การ์ทเนอร์เผย 8 คาดการณ์สำคัญของความปลอดภัยทางไซเบอร์ในปี 2567 และในอนาคต พบว่าการใช้ Generative AI จะช่วยลดช่องว่างทักษะและลดเหตุความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เกิดโดยพนักงาน โดยที่ 2 ใน 3 ขององค์กร 100 แห่งทั่วโลกจะขยายการประกันภัย D&O ให้กับผู้นำด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ตามกฎหมายการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล และการรับมือกับข้อมูลที่บิดเบือนจะสร้างต้นทุนแก่องค์กรมากกว่า 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ดีปตี โกปาล…
Gartner
แนวทางสร้างสมดุล “อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม” vs “คำมั่นสัญญาของ Generative AI”
การนำ ChatGPT มาใช้อย่างรวดเร็วได้ยกระดับผลกระทบเชิงลบด้านสิ่งแวดล้อมในหลายมิติ จากที่ Generative AI เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังได้รับความนิยม ได้กลายเป็นความกังวลขององค์กรทันที เมื่อยูสเคสที่เหมือนจะดูดีและถูกขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีเกิดใหม่นี้กลับสร้างผลเสียมากกว่าผลดีในแง่ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) และปริมาณการใช้ไฟฟ้าและน้ำ อย่างไรก็ตามหากใช้อย่างถูกวิธีและอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของมนุษย์ Generative AI ยังสามารถเร่งให้เกิดความยั่งยืนเชิงบวกพร้อมสร้างผลลัพธ์ทางการเงินได้ โดยเทคโนโลยีนี้อาจช่วยให้บริษัทลดความเสี่ยงด้านความยั่งยืน ปรับต้นทุนให้เหมาะสม และขับเคลื่อนการเติบโตได้ เพื่อสร้างสมดุลระหว่างอันตรายและประโยชน์ของเทคโนโลยีนี้ องค์กรจำเป็นต้องดำเนินการ 2 ประการ ประการแรก คือ…
Gartner เผย 6 แนวโน้มความมั่นคงไซเบอร์ที่สำคัญในปี 2566
การ์ทเนอร์เผย Generative AI, พฤติกรรมพนักงานที่ไม่ปลอดภัย, ความเสี่ยงจากบุคคลที่สาม, ภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง, ช่องว่างการสื่อสารในทีมบริหาร และแนวทางการรักษาความปลอดภัยที่ยึดการยืนยันตัวตนเป็นหลัก ล้วนเป็นปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังและคอยขับเคลื่อนแนวโน้มความมั่นคงไซเบอร์ที่สำคัญ ๆ ในปีนี้ มร.ริชาร์ด แอดดิสคอตต์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “GenAI กำลังสร้างความกังวลใจให้กับผู้บริหารด้านความปลอดภัยในฐานะที่เป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่ต้องจัดการ อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีนี้ได้มอบโอกาสการควบคุมขีดความสามารถเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในระดับปฏิบัติการ แม้ Gen AI จะเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญอย่างเลี่ยงไม่ได้ ทว่าผู้บริหารยังต้องต่อสู้กับปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมที่ไม่อาจมองข้ามในปีนี้” ปีนี้เราจะเห็นว่าผู้บริหารด้านความปลอดภัยตอบสนองต่อผลกระทบเหล่านี้ โดยนำแนวทางปฏิบัติ ความสามารถเชิงเทคนิค และการปฏิรูปโครงสร้างมาใช้ภายในโปรแกรมความปลอดภัยของตน โดยมีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงความยืดหยุ่นขององค์กรและเพิ่มประสิทธิภาพฟังก์ชันความปลอดภัยทางไซเบอร์ 6 เทรนด์ต่อไปนี้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างในหลากหลายด้าน: เทรนด์ที่ 1: Generative AI…
AI-Generated Deepfakes ทำให้การใช้โซลูชันยืนยันและพิสูจน์ตัวตนแบบเอกเทศไม่น่าเชื่อถืออีกต่อไป
การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าในปี 2569 การโจมตีแบบ Deepfakes ที่สร้างโดยปัญญาประดิษฐ์กับเทคโนโลยีระบุตัวตนบนใบหน้าหรือ Face Biometrics เป็นเหตุให้องค์กรประมาณ 30% มองว่าโซลูชันการยืนยันและพิสูจน์ตัวตนจะไม่น่าเชื่อถืออีกต่อไปหากนำมาใช้แบบเอกเทศ มร. อากิฟ ข่าน รองประธานฝ่ายวิจัยการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มีจุดเปลี่ยนสำคัญด้าน AI เกิดขึ้นหลายประการ นั่นทำให้เกิดการสร้างภาพสังเคราะห์ขึ้นได้ โดยภาพใบหน้าคนจริง ๆ ที่สร้างขึ้นปลอม ๆ เหล่านี้ หรือที่เรียกว่า Deepfakes นั้น เปิดโอกาสให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถนำมาใช้เพื่อทำลายระบบการพิสูจน์ทราบตัวตนด้วยไบโอเมตริกซ์หรือทำให้ระบบใช้การได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ผลที่ตามมาก็คือ องค์กรต่าง ๆ อาจเริ่มตั้งคำถามถึงความน่าเชื่อถือของโซลูชันการยืนยันและพิสูจน์ตัวตน เนื่องจากไม่สามารถบอกได้ว่าใบหน้าบุคคลที่ได้รับการยืนยันนั้นเป็นบุคคลที่มีชีวิตจริงหรือเป็นของปลอมกันแน่” กระบวนการยืนยันและพิสูจน์ตัวตนโดยใช้เทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์บนใบหน้าในวันนี้อาศัยการตรวจจับการโจมตีหลอก หรือ Presentation Attack Detection (PAD) เพื่อประเมินการมีชีวิตอยู่จริงของผู้ใช้ “มาตรฐานและกระบวนการทดสอบในปัจจุบันเพื่อกำหนดและประเมินกลไกของการตรวจจับการโจมตีหลอกนั้นไม่ครอบคลุมการโจมตีผ่านดิจิทัลหรือ Digital…
Gartner เผยคาดการณ์มูลค่าใช้จ่าย IT ทั่วโลกปี 2567 โตขึ้น 6.8%
การ์ทเนอร์ อิงค์ คาดการณ์มูลค่าการใช้จ่ายไอทีทั่วโลกในปีนี้จะเติบโตเพิ่ม 6.8% จากปี 2566 คิดเป็นมูลค่ารวม 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสก่อนที่คาดการณ์ไว้ว่าจะเติบโต 8% แม้ Generative AI (GenAI) จะได้รับความนิยมอย่างมากในปี2566 แต่ระยะสั้นยังไม่ส่งผลต่อการเติบโตของยอดการใช้จ่ายไอทีอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับประเทศไทย การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าในปี 2567 มูลค่าการใช้จ่ายไอทีจะสูงทะลุ 1 ล้านล้านบาท เป็นครั้งแรก…
Gartner ชี้ ตลาด PC ส่อฟื้นตัว หลังลดลงมาถึง 8 ไตรมาส
การ์ทเนอร์ อิงค์ เผยยอดขายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือพีซีทั่วโลกไตรมาส 4 ปี 2566 มียอดรวม 63.3 ล้านเครื่อง เติบโต 0.3% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2565 นับเป็นครั้งแรกที่ยอดขายพีซีรายไตรมาสกลับมาเติบโต หลังจากลดลงต่อเนื่องตลอดแปดไตรมาสที่ผ่านมา โดยในปีนี้มียอดแตะ 241.8 ล้านเครื่อง ลดลง 14.8% เมื่อเทียบกับปี 2565…