SofewareOne Holding AG ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านซอฟต์แวร์ และคลาวด์โซลูชันระดับโลกได้ประกาศว่า ลูกค้าปัจจุบันของบริษัทอย่าง GQ Apparel แบรนด์เสื้อผ้าผู้ชายแบบออมนิแชนแนลในประเทศไทย จะเป็นหนึ่งในลูกค้ารายแรกที่ย้ายระบบหลังบ้านและระบบขายหน้าร้าน (POS) ไปยังภูมิภาคของโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์แห่งใหม่ของ AWS ในประเทศไทย ซึ่งจะรวมไปถึงการจัดการทรัพยากรบุคคล ระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) ระบบจัดการคลังสินค้า (WMS) คลังข้อมูลขั้นสูง (Advanced Data Warehouse) การวิเคราะห์การจราจรในร้านค้าปลีก…
aws
BOTNOI บริษัทสตาร์ทอัพไทย ได้พัฒนาผู้ช่วยปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้ Generative AI ผ่านบริการคลาวด์ของ AWS
อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services: AWS) บริษัทในเครือของ Amazon.com ประกาศในวันนี้ว่า BOTNOI สตาร์ทอัพด้าน Generative AI ของไทยที่เชี่ยวชาญในการสร้างผู้ช่วยเสมือนจริงสำหรับการสนทนา ได้พัฒนาแพลตฟอร์ม BOTNOI Voice ขึ้นบนคลาวด์ของ AWS เพื่อแปลงข้อความเป็นเสียงพูดและแปลงเสียงพูดเป็นข้อความ โดยใช้เทคโนโลยี Generative AI…
Redis ควง AWS ส่งฟีเจอร์ใหม่ ยกระดับการพัฒนาแอปพลิเคชันบน AWS
Redis ผู้ให้บริการฐานข้อมูลชั้นนำ เปิดตัวโซลูชันใหม่บนแพลตฟอร์ม AWS เพื่อช่วยนักพัฒนาแอปพลิเคชันสร้างระบบที่รวดเร็วและตอบสนองดีขึ้น ทั้งยังช่วยเพิ่มความสะดวกในการจัดการและประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ Redis ยังร่วมมือกับ AWS จัดกิจกรรมเวิร์กช็อป พร้อมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ใหม่ในการนำ Generative AI มาปรับใช้ในธุรกิจ โดยเน้นบทบาทของฐานข้อมูลแบบเวกเตอร์ (Vector Database) และการผสานกับ Amazon Bedrock แพลตฟอร์มสนับสนุน AI สมัยใหม่ มิสเตอร์ ชิ เล่ย (Shi Lei) สถาปนิกโซลูชันอาวุโสแห่ง Redis เปิดเผยว่า Redis ได้พัฒนาโซลูชันใหม่บน AWS เพื่อช่วยนักพัฒนาแอปพลิเคชันสร้างระบบที่รวดเร็ว โดยรองรับการประมวลผลแบบเรียลไทม์ด้วยเวลาแฝงระดับมิลลิวินาที และให้ความพร้อมใช้งาน (uptime) สูงถึง 99.999% ทั่วโลก ช่วยลดต้นทุนด้วย Redis Cloud ที่ออกแบบให้ใช้ทรัพยากรหลายฐานข้อมูลบนโครงสร้างพื้นฐานเดียวกัน โดยยังคงประสิทธิภาพการทำงาน พร้อมรองรับการปรับเพิ่ม-ลดการใช้งานได้แบบไม่สะดุด…
ทักษะด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) สามารถเพิ่มค่าจ้างบุคลากรในประเทศไทยได้มากกว่า 41%
อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services: AWS) บริษัทในเครือ Amazon.com ได้เผยแพร่การศึกษาล่าสุด ที่แสดงให้เห็นว่าเมื่อปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ถูกนำมาใช้อย่างเต็มศักยภาพ บุคลากรไทยที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญด้าน AI มีโอกาสเห็นการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างมากกว่า 41% โดยสองหมวดที่มีโอกาสเพิ่มรายได้สูงที่สุดคือพนักงานด้าน IT (54%) และด้านการดำเนินธุรกิจ (51%) AWS ได้ร่วมมือกับบริษัท Access Partnership เพื่อทำการศึกษาในระดับภูมิภาคหัวข้อ “การยกระดับทักษะด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI): การเตรียมความพร้อมบุคลากรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกสู่งานแห่งอนาคต” เพื่อให้เข้าใจถึงแนวโน้มการใช้งาน AI ที่กำลังเกิดขึ้นและทักษะที่เป็นที่ต้องการในองค์กรต่าง ๆ ในภูมิภาค APAC ได้ดียิ่งขึ้น โดยได้มีการสำรวจพนักงานกว่า 1,600 คนและนายจ้าง 500 รายในประเทศไทย นอกจากโอกาสในการเพิ่มค่าจ้าง บุคลากรในประเทศไทยอีก 98% คาดว่าการเพิ่มทักษะด้าน AI จะส่งผลให้พวกเขามีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การเพิ่มความมั่นคงในอาชีพ และส่งเสริมความใฝ่รู้ให้แก่พวกเขา…
AWS : ทำอย่างไร ให้ประเทศในอาเซียนก้าวตามทันโลกในยุคของปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)?
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เป็นอีกหนึ่งหัวข้อหลักในการประชุมรัฐมนตรีดิจิทัลอาเซียน (ADGMIN) ครั้งที่ 4 ที่เพิ่งผ่านมา จัดขึ้นที่สิงคโปร์ โดยได้มีการแนะนำแนวทางชุดใหม่เกี่ยวกับการกำกับดูแลและจริยธรรมของ AI แนวทางนี้เป็นก้าวสำคัญในการรับรองว่าอาเซียนจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนา AI ทั่วทั้งภูมิภาค และรับประกันว่าผู้ใช้และธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะสามารถก้าวได้ทันตามโลก แนวทางเหล่านี้สร้างกรอบการทำงานให้กับธุรกิจที่ต้องการออกแบบ พัฒนา และนำเทคโนโลยี AI มาใช้งาน ภาคธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถยึดคุณลักษณะเหล่านี้เป็นแนวทาง และเป็นเกณฑ์ในการออกแบบ AI เช่น ความสามารถในการอธิบายที่มาที่ไป ความเป็นธรรม ความคงทนของAIต่อวิธีการใช้ และความรับผิดชอบ (Explainability, Fairness, Robustness, and Accountability) แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นประโยชน์อย่างมาก การศึกษาล่าสุดโดย Kearney บริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการ ประเมินว่าการนำ AI มาใช้ในอาเซียนอาจเพิ่มมูลค่า GDP ของภูมิภาคได้ประมาณ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในเวลาเพียงห้าปี ซึ่งสามารถสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาลสำหรับบริษัทขนาดเล็กและขนาดใหญ่ทั่วภูมิภาค…
AI สิงค์โปร์ ร่วมมือกับ AWS สร้างโมเดล Generative AI ที่ครอบคลุมประเทศใน South East ASIA
การวิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยีในปี 2567 ของเวอร์เนอร์ โวเกลส์ (Werner Vogels) ซีทีโอของบริษัท Amazon ได้คาดการณ์ไว้ว่า Generative AI จะสามารถรับรู้ด้านวัฒนธรรมมากขึ้น โดยการเทรนโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large language models: LLM) ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งในหมวดหมู่ของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence: AI) ด้วยข้อมูลที่หลากหลาย จึงนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ลึกซึ้งและแม่นยำยิ่งขึ้น เป้าหมายหลักคือการทำให้ Generative AI เข้าถึงผู้คนหลากหลายกลุ่มและเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ทั่วโลก อย่างไรก็ตาม LLM นั้นพึ่งพาข้อมูลที่ได้รับจากอินเทอร์เน็ต ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นในรูปแบบภาษาและอักษรที่ถูกใช้จำนวนมาก อย่างเช่นภาษาอังกฤษ ที่มีข้อมูลสำหรับการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural language processing: NLP) อยู่มากมาย…