จากข่าวล่าสุดที่มีการยืนยันตรวจพบแรนซัมแวร์โจมตีระบบไอทีของโรงพยาบาลอุดรธานีจำนวนหลายล้านบาท ทั้งนี้ไม่มีการระบุรายละเอียดเกี่ยวกับขนาดของฐานข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบในข่าว โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานีเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลแห่งนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นองค์กรที่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศที่สำคัญแห่งหนึ่งที่ให้บริการแก่ประชาชน อย่างไรก็ตามการจู่โจมจากแรนซัมแวร์ครั้งนี้ ไม่ใช่ครั้งแรกในประเทศไทยที่โรงพยาบาลตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์จากอาชญากรไซเบอร์ โรงพยาบาลเป็นเป้าหมายที่อาชญากรรมไซเบอร์ที่ใช้แรนซัมแวร์ให้ความสนใจ เนื่องจากมีข้อมูลละเอียดอ่อนอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะข้อมูลของคนไข้และผู้ป่วยที่ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความสำคัญ และดิสรัปชันที่อาจเกิดขึ้นการโจมตีโรงพยาบาลจึงทำให้อาชญากรไซเบอร์ได้รับผลประโยชน์ทางการเงินอย่างมาก การจ่ายเงินเพื่อแก้ไขปัญหาอาจจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากความเสียหายเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นกับภายนอกองค์กรที่อาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางสังคมและเศรษฐกิจในวงกว้าง รายงานมัลแวร์เรียกค่าไถ่และการขู่กรรโชกประจำปี 2566 จาก Unit 42 ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ระบุว่า แรนซัมแวร์ยังคงเป็นปัญหาใหญ่สำหรับองค์กรในปีที่ผ่านมา โดยสังเกตได้จากกรณีที่มีการยินยอมจ่ายเงินสูงถึงกว่า 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากค่าเฉลี่ยของการเรียกร้องเงินค่าไถ่ที่ประมาณ 650,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อครั้งในขณะที่ค่าเฉลี่ยของความยินยอมในการจ่ายค่าไถ่อยู่ที่ประมาณ 350,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อครั้ง ซึ่งบ่งชี้ว่าการเจรจาที่มีประสิทธิภาพสามารถลดวงเงินในการชำระเงินจริงได้ ทั้งนี้ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับอยู่ในอันดับที่ 6 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และอันดับที่ 1 ในภูมิภาคอาเซียนที่ถูกโจมตีจากแรนซัมแวร์ นายปิยะ จิตต์นิมิตร ผู้จัดการประจำประเทศไทย พาโล…
paloalto
เปิดตัว “Bring Your Own AI” ให้ลูกค้าผสาน AI ส่วนตัวไว้ใน Cortex XSIAM จาก Palo Alto Networks
ที่ผ่านมาการโจมตีทางด้านไซเบอร์ใช้ระยะเวลาเฉลี่ยประมาณ 44 วัน ตั้งแต่เริ่มเจาะระบบจนขโมยข้อมูลออกจากองค์กรได้สำเร็จ แต่ปัจจุบันระยะเวลาเฉลี่ยดังกล่าวลดลงเหลือเพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น ในขณะที่องค์กรต่างๆ ยังใช้ระยะเวลาเฉลี่ย ในการควบคุมอุบัติการณ์ทางไซเบอร์ถึง 5.5 วัน แสดงให้เห็นว่าโซลูชันการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์รูปแบบเดิมมีประสิทธิภาพไม่เพียงพออีกต่อไป นับจากการเปิดตัว Cortex XSIAM® แพลตฟอร์มรักษาความปลอดภัยที่ช่วยให้ศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังความมั่นคงปลอดภัย (SOC – Security Operations Center) ของลูกค้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น องค์กรที่ใช้งาน Cortex XSIAM® สามารถลดระยะเวลาเฉลี่ยในการแก้ไขปัญหาจากหลักวันเหลือเพียงหลักนาที ซึ่งเร็วขึ้นกว่าเดิมถึง 270 เท่า ดังนั้นเพื่อยกระดับแพลตฟอร์มด้านการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ที่ได้รับการชื่นชมอย่างสูงให้มีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น พาโล…
Palo ชี้ Digital Transformation สะดุด พบช่องโหว่ใหม่ร้ายแรงในระบบคลาวด์ไดนามิก มากกว่า 45% /เดือน
การเร่งเดินหน้าทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันทำให้โครงสร้างเครือข่ายระดับองค์กรมีจำนวนมากขึ้นทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว จนกลายสภาพเป็นระบบที่มีความซับซ้อนสูงในด้านการรักษาความปลอดภัย การมีระบบที่เปิดเผยต่อสาธารณะทำให้องค์กรตกเป็นเหยื่อของคนร้ายที่เฝ้ารอโอกาสโดยไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการโจมตีแบบมุ่งเป้าเจาะจง ที่ผ่านมา พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ ได้วิเคราะห์ข้อมูลระดับหลายเพตะไบต์ขององค์กรกว่า 250 แห่งทั่วโลก ในช่วงระหว่างปี 2565 ถึง 2566 เพื่อศึกษาบรรดาช่องโหว่ที่เข้าถึงได้จากอินเทอร์เน็ต โดยในรายงานภัยคุกคามระบบบริหารจัดการความเสี่ยงการโดนโจมตีจากภายนอกองค์กร ประจำปี 2023 ของ Unit 42 (2023 Unit 42…
NodeStealer 2.0 – เวอร์ชัน Python: ลอบขโมยบัญชีธุรกิจบนเฟซบุ๊ก
นักวิจัยจาก Unit 42 ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ เปิดเผยการโจมตีด้วยฟิชชิงครั้งใหม่ภายใต้ชื่อ NodeStealer 2.0 ที่มุ่งเป้าไปยังบัญชีธุรกิจบนเฟซบุ๊ก โดยล่อลวงเหยื่อด้วยการแจกเครื่องมือฟรีสำหรับธุรกิจ เช่น เทมเพลตสเปรดชีต จากนั้นจึงเข้ายึดบัญชีเป้าหมายในที่สุด กลยุทธ์ดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มที่น่ากังวลเนื่องจากคนร้ายได้เริ่มเบนเป้าไปที่บัญชีธุรกิจบนเฟซบุ๊ก มากขึ้นนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปีที่แล้วเป็นต้นมา เมื่อเดือนพฤษภาคม 2566 ทาง Meta ได้ออกรายงานฉบับหนึ่งเกี่ยวกับ NodeStealer ซึ่งเป็นมัลแวร์ที่มุ่งขโมยข้อมูลที่สร้างขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2565พร้อมแสดงรายละเอียดพฤติกรรมอันตรายที่ควรจับตาของ…
วันแม่ปีนี้ Palo Alto Networks แนะวิธีดูแลคุณแม่ให้ปลอดภัยจากภัยไซเบอร์
เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล ความกังวัลเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ ในประเทศไทยก็ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้สูงอายุ นับได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นเหยื่อภัยไซเบอร์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การขาดความตระหนักรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตให้ ปลอดภัยรวมถึงการรู้ไม่เท่าทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเป็นสาเหตุให้ผู้สูงอายุตกเป็นเป้าหมายหลักของเหล่าสแกมเมอร์ จากข้อมูลของโครงการสูงวัยออนไลน์ด้วยรอยยิ้ม เปิดเผยข้อมูลว่า ปัจจุบันมีผู้สูงอายุถึง 44% ตกเป็นเหยื่อภัยไซเบอร์ ทั้งนี้ พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ผู้นำระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ได้เน้นย้ำถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการติดต่อสื่อสารทางออนไลน์ ตั้งแต่การทำธุรกรรมทางการเงิน ไปจนถึงอีคอมเมิร์ซและโซเชียลมีเดีย ยกตัวอย่างเช่น Vhishing (Voice Phishing)…
ระวังมัลแวร์บน Android ปลอมตัวเป็น ChatGPT หลอกเหยื่อผู้ใช้สมาร์ทโฟนในไทย
Unit 42 ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ เผยรายงานมัลแวร์บน Android ปลอมตัวเป็นแอป ChatGPT หลอกเหยื่อผู้ใช้สมาร์ทโฟนในไทย พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ผู้นำระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ล่าสุดพบว่ามัลแวร์บน Android ที่แอบอ้างเป็นแชตบอต AI ชื่อดังอย่าง ChatGPT มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยถูกปล่อยออกมาพร้อมกับการเปิดตัว GPT-3.5 และ…