การสร้างเครือข่ายคุณภาพของ AIS ไม่ได้เป็นเพียงการพัฒนาเทคโนโลยีให้ทันสมัย แต่ยังสะท้อนถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในระดับสูงสุด โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ท้าทายอย่างภาคเหนือ ซึ่งภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและมีอุปสรรคเชิงโครงสร้างพื้นฐาน AIS ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่ไม่ยอมจำนนต่อข้อจำกัด ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งเครือข่ายในพื้นที่ห่างไกล การนำพลังงานทดแทนมาใช้ หรือการพัฒนานวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนต่างๆ ทาง TelecomLover มีโอกาสพูดคุยกับหัวเรือใหญ่ AIS ที่ดูแลด้านเครือข่าย และทีม Engineer AIS ภาคเหนือ ช่วยอธิบายให้เราเข้าใจที่มาและแนวคิดเป็นลำดับดังนี้ครับ

พี่กิตติ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี AIS อธิบายภาพรวม AIS Network ว่า ทิศทางของ AIS คือการเป็น Cognitive Telco โดยมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง อาศัยข้อมูลภายในจากพื้นที่ต่างๆและจากส่วนกลางมาประมวลผล คิดค้น ตอบโจทก์ความต้องการต่างๆ ทำให้เกิด Solution และ Product ที่เข้าถึงผู้ใช้ได้ตรงตามเป้าหมาย

นโยบายหรือแนวทางปัจจุบันของการทำ Network ของ AIS

1) Innovis Network เครือข่ายที่ก้าวทันอนาคต มีความทันสมัย หรือ Vision for Innovation คือการสร้าง Network แบบมองไปข้างหน้า มีทิศทาง มีเป้าหมายว่าจะทำอะไรกับ Network มี Roadmap อย่างชัดเจน โดยที่ AIS มีแนวทางในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆมาใช้ นำมาซึ่งการรองรับในอนาคตอยู่ตลอดเวลา เช่น การทำ 5G CA (NR CA) เราเตรียม 5G Advanced 5.5G ศึกษาพัฒนา การใช้ 3CC เพื่อสปีดที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการนำ mmWave มาใช้และเตรียมใช้งานแบบ Hotspot เมื่อเครื่องลูกข่ายพร้อมใช้งานในไทย

2) Autonomous Network เครือข่ายอัจฉริยะ คือการทำให้เครือข่ายฉลาด AIS เป็น Pioneer ในเรื่องการทำ Autonomous Network ในโลกก่อนใคร เมื่อเทียบกับเครือข่ายอื่นๆทั่วโลก แชร์ White paper มาตรฐานต่างๆ AIS เข้าร่วมกลุ่มพัฒนาและแชร์เรื่องต่างๆที่เป็น Use case AN ปัจจุบัน AIS อยู่ใน ระดับ 3.2 ของ Guide Line ใน TM Forum ผ่านการรับรองและ verified ซึ่ง AIS ภูมิใจที่เป็น 1 ใน 2 Operator จากทั้งหมด 20 รายที่ผ่านการคัดเลือก

3) Sustainable Network เครือข่ายที่ยั่งยืน คือเป็น Network ที่มีความยั่งยืนคู่ไปกับชุมชนต่างๆได้ รบกวนสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด แกนนึงคือ Environment ผ่าน Green energy หรือ Renewable Energy เข้ามาให้บริการกว่า 10000 site ที่ลง Solar Cell ไปแล้ว และสิ่งสำคัญคือการทำ Sustainable พยายามให้บริการหรือโอกาสการรับบริการอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง คือการนำ Network เข้าไปให้บริการในพื้นที่ห่างไกล ความเท่าเทียมคือโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เอา Internet เข้าไปทำให้เกิดการรับรู้ข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ นำข้อมูลไปต่อยอดธุรกิจกับสินค้าใหม่ๆให้ออกสู่ตลาดได้ ซึ่ง AIS ให้ความสำคัญที่จะทำให้ Sustainable เกิดขึ้นในสังคม

4) Uncompromised Network คือการไม่ประนีประนอมกับข้อจำกัด แปลว่า การทำ Network มีความท้าทายสูงมาก โดย AIS ทำ 5G Coverage ได้ถึง 95% ของประชากรไทย ตรงนี้มีตัวชี้วัด ประเมินผลโดยบุคคลภายนอกยืนยันเข้ามาว่า AIS คือที่ #1 เช่น OpenSignal มอบรางวัลสำคัญถึง 7 รางวัล AIS ทำเครือข่ายไม่ประนีประนอมทั้งลึก สูง กว้าง และไกล โดยใช้นวัตกรรมและ Solution ต่างๆให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่ต่างๆในแต่ละประเภท ไม่ว่าจะโดนข้อจำกัดอะไร AIS ก็จะพยายามทำให้เกิดขึ้นให้ไดั

ความท้าทายในการทำ Network ในภาคเหนือของ AIS

พี่อาทยา หยู่เย็น หัวหน้างานปฏิบัติการภูมิภาค-ภาคเหนือ AIS ชี้แจงให้ฟัง 3 ข้อ ดังนี้

1) ภูมิศาสตร์ 18 จังหวัดพื้นที่ในภาคเหนือนั้นเป็นภูเขา 78% และ AIS ก็เป็นเบอร์ #1 ในการวาง Network ที่ผ่านความยากลำบาก จำเป็นต้องเดินเท้าเข้าไปติดตั้งในหลักหลายร้อย Site มีการทำเกษตรกรรม มีวัฒนธรรมต่างๆ มีความหลากหลาย การท่องเที่ยว ที่ต้องดูแลนทท.ทั้งต่างชาติและคนไทย Digital Nomads และ Migrant รวมๆกว่า 300,000 ราย

2) Natural Disaster หรือภัยธรรมชาติ เกิดบ่อยๆก็มีน้ำท่วม ดินสไลด์ แผ่นดินไหว AIS จำเป็นต้องมีแผนรองรับในทุกสถานการณ์

3) Energy คือแหล่งพลังงาน โดยปกติ Cell site จะใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าหรือที่เรียกว่า On Grid แต่ก็มี site ที่จำเป็นไปตั้งแบบ Off grid คือนอกเขตที่ไฟฟ้าเข้าถึงก็ต้องเตรียม solution อื่นมาใช้แทน

พี่วสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าหน่วยธุรกิจงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ AIS เล่าเสริมให้ฟังว่า พื้นที่ภาคเหนือนั้นมีลักษณะพิเศษ เป็นภูเขาส่วนใหญ่ มีพื้นที่ที่ AIS จะ Cover ให้หมดนั้นทำได้ยากกว่าภาคอื่นๆ และยังมีพื้นที่ๆอยู่ล้อมรอบด้วยน้ำหรืออยู่กลางน้ำ เช่นชุมชนเหนือเขื่อน และพลังงานไฟฟ้าก็เป็นอุปสรรคสำคัญ

“ภาคเหนือเราต้องทำอุปกรณ์เพิ่มเติมคือ Super Cell Link ยืด coverage ออกไปซ้ายขวา เราจะมีอุปกรณ์  relay เพื่อยืดออก โดยปกติ เราใช้ fibre optics เป็นพื้นฐาน และภาคเหนือใช้ Microwave มากสุดเพราะสภาพหุบเขาหรือการลาก Fibre เข้าไปลำบาก เรายังดูแลพื้นที่ห่างไกลและ รร. ตชด. 25 แห่ง AIS ยัง Provide ทั้งไฟฟ้าและอินเตอร์เน็ต เราถึงขั้น Gen ไฟฟ้าขึ้นมาเอง เพราะการสื่อสารไม่ใช่แค่โทรศัพท์ได้ แต่เราหยิบยื่นหลายๆอย่างเข้าไปด้วยโดยที่ได้แนวคิด Sustainability”

พี่วสิษฐ์ เล่าต่อว่า “ภาคเหนือเรามี Solar Cell 1600 site เพื่อลดการใช้ไฟ และบางแห่งเป็น Off grid เราใช้ไฟเอง 100% ในบางพื้นที่ การตั้ง site บนดอย ใช้ Solarcell ไม่ได้เพราะฟ้าปิดบ่อย AIS ก็พัฒนากังหันลมขึ้นมา Gen ไฟใช้เพื่อให้บริการ 3/4G ผ่านดาวเทียมบนดอยสอยมาลัย หลายๆพื้นที่มีข้อจำกัดนับเป็น Challenge ที่ต้องทำให้ได้ หลายๆอย่างเป็น Sustainablity ทันทีที่สัญญาณไปถึง วิถีชีวิตของคนในพื้นที่เปลี่ยนไป Green Energy Green Network AIS ทำงานร่วมกับหลายหน่วยงานเพื่อพัฒนาพื้นที่โดยการนำสัญญาณสื่อสารเข้าไป สร้างงาน สร้างอาชีพ การค้าขาย วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น โดยอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ การทำ Super Cell Link ในจุดที่ใช้ Microwave ใช้ไม่ได้ การสาธารณะสุขก็สามารถทำ Tele-Health ช่วยเหลือชาวบ้านผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกลได้ เราพัฒนาเรือ เอาอุปกรณ์ช่วยชีวิตลงไปในเรือเช่นเดียวกับเคส Ambulance ที่ได้ทำไป”

นอกจากนี้ AIS ยังร่วมมือกับสถาบันน้ำเพื่อวัดปริมาณน้ำหรือโทรมาตร เป็น Sensor ที่ใช้ไฟจาก Solar Cell ตรวจวัดกว่า 300 กว่าจุดที่ต้นน้ำต่างๆ เพื่อส่งข้อมูลให้ Thaiwater.Net ประเมินน้ำท่วมต่างๆแล้ว Alert ไปที่ผู้นำชุมชนให้เตรียมการรองรับสถานการณ์ที่จะตามมาได้

“อย่าง Mobile Stroke Unit ที่ AIS ร่วมทำไปตั้งแต่ก่อน Covid ขณะนี้มีรถแบบนี้แล้วกว่า 26 คันโดยทำงานกับศิริราช มหิดลและ กสทช. ทำให้กรณีฉุกเฉินสามารถช่วยวินัยฉัยเร่งด่วนเคสเส้นเลือดในสมองแตกด้วยเครื่อง CT Scan โดยผู้ป่วยอยู่ระหว่างเคลื่อนย้ายช่วง Golden Hour ทำให้ช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ทันท่วงทีและตัดสินใจฉีดยาผู้ป่วย การกระจายรถไปในภาคต่างๆ ต้องมั่นใจแล้วว่าสัญญาณ 5G แรงเพียงพอ Coverage ดีเยี่ยมซึ่ง AIS 5G ตอบโจทก์ได้เป็นอย่างดี”

ด้าน Autonomous Network ทำงานด้วย AI ก็ถูกนำมาใช้ประโยชน์ตอนน้ำท่วมใหญ่ หรือก่อนหน้าที่จะท่วมก็ใช้มาตลอด “คือเราใช้ AI ทำงาน มันรู้ของมันเอง ตอน Site ล่ม จะทำให้ site ข้างๆเบ่ง Power ให้คลุม Blind Spot ให้หาย มีการทิ้วหรือปรับบีมสัญญาณ site up/down เพื่อช่วย Coverage ตอน site ล่ม ในช่วงน้ำท่วม เราต้อง maintain service voice และตัดบริการอื่นๆออกเพื่อยืดระยะเวลาของแบตสำรองให้อยู่นานที่สุด ปกติแล้ว site ต้องมี capacity และ Coverage ไปด้วยกัน แต่กรณีภัยพิบัติ AI ช่วยจัดการในการ maintain voice ลดการใช้พลังงานซึ่ง Autonomous Network กับเหตุต่างๆนั้นสามารถช่วยได้ทันท่วงที” พี่วสิษฐ์เล่าอย่างภาคภูมิใจ

“ทีม Engineer ภาคเหนือของ AIS มีความภาคภูมิใจเป็นอย่างมากที่เข้าไปช่วยเหลือชาวบ้าน ขยายสัญญาณให้เข้าถึงได้ แน่นอนว่า Solution Microwave ถูกนำมาใช้มากสุด ตามมาด้วยการใช้ Super Cell Link นำคลื่นต่ำเป็น Back haul อย่าง 700 MHz แล้วตั้ง site ปลายทางให้เกิด Coverage ตรงนั้นใช้คลื่น 1800/2100 MHz กระจายสัญญาณตามหลังเขาและชุมชนต่างๆ ให้สามารถใช้งานติดต่อสื่อสารได้แบบ Un-Compromised” พี่ X หัวหน้า Engineer AIS ภาคเหนือ แชร์ประสบการณ์น้องๆในทีมให้เราฟัง

จากที่ได้ฟังมาทั้งหมด ไอเดียของพี่ๆทีมบริหารและปฎิบัติการ ทำให้เราเห็นว่า “AIS” เป็นได้มากกว่าเครือข่ายที่ครอบคลุมลึก สูง กว้าง และไกล โดยสะท้อนถึงการใช้สรรพวิชาบริหารโครงข่าย ใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างคุณค่าที่ให้มากกว่าการสื่อสาร เป็นสัญญาณเชื่อมต่อแห่งโอกาสสำหรับการศึกษา ธุรกิจ และชีวิตที่ดีขึ้นของผู้คน ไม่ว่าจะในเมืองใหญ่หรือพื้นที่ห่างไกล เช่นพื้นที่ภาคเหนือที่เต็มไปด้วยข้อจำกัด AIS ก็ตั้งใจเลือกใช้ Solution และทางออกให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับลูกค้าแบบไม่ประนีประนอม แม้มีภัยพิบัติก็พร้อมยืนเคียงข้างให้ผ่านพ้นวิกฤติ ช่วยติดต่อขอความช่วยเหลือจากโลกภายนอก ทำหน้าที่ผู้ให้บริการได้อย่างครบถ้วน ไว้ใจได้ในทุกที่ทุกเวลา และนี่คือที่มาของคำว่า “เครือข่ายคุณภาพที่ 1 ในใจของคนไทย” ที่ฟังแล้วไม่ไกลเกินความจริง

Comments

comments