กรุงเทพฯ, 28 กุมภาพันธ์ 2563 – โรลส์-รอยซ์เริ่มผลิตใบพัดขนาดใหญ่ที่สุดในโลกสำหรับเครื่องยนต์สาธิต UltraFan® ซึ่งจะเป็นมาตรฐานใหม่ในด้านประสิทธิภาพและความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมการบิน ใบพัดรุ่นนี้เป็นชุดใบพัดที่ทำจากวัสดุคอมโพสิต มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 140 นิ้ว ซึ่งเกือบจะเท่ากับขนาดของอากาศยานลำตัวแคบในปัจจุบัน และถูกผลิตขึ้นที่ศูนย์เทคโนโลยีของบริษัทในเมืองบริสตอล สหราชอาณาจักร นับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญอย่างเป็นทางการในการผลิตชิ้นส่วนสำหรับเครื่องยนต์สาธิต UltraFan จะกลายเป็นมาตรฐานใหม่ด้านประสิทธิภาพและความยั่งยืนของเครื่องยนต์ในอุตสาหกรรมการบิน โดยสามารถลดการใช้เชื้อเพลิงลงถึงร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์เทรนท์รุ่นแรก ๆ และมีอัตราการปล่อยมลพิษลดลงในอัตราที่เท่ากัน ซึ่งส่วนหนึ่งของการปรับปรุงประสิทธิภาพนั้น…
Rollsroyce
โรลส์-รอยซ์ เปิดตัวแพลตฟอร์มดิจิทัลใหม่ YOCOVA เพื่อผนึกเชื่อมอุตสาหกรรมการบินให้เป็นหนึ่งเดียว ให้เกิดการพูดคุยแบบเปิดกว้างและไปจนถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัล
กรุงเทพฯ, 21 กุมภาพันธ์ 2563 – ศูนย์ข้อมูลนวัตกรรม R2 Data Labs ของโรลส์-รอยซ์ได้เปิดตัว Yocova แพลตฟอร์มใหม่สำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลและความร่วมมือของภาคการบิน เพื่อใช้เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับการแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกได้อย่างปลอดภัย ในขณะเดียวกัน ผู้ใช้ยังสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนทรัพยากรเชิงข้อมูลและแอปพลิเคชั่นซอฟต์แวร์ให้กันได้ Yocova ช่วยให้คนทำงานมืออาชีพในแวดวงการบินสามารถเชื่อมถึงและทำงานร่วมกันได้ ควบคุมและซื้อขายแลกเปลี่ยนทรัพย์สินเชิงข้อมูล รวมถึงแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ได้ตามต้องการ แพลตฟอร์มนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการกับสภาพแวดล้อมที่มีความซับซ้อนด้านข้อมูลสูง ซึ่งเดิมส่วนนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ IntelligentEngine…
โรลส์-รอยซ์เตรียมเปิดตัวเครื่องบินพลังงานไฟฟ้า พร้อมบันทึกสถิติบินเร็วสุดลำแรกของโลก
กรุงเทพฯ, 10 มกราคม 2563 – ความตั้งใจของโรลส์-รอยซ์ในการพัฒนาเครื่องบินพลังงานไฟฟ้าที่บินได้รวดเร็วที่สุดในโลกได้รุดหน้าไปอีกขั้น ด้วยแผนการเตรียมเปิดตัวเครื่องบินลำนี้ในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิ ปี 2563 ณ สนามบินกลอสเตอร์เชอร์ ในประเทศอังกฤษ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการผสานรวมระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าล้ำสมัยเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้เป็นศูนย์ ในขณะที่ยังคงสามารถทำความเร็วได้สูงสุดเพื่อบันทึกสถิติการบินด้วยความเร็วมากกว่า 300 ไมล์ต่อชั่วโมง (หรือราว 480 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) การพัฒนาเครื่องบินดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่เรียกว่า แอคเซล (ACCEL ย่อมาจาก Accelerating…
4 ทักษะ “ต้องมี” สำหรับช่างเทคนิควิศวกรรมในอุตสาหกรรมการบิน
ทุกวันนี้ประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังตื่นตัวอย่างมากในด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เนื่องด้วยหลายประเทศในภูมิภาคนี้ต้องเผชิญกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมและการผลิต อุตสาหกรรมการบินถูกยกให้เป็นอุตสาหกรรมหลักเพื่อการพัฒนาประเทศในภูมิภาคนี้ อย่างสิงคโปร์ที่กำหนดแผนงานเพื่อการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมการบิน ขณะที่ประเทศไทยกำหนดให้เป็นหนึ่งในห้าอุตสาหกรรมอนาคตหรือ New S-Curve จากรายงานของแมคคินซี แอนด์ คอมพานี เรื่อง “อุตสาหกรรม 4.0: การรักษาสถานะอุตสาหกรรมการผลิตในภูมิภาคอาเซียนในอนาคต” ระบุว่าการพัฒนาของอุตสาหกรรมยุค 4.0 สามารถสร้างรายได้ให้กับธุรกิจต่าง ๆ ได้ถึง 627 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ …