แคสเปอร์สกี้รักษามาตรฐานความเป็นเลิศด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภค สำนักงานขนาดเล็ก และองค์กรเอ็นเทอร์ไพรซ์ต่างประสบความสำเร็จอย่างไม่มีใครเทียบได้ในการทดสอบสุดเข้มของ SE Labs โดยได้รับคะแนนความแม่นยำรวม 100% (Total Accuracy Rating) ตลอดทั้งสี่ไตรมาสในปี 2024 จากการประเมินอย่างเข้มงวดที่ดำเนินการโดย SE Labs องค์กรทดสอบความปลอดภัยไซเบอร์ที่มีชื่อเสียง ผลิตภัณฑ์ Kaspersky Plus (ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี2024 เป็น…
kaspersky
ไทยถือคริปโตมากเป็นอันดับ 5 ของโลก kaspersky เน้นย้ำการรักษาความปลอดภัยเงินและวอลเล็ต
สกุลเงินดิจิทัล หรือเงินคริปโต (Cryptocurrency) ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามนับตั้งแต่มีการเปิดตัวบิตคอยน์เมื่อสิบห้าปีที่แล้ว และปัจจุบันมีจำนวนเจ้าของเงินคริปโตทั่วโลกมากกว่า 560 ล้านคน คิดเป็นค่าเฉลี่ย 6.8% ทั่วโลก โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 5 มีสัดส่วนเป็นเจ้าของคริปโต 17.6% นับเป็นผู้เล่นที่โดดเด่นในตลาดเงินคริปโตระดับโลก นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “เงินคริปโตในไทยกำลังเติบโตและพัฒนาอย่างรวดเร็วเพราะใช้แนวทางเชิงรุกในการผสานรวมเงินคริปโตเข้ากับระบบนิเวศการเงินของประเทศ โดยไทยเป็นหนึ่งในสิบประเทศในเอเชียที่มีอัตราการใช้งานคริปโตสูงสุด แนวโน้มขาขึ้นนี้ได้รับความสนับสนุนจากรัฐบาลไทยภายได้กรอบการกำกับดูแลที่ชัดเจนผ่านกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์…
Kaspersky ชี้ ธุรกิจไทยโดนภัยคุกคามทางเว็บเฉลี่ย 5,811 รายการต่อวัน
ธุรกิจต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เผชิญกับภัยคุกคามทางเว็บ (web threat) หรือภัยคุกคามที่เกิดจากอินเทอร์เน็ต (internet-born threat) เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นทั้งศูนย์กลางการเติบโตและเป้าหมายของอาชญากรไซเบอร์ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 โซลูชันความปลอดภัยสำหรับธุรกิจของแคสเปอร์สกี้ตรวจพบและบล็อกภัยคุกคามทางเว็บในภูมิภาคมากกว่า 26 ล้านรายการ โดยเฉลี่ยแล้วนับเป็นความพยายามโจมตีทางเว็บ 146,944 รายการต่อวัน ประเทศไทยพบความพยายามโจมตีทางเว็บทั้งหมด 1,057,732 รายการ คิดเป็นจำนวนเฉลี่ย 5,811 รายการต่อวัน ภัยคุกคามทางเว็บหรือภัยคุกคามออนไลน์เป็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่อาจทำให้เกิดเหตุการณ์หรือการกระทำที่ไม่พึงประสงค์ผ่านอินเทอร์เน็ต…
Kaspersky เผย phishing การเงินคุกคามธุรกิจอาเซียนหนัก ไทยครองหนึ่งทิ้งห่าง พุ่งสูงมากกว่า 140,000 ครั้ง
รายงานของแคสเปอร์สกี้ระบุว่า ในช่วงครึ่งปีแรก (มกราคม – มิถุนายน 2024)เทคโนโลยีต่อต้านฟิชชิง (anti-phishing) ของแคสเปอร์สกี้ตรวจพบการโจมตีด้วยฟิชชิงการเงินจำนวน 336,294 ครั้งที่พยายามโจมตีองค์กรและธุรกิจต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้วิธีแอบอ้างเป็นแบรนด์อีคอมเมิร์ซ ธนาคารและการชำระเงิน มีเป้าหมายเพื่อขโมยข้อมูลประจำตัวและข้อมูลละเอียดอ่อนอื่นๆ การโจมตีด้วยฟิชชิงทางการเงินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากอาชญากรไซเบอร์พัฒนาและปรับเปลี่ยนกลวิธีให้ซับซ้อนอย่างต่อเนื่อง จำนวนการโจมตีเพิ่มขึ้น 41 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับหกเดือนแรกของปีที่แล้ว โดยได้รับการกระตุ้นจากการนำระบบดิจิทัลมาใช้มากขึ้น รวมถึงการใช้ปัญญาประดิษฐ์และระบบอัตโนมัติโดยผู้ก่อภัยคุกคาม เพื่อสร้างเนื้อหาที่น่าเชื่อถือและกำหนดเป้าหมายการโจมตีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นายเอเดรียน เฮีย…
Kaspersky ระบุ แรนซัมแวร์ยังโจมตีธุรกิจในอาเซียนต่อเนื่อง ไทยรั้งอันดับสาม
โซลูชันความปลอดภัยไซเบอร์สำหรับธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของแคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ตรวจพบการพยายามโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ 57,571 ครั้งช่วงเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2024 ด้วยเศรษฐกิจดิจิทัลที่เติบโต ตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ทรัพยากรที่เป็นศูนย์กลางทางการเงินและเทคโนโลยีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยไซเบอร์ในระดับต่างๆ ทำให้ภูมิภาคนี้เสี่ยงต่อการโดนโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ตลอดมา องค์กรทุกขนาดก็ตกเป็นเป้าหมายของอาชญากรทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง นายเอเดรียน เฮีย กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “โดยทั่วไปแล้วอาชญากรไซเบอร์รวมถึงกลุ่มแรนซัมแวร์ต่างก็จับจ้องไปที่โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญและภาคส่วนที่เปราะบาง อาทิ ภาคการเงิน บริการสาธารณะ การผลิต และสาธารณสุข โดยพื้นฐานแล้วผู้ก่อภัยคุกคามคือผู้ฉวยโอกาสที่จ้องโจมตีเพราะหวังเงินก้อนโต”…
Kasperskyเผย กลุ่ม Lazarus APT ใช้ช่องโหว่ zero-dayในเบราเซอร์ Chrome เพื่อขโมยเงินคริปโต
ที่งานประชุม Kaspersky Security Analyst Summit 2024 ทีมวิจัยและวิเคราะห์ระดับโลกของแคสเปอร์สกี้ (Global Research and Analysis Team – GReAT) ได้เปิดเผยแคมเปญอันตรายที่ซับซ้อนโดยกลุ่มลาซารัส Lazarus APT (Advanced Persistent Threat) ซึ่งมีเป้าหมายเป็นนักลงทุนเงินคริปโตทั่วโลก ผู้โจมตีใช้เว็บไซต์เกมคริปโตปลอมโดยใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ซีโร่เดย์ในเบราเซอร์ Google Chrome…