สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด–19 ผ่านไปหนึ่งปีแล้ว สมาชิก Tinder (ทินเดอร์) ทั่วโลกเตรียมตัวจัดกระเป๋าในฝันพร้อมหนีความจำเจไปหาความจริงอีกโลกที่ตื่นเต้นได้แล้วเพราะทินเดอร์จะเปิดให้ใช้ฟีเจอร์พาสปอร์ต (Passport) ฟรีตลอดเดือนเมษายน 2564 ซึ่งสำหรับบางคนการใช้ฟีเจอร์นี้ทำให้พวกเขาสามารถพบเจอ เพื่อนคุยแก้เหงาสุดแซ่บ จากนิวยอร์ก ลอนดอน หรือ โตเกียวในขณะที่บางคนก็อาจจะใช้ฟีเจอร์นี้ เช็คกระแสเรตติ้งของตัวเองในหมู่คนต่างชาติ ระหว่างที่รอพาสปอร์ตวัคซีนก่อนจะออกเดินทางได้จริงๆ แต่ไม่ว่าคุณจะใช้ Passport เพื่อจุดประสงค์อะไรก็ตามฟีเจอร์นี้สามารถช่วยคุณเดินทางเสมือนจริงไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลกได้อย่างไม่สิ้นสุดและสามารถพูดคุยกับผู้คนใหม่ๆ ได้โดยไม่ต้องออกจากบ้าน เมษายนปีที่แล้วทินเดอร์ได้เปิดให้ใช้ฟีเจอร์นี้ฟรี ตลอดทั้งเดือน ทำให้สมาชิกทินเดอร์ทั่วโลกราว 25% ลองใช้ฟีเจอร์นี้และได้บันทึกการใช้งาน #tinderpassport ลงบน TikTok ซึ่งมีคนเข้ามาชมแล้วถึง 72 ล้านครั้ง (ซึ่งยอดวิวมีการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ) สมาชิกที่ใช้ฟีเจอร์นี้สามารถหาคู่แมตช์ทะลุ 1.4 พันล้านคู่ ซึ่งได้ทำลายสถิติจำนวนการแมตช์คู่ต่อวันสูงถึง 55 ล้านคู่ของปีก่อนหน้า มิสเตอร์อูดิ มิโล รองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์ ทินเดอร์ เปิดเผยว่า “เป็นครั้งแรกที่เราเห็นผู้คนเข้ามาใช้งานฟีเจอร์ Passport กันอย่างล้นหลามเพราะผู้คนต่างโหยหาการเชื่อมต่อระหว่างกัน หลังจากผ่านไปหนึ่งปีเราคาดหวังว่าจะมีผู้คนจำนวนมากเข้ามาใช้งานเช่นเดิมแต่อาจจะด้วยเหตุผลที่เปลี่ยนไปซึ่งนั่นก็คือความเป็นไปได้ พวกเราทุกคนต่างก็อยากจะให้สถานการณ์เช่นนี้จบลงโดยเร็ว แต่จนถึงขณะนี้คนทั่วโลกส่วนใหญ่ยังจำเป็นต้องอยู่บ้าน ฟีเจอร์ Passport ของทินเดอร์ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถจินตนาการได้ว่าชีวิตจะเป็นอย่างไรหากสามารถออกเดินทางท่องเที่ยว…
passport
“วัคซีนพาสปอร์ต” ปูทางสู่การฟื้นตัวหลังการแพร่ระบาด : Gartner
ใบรับรองวัคซีนดิจิทัลหรือที่รู้จักกันในชื่อวัคซีนพาสปอร์ตถือเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาใหม่ที่มีความเป็นไปได้ในการสนับสนุนธุรกิจให้กลับมาดำเนินต่อและให้สังคมกลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนเดิมอีกครั้งทั่วประเทศและทั่วโลก นอกจากช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อระลอกใหม่แล้ว ยังเป็นการเพิ่มโอกาสและความสะดวกในการส่งบุคคลที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้วกลับมายังสถานที่กักตัว เช่น สถานที่ทำงาน และประเทศที่เปิดให้เดินทางระหว่างประเทศ ช่วงกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมากลุ่มบริษัทเทคโนโลยีและสุขภาพขนาดใหญ่หลายแห่งได้ร่วมมือกันเปิดตัว “โครงการหนังสือรับรองประวัติการรับวัคซีน (The Vaccine Credential Initiative)” เพื่อสร้างระบบการจัดเก็บข้อมูลและเรียกดูบันทึกการรับวัคซีนแบบดิจิทัล ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันองค์การอนามัยโลก (WHO) ก็ได้เปิดตัวคณะทำงานด้านสุขภาพดิจิทัลเพื่อพัฒนากรอบการทำงานและมาตรฐานใบรับรองวัคซีนดิจิทัลอัจฉริยะสำหรับโรคไข้เหลืองและโควิด-19 เพื่อปูทางไปสู่การเพิ่มการรับรองการรับวัคซีนประเภทอื่น ๆ ในภายหลัง ความพยายามอย่างหนักจากทุกภาคส่วนเหล่านี้จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาวัคซีนพาสปอร์ตให้เกิดขึ้นจริง แม้จะยังมีคำถามสำคัญหลายประการ ทั้งในเรื่องของเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ แหล่งที่มาและการตรวจสอบข้อมูล…