leasing) (สินเชื่อ) ได้แก่
    Winner : เงินติดล้อ
    Finalist : Krungsri Auto, ศรีสวัสดิ์, เงินเทอร์โบ และ สมหวัง เงินสั่งได้
  • 11. Food & Snacks (อาหารพร้อมทาน และขนมขบเคี้ยว)
    Winner : Taokaenoi
    Finalist : MAMA, Lays, CP และ Farmhouse
  • 12. Gold & Jewelry (ห้างทองและอัญมณี)
    Winner : Aurora
    Finalist : Pandora, ห้างทองเยาวราชกรุงเทพ, Ravipa และ เพชรชมพู จิวเวลรี่
  • 13. Government & State Enterprise (งานราชการ, รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน)
    Winner : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
    Finalist : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กระทรวงวัฒนธรรม, กระทรวงการต่างประเทศ และ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
  • 14. Home & Decoration (เฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน)
    Winner : IKEA
    Finalist : ไทวัสดุ, Index Living Mall, HomePro และ SB Design Square
  • 15. Hospital (โรงพยาบาลรัฐบาล และเอกชน)
    Winner : คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
    Finalist : โรงพยาบาลพญาไท, โรงพยาบาลยันฮี, โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
  • 16. Hospitality & Travel Agency (โรงแรมและกิจการนำเที่ยว)
    Winner : Love Andaman
    Finalist : บ้านไร่ ไออรุณ, Unithai Trip, Sri panwa และ Kew Muang Mountain High Camp
  • 17. Hypermarket & Supermarket (ซูเปอร์มาร์เก็ตและซูเปอร์เซ็นเตอร์)
    Winner : Lotus’s
    Finalist : Big C, makro, Tops และ CJ MORE
  • 18. Insurance & Assurance (ประกันชีวิตและประกันภัย)
    Winner : Muang Thai Life
    Finalist : Thai Life Insurance, AIA, FWD และ Allianz Ayudhya
  • 19. Logistics (ขนส่งสินค้าและพัสดุ)
    Winner : บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
    Finalist : Kerry Express, J&T Express, Flash Express และ DHL
  • 20. Marketplace & E-Commerce Platform (แพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์)
    Winner : Shopee
    Finalist : Lazada, Konvy, O Shopping และ NocNoc
  • 21. Mass Transit (บริการขนส่งสาธารณะ)
    Winner : airasia
    Finalist : BEM, BTS, VietJet Air, และ นครชัยแอร์
  • 22. Mobile & Consumer Electronics (ธุรกิจมือถือ)
    Winner : Samsung
    Finalist : OPPO, vivo, Realme และ Apple
  • 23. Mom & Baby (สินค้าและบริการสำหรับแม่และเด็ก)
    Winner : S-26
    Finalist : Lamoon, D-nee, MamyPoko และ Enfant
  • 24. Out of Home Entertainment (สถานบันเทิงและสวนสนุก)
    Winner : Major Cineplex
    Finalist : SF Cinema, Lido Connect, Bacc หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และ
    Lumpinee Boxing Stadium
  • 25. Personal Care (ผลิตภัณฑ์ดูแลและทำความสะอาดผิวกาย)
    Winner : Oriental Princess
    Finalist : Pantene, DENTISTE’, Vaseline และ NIVEA
  • 26. Residential Real Estate (อสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบที่พักอาศัย)
    Winner : Sansiri
    Finalist : AP Thai, Supalai, SC ASSET และ AssetWise
  • 27. Restaurant (ร้านอาหาร)
    Winner : KFC
    Finalist : Starbucks, Swensen’s, Bonchon Chicken และ Jones’ Salad
  • 28. Shopping Center & Department Store (ศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้า)
    Winner : centralwOrld
    Finalist : Siam Paragon, ICONSIAM, THE MALL และ Central Pattana
  • 29. Skincare (ดูแลผิวหน้าและเวชสำอาง)
    Winner : CeraVe
    Finalist : Giffarine, Eucerin, Sulwhasoo และ Garnier
  • 30. Streaming Platform (แพลตฟอร์มเพื่อความบันเทิงออนไลน์)
    Winner : Netflix
    Finalist : Prime, 3Plus, viu และ WeTV
  • 31. Telecommunication (ผู้ให้บริการสัญญาณมือถือและอินเทอร์เน็ต)
    Winner : AIS
    Finalist : TrueMove H, dtac, 3BB Broadband และ FINN MOBILE
  1. รางวัล Best Performance on Platforms จำนวน 10 รางวัล ดังนี้
  • 1. Best Brand Performance on Platform by LINE สาขา Highest View on LINE VOOM
    ได้แก่ KBank

  • 2. Best Brand Performance on Platform by LINE สาขา Best Campaign on LINE VOOM
    ได้แก่ OR

  • 3. Best Brand Performance by Pantip สาขา Highest Quality ได้แก่ อสท.เกาหลี

  • 4. Best Entertainment Performance by Pantip สาขาละคร ได้แก่ พรหมลิขิต

  • 5. Best Brand Performance Campaign on TikTok ได้แก่ Muang Thai Life

  • 6. Most Innovative Campaign on TikTok ได้แก่ Maybelline

  • 7. Xceptional Launch Campaign Award ได้แก่ NIVEA

  • 8. Best Connected Community X Award ได้แก่ Sansiri

  • 9. Best Brand Channel on YouTube ได้แก่ Samsung

  • 10. Best Creator Channel on YouTube ได้แก่ HEARTROCKER

  • รางวัล Best Content Performance on Social Media (ผู้สร้างสรรค์และผลิตเนื้อหารายการยอดเยี่ยมบนโซเชียลมีเดีย) จำนวน 3 สาขา โดยเรียงตามลำดับคะแนน  ดังนี้
  • 1. Thai Movie (ภาพยนตร์ไทย)
    Winner : สัปเหร่อ
    Finalist : แมนสรวง, ธี่หยด, ดับแสงรวี และ Long Live Love
  • 2. Thai Series (ละครไทย) ได้แก่
    Winner : พรหมลิขิต
    Finalist : มาตาลดา, แฟนผมเป็นประธานนักเรียน, ทฤษฎีสีชมพู และ เพื่อนต้องห้าม
  • 3. Thai TV Program (รายการโทรทัศน์)
    Winner : ร้องข้ามกำแพง The Wall Song
    Finalist : 789SURVIVAL, ก็มาดิคร้าบ, ดวลเพลงชิงทุน และ ONE-ลุมพินี

 

รางวัล Best Creator Performance on Social Media (ครีเตอร์ที่ทำผลงานยอดเยี่ยมบนโซเชียลมีเดีย) จำนวน 24 สาขา  โดยเรียงตามลำดับคะแนน  ดังนี้

  • 1. Actor & Actress (ดารา นักแสดง)
    Winner : นุนิว ชวรินทร์ เพริศพิริยะวงศ์
    Finalist : ซี พฤกษ์ พานิช, เบ็คกี้ รีเบคก้า แพทรีเซีย อาร์มสตรอง, วิน เมธวิน โอภาสเอี่ยมขจร และฟรีน สโรชา จันทร์กิมฮะ
  • 2. Art & Design (งานวาดและการออกแบบ)
    Winner : Lowcostcosplay
    Finalist : Sundae Kids, นัดเป็ด, คิ้วต่ำ และ Uninspired by Current Events
  • 3. Beauty & Fashion (ความสวยงาม และแฟชั่น)
    Winner : Soundtiss
    Finalist : Saira Mirror, Archita Station, เนสตี้ สไปร์ทซี่ และ Eyeta
  • 4. Boy Band & Girl Group (ศิลปินกลุ่ม)
    Winner : 4EVE

Finalist : BNK48, PROXIE, ATLAS และ BUS Because of You I Shine

  • 5. Cooking & Chef (การทำอาหาร)
    Winner : วันละมื้อ

Finalist : ดำกับบิ๋ม, เอื้อยเก๋ ติดครัว, กับข้าวกับปลาโอ Plaocooking และ chahna_mint

4.6.         Film & Literature (ภาพยนตร์และหนังสือ)
Winner : แฟนพันธุ์แท้ : หนังสยองขวัญ

Finalist : Kanin The Movie, นักเลงโรงหนัง, ขอบสหนัง และ Pizza Movie

4.7.         Food & Dining (รีวิวอาหารและร้านอาหาร)
Winner : BanKii

Finalist : Mawinfinferrr, KP ตะลอนแหลก, วันนี้กินไรดีวะ และ กินกับกี้ channel kin-kub-ky

4.8.         Gadget & Technology (อุปกรณ์เทคโนโลยีและนวัตกรรม)
Winner : นายอาร์ม

Finalist : SPIN9, iMoD, beartai และ Extreme IT

4.9.         Gaming & E-sport (เกมและอีสปอร์ต)
Winner : ZBING.Z

Finalist : Dragon Gold, กิต งายย, HEARTROCKER และ กาย หงิด

4.10.       Global Citizen (การใช้ชีวิตในต่างประเทศ)
Winner : สะใภ้เกาหลี ซอแฟนเพจ

Finalist : LoukGolf Kanatip, แซ่บอีสาน บ้านๆbyเจ้ย, กิ๊กอินเมกา และ MOSSALA101

4.11.       Health & Fitness (การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ)
Winner : พี่กลาง หอสมุดแห่งชาติ

Finalist : Doctor Top, Koendanai, BEBE FIT ROUTINE และ หมอหมี เม้าท์มอย

4.12.       Investment & Personal Finance (การเงินและการลงทุน)
Winner : Paul Pattarapon

Finalist : THE MONEY COACH, ลงทุนแมน, ทันโลกกับ Trader KP และ ถามอีก กับอิก

4.13.       Knowledge & Education (ความรู้และการศึกษา)

Winner : Kru Whan : English On Air

Finalist : SaySci :: เซย์ไซน์, คำนี้ดี, FAROSE และ Point of View

4.14.       Local (การนำเสนอเรื่องราวท้องถิ่น)
Winner : Tagple

Finalist : อีสานพาสวบ แฟนเพจ, เบลล่า วิถีไทย, DEEN VLOG และ OLE’ CH

4.15.       MC & Host (พิธีกร)

Winner : วู้ดดี้ วุฒิธร มิลินทจินดา

Finalist : ดีเจนุ้ย ธนวัฒน์ ประสิทธิสมพร, น้าเน็ก เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา,
ป๋อมแป๋ม นิติ ชัยชิตาทร และ บุ๋ม ปนัดดา วงศ์ผู้ดี

4.16.       Music Band (วงดนตรี)

Winner : Paper Planes

Finalist : THREE MAN DOWN, Tilly Birds, TATTOO COLOUR และ TaitosmitH

4.17.       News Reporter (ผู้ประกาศข่าว)

Winner : สรยุทธ สุทัศนะจินดา

                                Finalist : กรรชัย กำเนิดพลอย, สุทธิชัย หยุ่น, อนุวัต เฟื่องทองแดง และ กิตติ สิงหาปัด

4.18.       Parenting & Kids (ครอบครัว แม่และเด็ก)

Winner : Beam-Oil Family

Finalist : Little Monster, Guy Haru Family, Mama Martin และ Famguin

4.19.       Pets (สัตว์เลี้ยง)

Winner : Japan and friends

Finalist : ไข่ขาวลูกแมร๊, Gluta Story, ชิเอลแมวมึน และ วอแวเป็ดมีผม

4.20.       Solo Artist (ศิลปินเดี่ยว)

Winner : นนท์ ธนนท์ จำเริญ

Finalist : พีพี กฤษฏ์ อำนวยเดชกร, Jeff Satur, ก้อง ห้วยไร่ และ ต้าห์อู๋ พิทยา แซ่ฉั่ว

4.21.       Sports (กีฬา)

Winner : วาทะ ลูกหนัง

Finalist : NRsportsRadio, Main Stand, Antihero Thailand และ วิเคราะห์บอลจริงจัง

4.22.       Sustainability (ความยั่งยืน)

Winner : Environman

Finalist : Konggreengreen, ขยะมรสุม, Go Green girls และ Wannasingh Prasertkul

4.23.       Travel (การท่องเที่ยว)

Winner :  I Roam Alone

Finalist : Cullen HateBerry, Sneak out, TripTH และ บอลพาเที่ยว

4.24.       Virtual Creator (ตัวตนเสมือน)

Winner : Dacapo Ch. [ARP]

Finalist : Hey Solly, Evalia Ch. [ARP], Schneider Ch. [ARP] และ Baabel Ch. [ARP]

  1. รางวัล Rising Creator Performance on Social Media
    (ครีเอเตอร์ที่มีการเติบโตของผู้ติดตามอย่างต่อเนื่อง ตลอดปี 2566)
    จำนวน 6 รางวัล ดังนี้

5.1          กลุ่มที่มีผู้ติดตาม (Followers) จำนวน 100,001 ขึ้นไป

ได้แก่ Cullen HateBerry, ไข่ขาวลูกแมร๊ และ นนท์ อินทนนท์

5.2          กลุ่มที่มีผู้ติดตาม (Followers) จำนวน 1-100,000

ได้แก่ Widpim, แมวออฟฟิศ และ ศาลเจ้ามังกรเนื้อทอง

  1. รางวัล Special Award “Best Social Media Performance on Political Content” จำนวน 1 รางวัล
    ได้แก่  The Standard Election Day 2566

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรับชม Facebook Live และ ภาพบรรยากาศงานย้อนหลังหรือติดตาม Thailand Social Awards ผ่านช่องทาง https://facebook.com/thailandsocialawards

รายละเอียดเพิ่มเติม:-

เว็บไซต์ https://thailandsocialawards.com

เฟซบุ๊ก https://facebook.com/thailandsocialawards

Comments

comments