Backbase ผู้ให้บริการ Engagement Banking (หรือการใช้วิธีการดิจิทัลในการทำธุรกรรมธนาคารเพื่อสร้างประสบการณ์การใช้บริการที่ราบรื่นและให้ความสำคัญกับลูกค้า) ชั้นนำของโลก ร่วมกับ IDC ผู้นำด้านข้อมูลตลาดเทคโนโลยีชั้นนำของโลก เปิดตัวกิจกรรมเนื้อหาเชิงลึกสำหรับผู้นำภาคการธนาคารเพื่อเร่งการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล และการสร้างความแตกต่างทางธุรกิจด้านดิจิทัล ประจำปี 2566 “IDC and Backbase Leadership Banking Insights Forum 2023 – Key Steps…
backbase
ไทยพร้อมสร้างมาตรฐานใหม่ธนาคารดิจิทัลที่ครอบคลุมที่สุดในภูมิภาค
ประเทศไทย 30 มีนาคม 2564 – ธนาคารซึ่งเป็นลูกค้าของ Backbase ในประเทศไทยแสดงให้เห็นถึงความสามารถอันโดดเด่นในการให้บริการทางการเงินในรูปแบบดิจิทัลเป็นอย่างดี ซึ่งการปรับตัวรับเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ได้พิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งในภาวะวิกฤติเช่นนี้ โดยล่าสุดการวิจัยในหัวข้อฟินเทคและดิจิทัลแบงก์กิ้ง 2564 (ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก) ครั้งที่สอง โดยสถาบัน IDC และ Backbase ระบุว่าธนาคารชั้นนำ 4 จาก 6 แห่งในประเทศไทย เตรียมเพิ่มจำนวนพนักงานเพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการนำเสนอนวัตกรรมให้ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ความแข็งแกร่งของดิจิทัลแบงก์กิ้ง เป็นปัจจัยสำคัญต่อการปรับตัวและการฟื้นตัวของสถาบันการเงิน ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาและเพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนไปของลูกค้าธนาคาร ทั้งนี้ จากผลสำรวจพบว่าธนาคารดิจิทัลทั่วเอเชียแปซิฟิกมีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นสามเท่าในระหว่างปี 2563/2562 เมื่อเทียบกับธนาคารแบบดั้งเดิม ในขณะที่ธนาคารแบบดั้งเดิมก็ต้องรองรับความต้องการของลูกค้าด้านธุรกรรมดิจิทัลและการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าในช่องทางดิจิทัลที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 50% ดังนั้นจึงสามารถคาดการณ์ได้ว่าองค์กรที่เกี่ยวข้องจะให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจ (Digital Transformation) และพัฒนาโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความผูกพันกับลูกค้า (Customer Engagement) อย่างครอบคลุม การแข่งขันรูปแบบใหม่บนสังเวียนธนาคารที่กำลังพัฒนาไปข้างหน้า การแข่งขันระหว่างทั้งผู้เล่นดั้งเดิมและผู้เล่นรายใหม่ในธุรกิจการธนาคาร จะให้ความสำคัญกับการชิงส่วนแบ่งตลาดไปพร้อมกับการแข่งขันด้านการเป็นธนาคารดิจิทัล(digital-first) ทั้งนี้จากข้อมูลของสถาบัน IDC พบว่าความท้าทายในช่วงโควิด-19 นำมาสู่การเกิดขึ้นของธุรกิจอย่างธนาคารรูปแบบใหม่และฟินเทคบนสังเวียนธุรกิจการธนาคารของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และคาดว่าจะมีผู้ท้าชิงรายใหม่เกิดขึ้นกว่า 100 ราย ทั่วภูมิภาคภายในปี 2568 ทั้งนี้ผู้ท้าชิงรายใหม่จะมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้นภายหลังผ่านพ้นการระบาด ทำให้มีธนาคารดิจิทัลอย่างน้อยสองแห่งในทุกตลาดของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นับเป็นความท้าทายอย่างยิ่งต่อธนาคารแบบดั้งเดิม ธุรกิจฟินเทคที่สามารถสร้างขนาดธุรกิจได้ถึงระดับหนึ่ง ภายในปี 2562 จนประสบความสำเร็จ โดยส่วนแบ่งตลาดมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ประเภทของฟินเทคที่มักประสบความสำเร็จ คือ บริการชำระเงิน (Payments) บริการบริหารความมังคั่ง (Wealth Advisory) บริการข้อมูลทางเลือกสำหรับการตัดสินใจลงทุน (Alternative Data) แพลตฟอร์มการให้บริการด้านสินเชื่อ (Lending Platforms) และการบริหารจัดการบัญชีลูกค้า (Account Origination) …
BACKBASE ระบุ 63% สนใจใช้บริการธนาคารดิจิทัล จากผู้ให้บริการทางการเงินรูปแบบใหม่และธนาคารผู้ท้าชิงภายใน 5 ปี
กรุงเทพ – 11 พฤษภาคม 2563 – การสำรวจพบคนส่วนมากในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกพร้อมใช้งานธนาคารดิจิทัล โดยลูกค้ากว่า 3 ใน 5 (63%) พร้อมเปลี่ยนไปใช้บริการของผู้ให้บริการทางการเงินรูปแบบใหม่และธนาคารผู้ท้าชิงรายใหม่ๆ (Neobank และ Challenger bank) ในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยจะมีผู้เล่นใหม่เกิดขึ้นกว่า 100 รายในภูมิภาคนี้ ตามรายงาน…