ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ปี 2022 และเป็นประจำทุกปี เราจะได้เห็นการคาดการณ์ความเคลื่อนไหวในแวดวงเทคโนโลยี ในปีนี้วีเอ็มแวร์ จะมาแชร์เทรนด์เทคโนโลยีสำคัญ ๆ เพื่อให้เห็นถึงความต้องการเทคโนโลยีระดับองค์กรที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทในการยกระดับการทำงาน แต่ที่แน่ ๆ มีบางด้าน: ที่ไม่จำเป็นต้องใช้พลังพิเศษในการทำนายเลย นั่นคือ การทำงานแบบมัลติคลาวด์ที่ยังคงดำเนินต่อไป เนื่องจากมัลติคลาวด์ช่วยให้องค์กรมีอิสระในการดำเนินการตามกลยุทธ์คลาวด์ที่ดีที่สุด เร่งความเร็วในการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจและการพัฒนานวัตกรรมแอปพลิเคชัน ดังนั้นเราจะมองเห็นรูปแบบการทำงานใหม่ ๆ ที่เน้นการทำงานผ่านมัลติคลาวด์มากยิ่งขึ้น โดยเทรนด์ดังกล่าวจะครอบคลุมทั้งคลาวด์ ระบบซีเคียวริตี้ ระบบแอปพลิเคชัน ระบบรองรับการทำงานจากทุก ๆ ที่ (Anywhere Workspace) และ Enterprise Blockchain คลาวด์ บริษัทส่วนใหญ่ได้ทำการกำหนดโซลูชันในการเคลื่อนย้ายแอปพลิเคชันข้ามผ่านระบบคลาวด์ต่าง ๆ ไว้แล้ว (แม้ว่าหลาย ๆ สภาพแวดล้อมจะเอื้อต่อการเคลื่อนย้ายแอปพลิเคชันไม่เท่ากัน) อย่างไรก็ดี การเคลื่อนย้ายข้อมูลก็ยังคงเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ เพราะข้อมูลคือหัวใจสำคัญในการทำงานของแอปพลิเคชัน โดยระบบการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบเดิม ไม่สามารถมอบประสบการณ์การทำงานที่เหมือนกับคลาวด์ได้ เพราะมันถูกจำกัดด้วยขีดความสามารถของอุปกรณ์ที่มีข้อจำกัดในการจัดการทรัพยากร ทำให้อาจจะเกิดการติดขัดการเข้าถึงข้อมูล ปริมาณความจุที่ไม่เพียงพอ ข้อจำกัดในการปรับขนาดและความยืดหยุ่น เพิ่มความยากในการตัดสินใจในการวางตำแหน่งที่มีความซับซ้อน และมีค่าใช้จ่ายสูงตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการดูแลระบบทั้งหมด การที่อุตสาหกรรมมุ่งหน้าเข้าสู่ยุคของ multi-cloud/zettabyte จะยิ่งเจอกับข้อจำกัดเหล่านี้มากขึ้น ในอีกสองปีข้างหน้า เราคาดการณ์ว่าจะได้เห็นโครงสร้างข้อมูลที่ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพบนคลาวด์ที่จะช่วยแบ่งเบาการจัดการข้อมูลต่าง ๆ ในองค์กร เพิ่มความสำเร็จในการพัฒนาสถาปัตยกรรมมัลติคลาวด์ ระบบซีเคียวริตี้หรือความปลอดภัย…
cybersecurity
AIS ตั้งเป้า “อยู่กับ AIS ปลอดภัยที่สุด” แนะ ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน ใช้เน็ตปลอดภัย วัน Safer Internet Day 2022
AIS อุ่นใจ Cyber จับมือ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ตำรวจไซเบอร์ ร่วมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับคนไทยให้มีความเข้าใจด้านการใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยห่างไกลภัยจากกลุ่มมิจฉาชีพ ในวัน Safer Internet Day มุ่งเน้นการสื่อสารอย่างตรงประเด็นเน้นย้ำ ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน เพื่อลดปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พร้อมยกระดับเครื่องมือการใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย AIS Secure Net บริการที่ช่วยแจ้งเตือน และปกป้องคุณจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั้งทางเครือข่ายมือถือและเน็ตบ้านสำหรับลูกค้า AIS…
จี๊บ เทพอาจ จับมือตำรวจไซเบอร์รับมือเกรียนคีย์บอร์ด จัดอบรม “รู้เท่าทันภัยออนไลน์”
คุณเทพอาจ กวินอนันต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารค่ายเพลงวัยรุ่นชื่อดังอย่าง LOVEiS Entertainment (เลิฟอิส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์) และในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Lido Connect ผู้ซึ่งเล็งเห็นและให้ความสำคัญกับเรื่องภัยออนไลน์ที่เกิดขึ้นได้ทุกวันโดยเฉพาะช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆของศิลปินซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวอย่างมากในยุคดิจิทัลได้จับมือร่วมกับกลุ่มงานต่อต้านการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเตอร์เน็ต กองบัญชาการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี กองบัญชาการตำรวจสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือที่เราคุ้นกันดีในชื่อ “ตำรวจไซเบอร์” เปิดอบรมให้กับตัวแทนจากค่ายเพลงต่างๆ อาทิเช่น SpicyDisc, What The Duck รวมถึงศิลปิน ประชาชนทั่วไปและเยาวชน ในหัวข้อเรื่อง “รู้เท่าทันภัยออนไลน์”…
วีเอ็มแวร์เผยมุมมอง 7 เทรนด์ไซเบอร์ซีเคียวริตี้ประจำปี 2565
ตลอดปีที่ผ่านมา เราได้เห็นความเคลื่อนไหวของประเด็นเรื่องการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์หรือไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่กลายเป็น ‘hot pick’ ทั่วโลก ส่งผลให้ภาครัฐและเอกชนเล็งเห็นความสำคัญถึงการพัฒนากลยุทธ์ด้านความปลอดภัยมากขึ้น และเราได้พบเห็นช่องโหว่ที่สำคัญของ Log4j ซึ่งเผยให้เห็นถึงความเปราะบางของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลทั่วโลก ในปี 2564 ยังเห็นการโจมตีทางไซเบอร์ เช่น Colonial Pipeline, JBS และ Kaseya ที่กลายเป็นประเด็นข่าวหลักและส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคทุกวัน จากการคาดการณ์ ภายในปี 2568 อาชญากรรมทางไซเบอร์จะทำให้ทั่วโลกต้องสูญเสียเงินราวๆ 10.5…
ครั้งแรกและครั้งสำคัญของไทย สกมช. เปิดหลักสูตร Cyber Security ระดับผู้บริหาร
ปัจจุบันโลกของเราได้เข้าไปสู่ยุคดิจิทัลโดยสมบูรณ์ ทำให้ภัยคุกคามทางด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เป็นเรื่องใกล้ตัวและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ที่ผ่านมาจะเห็นได้จากข่าวการโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนทั่วโลก เช่น โรงกลั่นน้ำมัน บริษัทขนส่งน้ำมัน ตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารทั้งรัฐและเอกชน บริษัทประกันภัย และโรงพยาบาล เป็นต้น การโจมตีมีวัตถุประสงค์หลากหลาย อาทิ เพื่อก่อกวนให้ใช้งานระบบไม่ได้ หรือการโจมตีเพื่อขโมยข้อมูลด้วยแรนซัมแวร์ ซึ่งกลุ่มอาชญากรจารกรรมข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ ทำการปิดกั้นข้อมูลเป็นตัวประกันจนกว่าบริษัทจะยอมจ่ายค่าไถ่ หรือให้ผลประโยชน์ใด ๆ แก่ผู้ก่อเหตุ ดังนั้น บริษัทจึงต้องหยุดการทำงานในระบบทำให้ส่งผลกระทบต่อการให้บริการหรือดำเนินธุรกิจ และอาจหมายรวมถึงส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมและความมั่นคงทางเศรษฐกิจในประเทศต่าง…
52 เปอร์เซ็นต์ของเทคโนโลยี Cyber Security ที่ใช้งานในบริษัทในประเทศไทยเข้าข่ายล้าสมัย
ซิสโก้เผยแพร่รายงานผลการศึกษาเกี่ยวกับผลลัพธ์ด้านการรักษาความปลอดภัย ฉบับที่ 2 (Security Outcomes Study Volume 2) ซึ่งระบุว่า บริษัทต่างๆ ในไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีและโซลูชั่นรุ่นใหม่ใน “โครงสร้างพื้นฐานของไซเบอร์ซีเคียวริตี้” โดยผลการศึกษาเผยว่า 52 เปอร์เซ็นต์ของเทคโนโลยีไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่ใช้งานอยู่ในบริษัทต่างๆ ของไทยจัดว่าล้าสมัย ตามความเห็นของบุคลากรฝ่ายรักษาความปลอดภัย ที่ทำงานอยู่ในองค์กรเหล่านั้น รายงานดังกล่าวอ้างอิงผลการสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรฝ่ายรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวกว่า 5,100 คนใน 27 ประเทศทั่วโลก รวมถึงบุคลากรกว่า…
Cyber resilience การเตรียมความพร้อมและปรับตัวทางไซเบอร์ พื้นฐานสำคัญเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ
การโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นทั่วโลกทุก 11 วินาที โดยมุ่งเป้าไปที่ทุกช่องทางตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานสำคัญระดับชาติไปจนถึงข้อมูลส่วนตัวที่ละเอียดอ่อน ผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมจากการโจมตีทางไซเบอร์อาจลุกลามเป็นเรื่องใหญ่โตมากกว่าเดิม สำหรับกลุ่มผู้ใช้งานระบบการเข้าถึงแบบทางไกลนั้น กลายเป็นส่วนที่มีความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์มากขึ้นกว่าเดิม บทความจากเว็บไซต์ของ McKinsey ชี้ว่ามีการทำฟิชชิ่งเพิ่มมากขึ้นเกือบ 7 เท่านับตั้งแต่การเกิดการระบาดของไวรัส COVID-19 โดยที่อาชญากรไซเบอร์เลือกใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในการอัปเดตตัวช่วยกรองระบบอีเมลและเว็บไซต์ที่ล่าช้า ในการกำหนดเป้าหมายสำหรับการโจมตีที่เป็นผู้ใช้งานระบบจากระยะไกล ความเสียหายที่เกิดจากการโจมตีและความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้ ส่งผลให้หน่วยงานของภาครัฐทั้งหลายควรจะต้องเร่งในการวางแผนในเรื่องของ “แนวทางในการรับมือกับการโจมตีทางไซเบอร์อย่างยึดหยุ่น” โดยที่ต้องสามารถป้องกัน ตอบสนองและกู้คืนได้อย่างรวดเร็วหลังเกิดการโจมตี เพื่อเป็นการสร้างรากฐานที่แข็งแรงพร้อมสำหรับการฟื้นตัวตามสภาพเศรษฐกิจของโลก สูญเสียไปมาก กับเรื่องของการโจมตีทางไซเบอร์ การโจมตีด้วยแรนซัมแวร์และรูปแบบอื่นๆ…
เผยอุปกรณ์ IoT ในบ้านและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพิ่มความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเบอร์
จากแบบสำรวจเรื่องอุปกรณ์ IoT ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ เน้นย้ำถึงความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างพนักงานที่ทำงานจากระยะไกล และฝ่ายไอที เพื่อปกป้องความปลอดภัยไซเบอร์ให้กับองค์กร ผู้ก่อการร้ายบนไซเบอร์รู้ดีว่าช่องโหว่เล็กๆ เพียงช่องเดียวจากเซ็นเซอร์ของอุปกรณ์ IoT ทำให้สามารถปล่อยแรนซัมแวร์เข้าโจมตีเครือข่ายองค์กรได้ ทั้งนี้ จากการสำรวจกลุ่มผู้มีอำนาจตัดสินใจเรื่องระบบไอที ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ เปิดเผยว่า 80% ของผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียแปซิฟิค (รวมญี่ปุ่น) ซึ่งมีอุปกรณ์ IoT ต่อเชื่อมเข้ากับเครือข่ายขององค์กร…