ทุกวันนี้เราทุกคนน่าจะคุ้นเคยกับคำกล่าวที่ว่า “ทุกบริษัทล้วนเป็นบริษัทซอฟต์แวร์” แต่ในความเป็นจริงแล้ว การนำเสนอซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพนับเป็นเรื่องยาก เพราะกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์มีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และมีบริการคลาวด์ใหม่ ๆ ผุดขึ้นอย่างไม่รู้จบ แต่จำนวนวิศวกรด้านซอฟต์แวร์กลับมีไม่เพียงพอ โดยไอดีซีประเมินว่าในปัจจุบันมีการขาดแคลนนักพัฒนาที่เป็นพนักงานประจำราว 1.4 ล้านคน (ปี 2564) และคาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มเป็น 4 ล้านคนในเวลาเพียงแค่ 4 ปี ขณะเดียวกัน วิวัฒนาการของการทำงานในรูปแบบไฮบริดและการเร่งปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นทั่วโลก…
outsystems
วางกลยุทธ์ด้าน Multiexperience ให้ประสบความสำเร็จ: ธุรกิจควรพิจารณา 3 เรื่องสำคัญ
ความสามารถในการนำเสนอประสบการณ์ดิจิทัลที่น่าดึงดูดใจนับเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการแข่งขันของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ที่นำเสนอให้แก่ลูกค้าโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อขยายฐานลูกค้า หรือประสบการณ์ของพนักงานซึ่งจะช่วยดึงดูดบุคลากรใหม่ ๆ และรักษาบุคลากรที่มีอยู่เดิมเอาไว้ ก่อนหน้านี้ การกำหนดกลยุทธ์ด้านประสบการณ์ดิจิทัลอาจเป็นเพียงแค่การเลือกระหว่างแพลตฟอร์มมือถือหรือเว็บไซต์ แต่ในปัจจุบัน ผู้ใช้ซอฟต์แวร์คาดหวังว่าจะได้รับประสบการณ์ที่ราบรื่นและไร้รอยต่อผ่านช่องทาง (Channel) อุปกรณ์ (Device) และจุดสัมผัส (Touchpoint) ที่สะดวกที่สุดสำหรับผู้ใช้งานในช่วงเวลานั้น ๆ ด้วยเหตุนี้ องค์กรจึงจำเป็นที่จะต้องคิดให้ไกลเกินกว่ากลยุทธ์ Multichannel หรือแม้กระทั่ง Omnichannel โดยหันมาใช้แนวทางการนำเสนอประสบการณ์ที่หลากหลาย หรือ Multiexperience…
เหตุใดต้องให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์ลูกค้าในธุรกิจ Healthcare
ปี 2563 นับเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติดิจิทัลที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน หนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากกระแสการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลนี้คือ บริการสาธารณสุข ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา องค์กรต่าง ๆ ต้องรีบเร่งมองหาโซลูชันที่จะรองรับการให้บริการทางการแพทย์ผ่านการเชื่อมต่อระยะไกล โดยอาศัยทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ในขณะเดียวกันก็ต้องพยายามรักษาหรือปรับปรุงคุณภาพการให้บริการและสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ผู้รับบริการ เมื่อการแพร่ระบาดทั่วโลกเริ่มต้นขึ้น การขยายการให้บริการได้อย่างรวดเร็วฉับพลันกลายเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับสถานพยาบาลและหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ทำให้จำเป็นต้องมุ่งเน้นนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น AI ระบบงานอัตโนมัติ ระบบข้อมูล และบอทต่าง ๆ ที่รองรับการสนทนามาใช้งาน นับเป็นการยกระดับการใช้งานระบบอัตโนมัติขั้นสูง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการอย่างฉับไวและปรับปรุงประสบการณ์ของผู้รับบริการ และไม่ว่าความคาดหวังของลูกค้าในภาคธุรกิจบริการสาธารณสุขจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร…
“SCG” มุ่งเติมทักษะทีมงาน ปั้นนักพัฒนา Low-Code รับการเติบโตเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงสู่ digital
บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (เอสซีจี) กลุ่มบริษัทชั้นนำในภูมิภาคอาเซียน ประกาศตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางการผลิตวัสดุก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย พร้อมกับเพิ่มทักษะการสร้างสรรค์ซอฟต์แวร์ด้วยแพลตฟอร์มการพัฒนาแอปพลิเคชัน Low-Code จากเอาท์ซิสเต็มส์ โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มองค์ความรู้แก่พนักงานในการสร้างสรรค์แอปพลิเคชันคลาวด์เนทีฟที่มีบทบาทสำคัญต่อธุรกิจจากการร่วมมือกับเอาท์ซิสเต็มส์ โดยล่าสุดบริษัทฯ ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านกระบวนการทางการเงินและบัญชีไปสู่ดิจิทัลด้วยเอาท์ซิสเต็มส์ ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ ประกอบกับความต้องการให้ทีมไอทีมุ่งเน้นการทำงานที่เน้นเป้าหมายทางธุรกิจมากขึ้น เอสซีจีจึงได้นำแพลตฟอร์ม Low-Code จากเอาท์ซิสเต็มส์มาใช้เพิ่มทักษะแก่ทีมงานไอทีและพัฒนาแอปพลิเคชันระบบบัญชีต่าง ๆ ให้มีความทันสมัยเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพด้วยทีมของเอสซีจีเอง ด้วยแนวทางการพัฒนาแบบ Low-Code เอสซีจีสามารถสร้างแอปพลิเคชันเพื่อรองรับการดำเนินงานของบริษัทในเครือได้มากกว่า 200 แห่งและยังวางแผนสร้างโมเดลธุรกิจใหม่…
“ไทยรุ่งพาร์ทเนอร์สกรุ๊ป” คว้ารางวัลสุดยอดผู้บริหารเทคโนโลยี (CIO) จากเวที CIO75 ASEAN 2021
เอาท์ซิสเต็มส์ (OutSystems) เผยนายฉัตรชัย สุทธภักติ ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท ไทยรุ่งพาร์ทเนอร์สกรุ๊ป จำกัด คว้ารางวัล CIO75 ASEAN Awards 2021 เป็นหนึ่งในสุดยอดผู้บริหารด้านเทคโนโลยีระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮ่องกง ด้วยผลงานอันโดดเด่นในการนำเทคโนโลยีโลว์โค้ด (Low-Code) จาก OutSystems มาพัฒนาบริการดิจิทัลใหม่ ๆ พร้อมเปลี่ยนแปลงองค์กรไปสู่ “Beyond Automotive Provider”…
6 ความท้าทายด้านเทคโนโลยีที่ขัดขวางการสร้างสรรค์นวัตกรรม
สถานการณ์ที่ไม่คาดคิดที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2563 ชี้ให้เห็นว่าบริษัทต่าง ๆ จำเป็นต้องเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวและสร้างสรรค์นวัตกรรม ภายในเวลาอันรวดเร็วและครอบคลุม เพื่อที่จะให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดและประสบความสำเร็จในโลกยุคนี้ และที่แน่ ๆ คือ เรื่องนี้ไม่ได้สร้างความประหลาดใจให้แก่คนในแวดวงธุรกิจแต่อย่างใด กล่าวคือ จากผลการศึกษาของ McKinsey เมื่อปี 2561 พบว่า มีบริษัทเพียง 8% เท่านั้นที่เชื่อว่าโมเดลธุรกิจของตนเองจะยังคงสามารถใช้การได้ดีในแง่เศรษฐศาสตร์ในระยะยาวจนถึงช่วงที่มีการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในรอบถัดไป แต่ข่าวที่ไม่ค่อยดีก็คือ ถึงแม้ว่าปี 2564 ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันครั้งใหญ่เกิดขึ้นต่อวงการธุรกิจ…
การเติบโตของ ‘Digital Life & Commerce’ ต้องการนวัตกรรมมากขึ้นในปีนี้
การระบาดใหญ่ส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้อย่างรวดเร็วไม่ว่าจะใช้เพื่อทำงานหรือเพื่อความบันเทิงหรือในเรื่องอื่น ๆ ล้วนเปลี่ยนมาอยู่บนออนไลน์ ซึ่งได้สร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ โดยเฉพาะผู้อยู่ในวงการเทคโนโลยี ข้อมูลจาก Gartner ระบุภายในปี 2567 ราว 65% ของการพัฒนาแอปพลิเคชันจะถูกพัฒนาขึ้นด้วยเทคโนโลยี Low-Code และเริ่มเห็นได้ชัดเจนว่าการพัฒนาบริการต่าง ๆ วันนี้นั้นกำลังปรับเปลี่ยนไปสู่รูปแบบของ Low-Code เราเห็นความท้าทายมากมายที่บริษัทต่าง ๆ ต้องเผชิญในปีที่ผ่านมา รวมถึงวิธีการปรับตัวของธุรกิจเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่เกิดขึ้นรวดเร็วอย่างที่ไม่ปรากฎมาก่อน…
สรุป 3 แง่มุมสำคัญสู่ความสำเร็จในการนำเสนอประสบการณ์ดิจิทัลแก่ลูกค้าปี64
มาตรการล็อคดาวน์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก่อให้เกิดผลกระทบต่อพฤติกรรมของลูกค้าอย่างมาก ข้อมูลจากแมคคินซี่ (McKinsey) ระบุว่าสัดส่วนการโต้ตอบกับลูกค้าแบบดิจิทัลเกิดขึ้นเร็วกว่าสถานการณ์ปกติถึงสามปีเมื่อเทียบกับกรณีที่ไม่มีการเกิดระบาดครั้งใหญ่ ในความเป็นจริงแล้ว McKinsey พบว่าผู้บริหารระดับสูงได้มีการพูดคุยด้วยและแสดงความคิดเห็นว่าอย่างน้อย 80% ของการโต้ตอบกับลูกค้าอยู่ในแบบดิจิทัล ดังนั้นการนำเสนอประสบการณ์ดิจิทัลที่ดีเยี่ยมให้แก่ลูกค้าจึงกลายเป็นตัวชี้ชะตาสำหรับธุรกิจต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม การสร้างประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมให้แก่ลูกค้า (Customer Experience – CX) กับการสร้างประสบการณ์ให้แก่ผู้ใช้งาน (User Experience – UX) ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน…