ความเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี ธุรกิจระดับโลก และการค้าในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ต้ังแต่การผลิตอาหารไปจนถึงอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ส่งผลให้องค์กรต้องปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานด้านซัพพลายเชน ลดค่าใช้จ่าย เสริมสภาพคล่องเงินทุนหมุนเวียนที่ต้องใช้ในแต่ละวัน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และเร่งสร้างสรรค์นวัตกรรม ซึ่งสิ่งที่กล่าวมานี้เกิดจากแรงกดดันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่ต้องตอบสนองต่อความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภครุ่นใหม่ ซึ่งเคยชินกับการได้รับประสบการณ์ที่ตรงตามความต้องการเฉพาะตัวของตนและที่ไหนเมื่อไรก็ได้ ความกดดันนี้ค่อย ๆ กระจายมายังวงการคลังสินค้า แม้ว่าที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมนี้ คือ การนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างจำกัดเพื่อประสิทธิภาพด้านต่าง ๆ…
infor
ทำไมสถาปัตยกรรมแบบ multi-tenant จึงได้รับการยอมรับว่าเป็นคลาวด์ที่แท้จริง
องค์กรธุรกิจที่ตัดสินใจย้ายการทำงานไปยังระบบคลาวด์ มีทางเลือกที่เป็นโซลูชันตามรูปแบบการใช้งานที่ต่างกันสองประเภท คือ แบบ Single-Tenant (ST) ที่รองรับผู้ใช้งานรายเดียวรูปแบบเดียว ซึ่งไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าการใช้งานโซลูชันภายในองค์กรบนเทคโนโลยีของคนอื่น (ที่เรียกว่า โฮสต์ติ้ง) หรือแบบ Multi-Tenant (MT) ที่รองรับผู้ใช้งานหลายรายในหลากหลายรูปแบบ และสร้างขึ้นบนเทคโนโลยีคลาวด์ที่แท้จริงที่สามารถปรับขนาดการใช้งานเพิ่มขึ้นได้อย่างมาก การตัดสินใจว่าจะใช้รูปแบบใดไม่ว่า ST หรือ MT เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารส่วนใหญ่ควรพิจารณาถึงผลกระทบอย่างรอบคอบ การพิจารณาเพียงอย่างเดียวว่าจะเลือกพับลิคหรือไพรเวทคลาวด์ หรือไม่ก็อาจคาดว่าไพรเวทคลาวด์ปลอดภัยกว่า แนวความคิดเช่นนี้อาจทำให้องค์กรเริ่มต้นเส้นทางปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลในทิศทางที่ผิด จนนำไปสู่ความล้มเหลว ประโยชน์เบื้องต้นจำนวนมากที่จะได้รับจากการใช้ MT cloud จะช่วยให้ผู้บริหารด้านไอทีและเพื่อนร่วมงานเข้าใจว่า เพราะเหตุใด MT cloud จึงได้รับการกล่าวขานว่าเป็นคลาวด์ที่แท้จริง ระบบคลาวด์สำคัญอย่างไร แนวทางการดำเนินงานที่องค์กรเลือกนั้นถือว่าสำคัญอย่างยิ่ง เพราะโซลูชันที่เลือกจะกำหนดพารามิเตอร์ในการอัปเกรด และชี้ให้เห็นความสามารถในการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลขององค์กร หากองค์กรตัดสินใจผิดพลาดอาจส่งผลให้สูญเสียทรัพยากร รวมถึงเวลาและความพยายามของทีมที่ทุ่มเทไป การที่องค์กรเปลี่ยนไปใช้โซลูชันแบบ ST อาจนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดมาก่อน…
Infor ครองตำแหน่งผู้นำด้าน Cloud ERP for Product-Centric Enterprises จากการจัดลำดับของรายงาน Gartner Magic Quadrant
อินฟอร์ (Infor) บริษัทผู้ให้บริการด้านคลาวด์ที่ออกแบบเฉพาะสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมแต่ละประเภท ประกาศว่า Gartner® Inc. ได้จัดให้ Infor เป็นผู้นำด้าน Cloud ERP for Product-Centric Enterprises ในรายงาน Gartner Magic Quadrant™ ประจำปี 2021 การได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มผู้นำในรายงาน Gartner Magic Quadrant…
Infor ตั้งเชมา อรัมบูรู เป็นรองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาค Asia Pacific และญี่ปุ่น
อินฟอร์ บริษัทซอฟต์แวร์ระบบคลาวด์สำหรับอุตสาหกรรม ประกาศแต่งตั้งนายเชมา อรัมบูรู ดำรงตำแหน่งรองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (APJ) ทั้งนี้ นายอรัมบูรูจะประจำที่ฮับภูมิภาคของบริษัทฯ ในประเทศสิงคโปร์ รับผิดชอบธุรกิจของอินฟอร์ในอาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน เกาหลี อินเดีย และญี่ปุ่น เพื่อขับเคลื่อนความสำเร็จและความพึงพอใจของลูกค้าต่อไป เชมา อรัมบูรู, รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น, อินฟอร์ นายเควิน ซามูเอลสัน ซีอีโอของอินฟอร์…
ซัพพลายเชนที่ทันสมัยต้องอยู่บนคลาวด์
องค์กรด้านซัพพลายเชนจะต้องมั่นใจว่าขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ กำลังดำเนินไปอย่างเหมาะสม และมีการใช้เครื่องมือดีที่สุดในทุกขั้นตอนการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการคาดการณ์ความต้องการ, การจัดซื้อ, การผลิต, การจัดการสินค้าคลัง และโลจิสติกส์ รวมถึงงานทุกอย่างที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการเหล่านี้ อย่างไรก็ตามไม่ว่าความกดดันจะเกิดจากระบบซัพพลายเชนของโลกมีความซับซ้อนมากขึ้น หรือต้องการสร้างความแตกต่างในตลาดด้วยอัตรากำไรที่ลดลงก็ตาม เครื่องมือในการบริหารจัดการซัพพลายเชนรุ่นเก่าก็ไม่สามารถสนองตอบต่อเป้าหมายขององค์กรด้านซัพพลายเชนในปัจจุบันได้ ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวนี้การ์ทเนอร์ได้ระบุไว้ว่าคือ “ต้องมั่นใจได้ว่าซัพพลายเชนจะมีประสิทธิผลที่ดี คล่องตัว และตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า ถึงแม้จะมีความท้าทายจากความผันผวน ความไม่แน่นอน ความซับซ้อน และความคลุมเครือก็ตาม” เทคโนโลยีได้พัฒนาไปถึงจุดที่สามารถสนับสนุนให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลอย่างกว้างขวางระหว่างสมาชิกที่อยู่ในระบบนิเวศซัพพลายเชนด้วยกัน รวมถึงช่วยให้องค์กรสามารถรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน และตีความข้อมูลนั้นเพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจได้ดีขึ้น…
“การบริหารจัดการซัพพลายเชน: ก้าวต่อไปของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม”
บริษัทผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มต่อสู้มาอย่างยาวนานเกี่ยวกับข้อบังคับเฉพาะเรื่องการจัดการอายุของผลิตภัณฑ์, ความซับซ้อนของการจัดตารางการผลิต, การตรวจสอบย้อนกลับและปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย ยิ่งไปกว่านั้นความไม่แน่นอนเกี่ยวกับภาษีศุลกากร, แนวคิดด้านความยั่งยืน และกฎระเบียบที่เพิ่มมากขึ้นก็เป็นแรงส่งมหาศาลที่เพิ่มความซับซ้อนให้กับเรื่องเหล่านี้มากขึ้น ปัญหาและแนวโน้มเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบซัพพลายเชนทั้งหมดของคุณ – ตั้งแต่การจัดซื้อ กระบวนการผลิต ไปจนถึงการจัดส่งสินค้า อินฟอร์จำแนกความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับความซับซ้อนของระบบซัพพลายเชนในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มออกเป็นสามเรื่อง ดังนี้ 1. ต้องมีความสามารถในการรับรู้และมองเห็นความเป็นไปของทั่วทั้งโลก 2. ต้องรู้จักคาดการณ์และรับมือกับความผันผวน และ 3. ต้องใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุด ต้องมีความสามารถในการมองเห็นและรับรู้สถานการณ์ของทั่วทั้งโลก เรามักจะสนใจเฉพาะตัวแปรต่าง…
ทำไม IoT & ML การตรวจสอบย้อนกลับและความโปร่งใส จึงมีบทบาทมากในปี 2564
ประสบการณ์จากความยุ่งเหยิงและการชะงักงันที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนในปี 2563 เป็นบททดสอบให้กับผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มได้พิสูจน์ว่าจะสามารถรับมือและนำพาธุรกิจของตนให้อยู่รอดและเติบโตในอนาคตได้มากน้อยเพียงใด ในขณะที่ความไม่แน่นอนดูเหมือนจะยังคงอยู่กับเราต่อไปอีกระยะหนึ่ง บริษัทต่าง ๆ ก็กำลังพยายามพาตัวเองให้ยืนหยัดอยู่ในจุดที่แข็งแกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้ผ่านแนวทางต่าง ๆ เช่น ให้ความสำคัญกับการกระตุ้นการส่งสินค้าและบริการสู่ตลาดให้เร็วขึ้น,คุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร, ความคล่องตัวของระบบซัพพลายเชน และการสร้างออมนิ-แชนแนลโมเดล (omni-channel) ต่าง ๆ เพื่อให้ตอบรับและใช้ประโยชน์จากโอกาสต่าง ๆ ที่จะมีมาในอนาคต ความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานเป็นสิ่งผลักดันให้ความคิดสร้างสรรค์ดังกล่าวข้างต้นหลายรายการประสบความสำเร็จ เพราะบริษัทต่าง ๆ ล้วนต้องการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นกำลังคน การใช้พลังงาน…